ในช่วงเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือถือหุ้น นั่นจะได้รับผลประโยชน์ ซึ่งก็เป็นเรื่องดีสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน หรือ ผู้ถือหุ้น แต่สิ่งหนึ่งที่คุณจะรู้และทำความเข้าใจ นั่นก็คือ เครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับความหมายของเครดิตภาษีเงินปันผล บางคนอาจจะไม่รู้จัก และไม่เข้าใจ เราขออธิบายอย่างง่าย ๆ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้เลยค่ะ
เครดิตภาษีเงินปันผล
เครดิตภาษีเงินปันผลเป็นอีกสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหุ้น สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ ตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ก็เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้ 1 และให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี กล่าวคือเมื่อทางบริษัทจดทะเบียน (บจ.) มีกำไรสุทธิ ทางบริษัทต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม (1) ส่วนที่เหลือเป็นกำไรสุทธิหลังหักภาษี ถือว่าเป็นการจ่ายภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมิณก้อนนี้แล้ว ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีการจัดสรรเงินปันผลจ่ายตามมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือผู้ถือหุ้นในครั้งแรก นั่นก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคล และในครั้งที่ 2 นั่นก็คือ ภาษี หัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลนั่นเอง
ตามประมวลกฎหมาย
ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้ผู้ถือหุ้น (ผู้มีเงินได้) ที่ได้รับเงินปันผลจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยมีการกำหนดมูลค่าเครดิตภาษีเงินปันผลไว้ดังต่อไปนี้
ยกตัวอย่างเช่น
สมมติว่า นาย A ได้รับเงินปันผลจากบริษัท V จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,000 บาท โดยทางบริษัท V จำกัด (มหาชน) จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ ดังนั้น เครดิตภาษีเงินปันผล จึงเท่ากับ 1,493.51 บาท
วิธีทำ ให้ X เป็นเครดิตภาษีเงินปันผล มูลค่าปันผล 5,000 บาท และ อัตราภาษีเงินได้นิตบุคคล อัตราร้อยละ 23
ดังนั้น เครดิตภาษีเงินปันผลจึงเป็น 1,493.51 บาท เป็นจำนวนเงินที่นาย A สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้นั่นเอง
ทั้งนี้ ในการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล ผู้ถือหุ้น จะต้องคำนวณมูลค่าปันผลจากทั้งเงินปันผล (Cash Dividend) และมูลค่าของหุ้นปันผล (Equity Stock Dividend) สำหรับในกรณีที่ทางบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นด้วย นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะต้องนำปันผลที่ได้รับจากทุกหลักทรัพย์ในทุกครั้งที่ผู้ถือหุ้นได้รับมา รวมเป็นมูลค่าเงินปันผลเพื่อคำนวณเครดิตภาษีนั้น ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางหลักทรัพย์ หรือการจ่ายปันผลบางครั้งได้ ซึ่งมูลค่าเครดิตภาษีเงินปันผลมิใช่เงินที่ผู้ถือหุ้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้สิทธิในการขอเครดิตภาษีเงินปันผล นั่นหมายถึง ผู้ถือหุ้นที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายเงินปันผลให้ ผู้ที่มีสิทธิในการขอเครดิตภาษีเงินปันผล ตามเกณฑ์ในการเครดิตภาษีเงินปันผลของกรมสรรพากร ประกอบด้วย 2 หลักด้วยกัน
ในส่วนแรก ผู้รับปันผล หรือผู้ถือหุ้นต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ก็คือมีชื่อในทะเบียนราษฎร์ หรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทย (ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมดไม่น้อยกว่า 180 วันในปีภาษีนั้น
ในส่วนที่สอง ผู้จ่ายเงินปันผลต้องเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้น ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลทุกคน เนื่องจาก ในการขอเครดิตภาษีเงินปันผลนั้น มีขั้นตอนในการยื่นแบบ และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ขั้นตอนการยื่นแบบฯ) ผู้ถือหุ้นต้องนำเงินปันผล และเครดิตภาษีเงินปันผลมาคำนวณรวมเป็นรายได้พึงประเมิณ
