ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อน้อยลงหรือสินค้ามีแนวโน้มแพงขึ้น แต่ปัญหาอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคบางกลุ่มไม่รุนแรงมากนัก ผู้ผลิตรายใหญ่และผู้ประกอบการ SMEs ยังคงให้ความสำคัญกับขยายช่องทางการตลาดเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง การขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณาจากทิศทางการค้าผ่านทางออนไลน์เติบโตรวดเร็วตลอดหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้บัตรเดบิตซื้อของออนไลน์มากขึ้น สร้างความมั่นใจให้บรรดานักธุรกิจทั้งรายเล็กและรายใหญ่ผลักดันสินค้าเข้าสู่ช่องทาง E-Commerce มากขึ้น
อย่างไรก็ดี ในปีหน้า ยังคงมีการค้าออนไลน์ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ควรจะรู้เพื่อนำมาเตรียมรับมือและปรับ ธุรกิจ E-Commerce ปี 2559 ให้มีความพร้อมมากขึ้น ดังต่อไปนี้
-
ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล
สิ่งหนึ่งที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการคือความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ระบบรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตอำนวยความสะดวกสบายในการชำระเงินล่วงหน้า หลังจากเลือกสินค้าและใส่ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตของตนผ่านเว็บไซต์แล้ว ผู้ซื้อมีความเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้อย่างอื่น โดยที่เจ้าของบัตรไม่รู้และอาจได้รับความเดือดร้อนภายหลัง การส่งข้อมูลจึงต้องพัฒนาวิธีการเข้ารหัสซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าเจ้าของบัตรได้รับความปลอดภัยสูงสุด จำเป็นต้องหามาตรการควบคุมความเสี่ยง เช่น ใช้รหัสลับประจำตัวตรวจสอบการทำธุรกรรม อาจทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกว่ายุ่งยากในช่วงเวลาระหว่างที่รอผลการชำระเงินให้เสร็จสิ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่โอกาส ขาดความรู้ทางเทคโนโลยี ขาดเครือข่ายการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ และพื้นที่ชนบทห่างไกลซึ่งไม่สามารถเข้าถึงและใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
-
ระบบการชำระเงินผิดพลาด
การซื้อสินค้าออนไลน์ยังมีความเสี่ยงในระบบการชำระเงิน กรณีชำระผิดพลาดหรือล่าช้า ไม่ได้รับชำระหรือได้รับชำระไม่ครบก็เกิดส่วนที่ขาด หรือเกิดจากการทุจริตที่ใช้บัตรเครดิตปลอมหรือได้มาโดยมิชอบ เพราะยังขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนปัญหาที่เกิดจาก อุปกรณ์ในระบบขัดข้อง เช่น คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ สารสื่อสาร ระบบไฟฟ้า ทำให้ไม่สามารถโอนและรับโอนเงิน เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ทั้งจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง อัคคีภัย ภัยธรรมชาติ การเจาะข้อมูลของแฮกเกอร์ ทำให้ข้อมูลสูญหายระหว่างดำเนินการทำธุรกรรม เนื่องจากระบบ Backup และ Recovery ไม่สามารถรองรับข้อมูลจำนวนมากได้ทั้งหมด
-
การทำทุจริตแก้ไขข้อมูล
การทุจริตที่เกิดกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดได้หลายรูปแบบ ทั้งกรณีการชำระเงินผ่านเครื่อง ATM การซื้อของและโอนเงินทางคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการทุจริตสร้างรายการปลอม การเปลี่ยนแปลงข้อมูล การลักลอบนำข้อมูลไปใช้ โดยเกิดจากเจตนาของพนักงานในองค์หรือบุคคลภายนอกที่สามารถล่วงรู้ข้อมูลและปลอมแปลงแก้ไขกระทำให้เกิดความเสียหาย ตลอดจนการทำลายข้อมูลจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ปัญหาเหล่านี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและสร้างความกังวลในหมู่ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์
-
การสร้างเว็บไซต์ปลอม
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเปิดเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์มากขึ้น ผู้ซื้อทั่วโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและค้นหาร้านผู้ขายได้จากชื่อเว็บไซต์อย่างไรก็ดี มีกลโกงในการหลอกขายสินค้าออนไลน์ ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลของผู้บริโภคผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ใช้เองไม่รู้ตัว เทคโนโลยีนี้เกิดจากกลไกของระบบการตลาดทำให้ดักเก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการสืบหาข้อมูล การซื้อและความสนใจในสินค้า หรือแม้แต่กด Like ซึ่งเป็นโอกาสให้มิจฉาชีพสืบค้นข้อมูลและเปิดร้านขายสินค้าปลอม หลอกให้โอนเงินค่าสินค้า ส่งสินค้าปลอมมาให้ สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อหรือไม่ส่งสินค้าใด ๆ เลย ทำให้ผู้ซื้อเสียประโยชน์และชื่อเสียงของผู้ประกอบการตัวจริงเกิดความเสียหาย
-
ความเสียหายของผู้ขาย
ความเสี่ยงของผู้ขายเกิดจากไม่สามารถจะตรวจสอบประวัติของผู้ซื้อว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ที่ทำรายการขณะนั้นเป็นเจ้าของบัตรตัวจริง เพราะระบบการชำระเงินออนไลน์จะระบุให้ผูซื้อกรอกหมายเลข 16 หลักหน้าบัตร และ 3 หลักสุดท้ายที่อยู่หลังบัตร จากนั้นกรอกชื่อธนาคารผู้ออกบัตร ชื่อเจ้าของบัตร และวันที่บัตรหมดอายุ ทางผู้ซื้อจึงตรวจสอบได้เพียงว่าชื่อและหมายเลขเจ้าของบัตรตรงกัน วงเงินเพียงพอสำหรับการชำระค่าสินค้าได้เท่านั้น การป้องกันปัญหาอาจทำได้ด้วยการให้ให้เจ้าของบัตรทำเรื่องขอ Password เพื่อกรอกข้อมูลทำรายการสั่งซื้อของออนไลน์ ซึ่งเป็นการระบุตัวตนของผู้ใช้บัตรได้อย่างชัดเจน แต่วิธีนี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
ในกรณีที่สินค้าหรือบริการมีปัญหา ธนาคารผู้ให้บริการบัตรเครดิตให้สิทธิผู้ถือบัตรปฏิเสธการจ่ายเงินได้ในกรณีที่ผู้ถือบัตรไม่ได้ทำรายการหรือไม่ได้รับสินค้าเฉพาะรายการได้ ซึ่งเป็นระบบป้องกันความเสี่ยงอย่างหนึ่งของผู้ซื้อออนไลน์ ฝ่ายผู้ขายไม่ได้รับการคุ้มครองเช่นนั้น หากมีผู้นำหมายเลขบัตรของผู้อื่นมาแอบทำรายการ ย่อมมีความเสี่ยงส่งสินค้าไปให้กับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของบัตร และถูกมิจฉาชีพยักยอกสินค้านั้นไป ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารอีก 3-5 % หรืออาจถูกปรับหลังถูกปฏิเสธการชำระเงินจากลูกค้า (Charge Back) อีกด้วย
-
อุปสรรคด้านโลจิสติกส์
สินค้าที่มีการซื้อขายออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย หนังสือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องสำอาง แต่ส่วนใหญ่เป็นการซื้อสินค้าในประเทศ เพราะการซื้อข้ามพรมแดนนั้นมีอุปสรรคด้านโลจิสติกส์เป็นปัญหาใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการนำเข้าที่ยุ่งยาก อัตราภาษีสูงในแต่ละประเทศ เครือข่ายการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งความกังวลของผู้บริโภคที่ไม่มั่นใจในตัวสินค้าจะเหมือนในโฆษณาและอาจมีปัญหาในการส่งคืน ฝ่ายผู้ประกอบการต้องแบกรับทั้งเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ซึ่งอาจไม่คุ้มทุนและมีสิทธิขาดทุนด้วย
ยุคนี้ระบบอินเทอร์เน็ตมีความทันสมัยยิ่งขึ้น การซื้อสินค้าออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากและยังคงเติบโตก้าวหน้า เพราะการขยายช่องทางการตลาดใหม่ในรูปแบบ E-Commerce สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคทุกกลุ่มตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ช่องทางการค้าออนไลน์มีศักยภาพที่ดีในการประชาสัมพันธ์สินค้าโดยตรงแก่ผู้บริโภค แต่ยังคงมองเห็นปัญหาและความเสี่ยงในด้าน ความน่าเชื่อถือของสินค้าและแบรนด์ การขนส่งสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือขนส่งข้ามพรมแดน ความปลอดภัยของธุรกรรมทางการเงิน นอกจากนี้ยังความท้าทายในด้านของการสื่อสารภาษาต่างประเทศที่ต้องพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเพื่อเป็นโอกาสสร้างรายได้ โดยเฉพาะหลังยุค AEC ที่ไทยมีโอกาสขยายตลาดสู่ประเทศอาเซียนมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม >> งาน E-commerce สร้างรายได้ ออนไลน์ <<