ในส่วนที่ (1) ตามตาราง ด้านล่าง ผู้ถือหุ้นยื่นภาษีบุคคลธรรมดา โดยใช้สิทธิในการเครดิต ภาษีเงินปันผลตาม ภงด.90 ส่งผลให้รายได้พึงประเมิน (รายได้รวมหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่ต้องจ่ายภาษีสูงขึ้น ในขณะเดียวกันส่วนของภาษีที่นำส่งแล้ว ผู้ถือหุ้นต้องนำเครดิตภาษีเงินปันผล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผลมารวมคำนวณ เป็นภาษีที่นำส่งแล้ว
ในส่วนที่ (2) ของตาราง ผู้ถือหุ้นยื่นภาษีบุคคลธรรมดา โดยใช้สิทธิในการเครดิตภาษีเงินปันผลตาม ภงด.90 ดังนั้นผู้ถือหุ้นจะต้องวางแผนภาษีให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วยการเลือกวิธียื่นแบบฯ ที่ส่งผลให้ยอดภาษีสุทธิที่ผู้ถือหุ้นต้องจ่ายต่ำที่สุด
ตารางการประเมินภาษีบุคคลธรรมดา
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 บริษัทจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ทั้งหมด เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
การขอเครดิตภาษีเงินปันผลนั้น ในบางบริษัทคุณอาจไม่สามารถขอเครดิตเงินปันผลได้ทั้งหมด เงินปันผลที่สามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ ก็คือ เงินปันผลที่มาจากกำไรสุทธิที่ทางกิจการสามารถทำได้และได้มีการจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราส่วนที่ได้มีการตกลงกันไว้แต่แรก สำหรับเงินปันผลที่ไม่สามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ ก็คือ เงินปันผลที่ได้จากกำไรสุทธิที่ได้รับการยกเว้นในการเสียภาษี หรือ ไม่ได้นำมาร่วมเป็นรายได้ เพื่อนำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อคุณได้รับเงินปันผลมาคุณควรที่จะคำนึงถึง เงินปันผลว่าเป็นเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ หากว่าใช่คุณก็ไม่สามารถนำมาขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้นั่นเอง
นอกจากนี้ บริษัทจะมีการจดทะเบียนจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลในหลายอัตราตามประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม และทางบริษัทที่จดทะเบียนจ่ายเงินปันผลจากกิจการที่มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะมีความแตกต่างกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ถือหุ้น จะต้องคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 2 วิธี เพื่อวางแผนในการประหยัดภาษีได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยการทดลองคำนวณภาษีที่คุณต้องจ่ายทั้ง 2 วิธี เพื่อให้คุณทราบว่าวิธีการใดที่ผู้ถือหุ้น จะได้รับผลประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นยังสามารถทำการดาวน์โหลด โปรแกรมช่วยในการคำนวณภาษีแบบ ภงด.90 และ ภงด.91 ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th)
ขั้นตอนในการเสียภาษีเงินปันผล
- รวบรวมเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งคุณจะได้รับจาก TSD ของทุกหลักทรัพย์ของทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินปันผล ในปีภาษีนั้น ถ้าเอกสารไม่ครบ มีทางเลือกอีกหนึ่งทางนั่นก็คือ คุณต้องติดต่อไปยัง TSD ผ่านทาง TSD Call Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-229-2888 หรือ ติดต่อกับทาง TSD Counter Service หรือ Download หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตนเอง ผ่านทาง Investor Portal โดยคุณจะต้องสมัครก่อน รายละเอียดเพิ่มเติม คุณสามารถติดต่อได้ที่ TSD Call Center ได้ทุกวันทำการ
- คำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล คุณจะต้องคำนวณรวมเงินปันผลที่จ่ายอัตราเดียวกันก่อน และคำนวณเครดิตภาษีในแต่ละอัตรา และท้ายที่สุด คุณต้องรวมเครดิตภาษีเงินปันผลทุกอัตรา จึงได้เครดิตภาษีเงินปันผลในปีภาษีนั้น
- ทดลองกรอกแบบประเมินทั้งวิธีใช้สิทธิ และไม่ใช้สิทธิขอเครดิตภาษีเงินปันผล วิธีการใดประหยัดภาษีสูงสุด คุณก็ควรเลือกเพื่อยื่นขอเสียภาษีด้วยวิธีนั้น