สรุปปัจจัยฟื้น เศรษฐกิจไทย 67 ช่วยคนไทยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ประเทศไทยของเราในปัจจุบันหลายคนอาจรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังไม่ได้กลับมาดีขึ้นสักเท่าไหร่จากช่วงที่มีโรคระบาด หลายคนยังประสบปัญหาหนี้สิน ไม่มีเงินก้อน แต่ถ้าเราพิจารณากันถึงตัวเลขแบบเจาะลึก นักวิชาการหลายคนมองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวแล้ว แต่การที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้นั้นต้องมีหลายปัจจัยรวมเข้าด้วยกัน เราจึงจะพาทุกคนไป สรุปปัจจัยฟื้นเศรษฐกิจไทย 67 ช่วยคนไทยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีอะไรบ้าง และแต่ละด้านจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไง
สรุปปัจจัยฟื้น เศรษฐกิจไทย 67 มีอะไรบ้าง?
เศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มีขึ้นมีลงเป็นปกติ หากเราสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดี มีการวางแผนรับมือล่วงหน้า มันก็จะช่วยให้เราสามารถเอาชีวิตรอดไปจนถึงช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับคืนมาอีกครั้ง สำหรับใครที่กำลังรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในปีหน้า เราได้สรุปปัจจัยฟื้นเศรษฐกิจไทย 67 เอาไว้เรียบร้อยแล้วจำนวน 3 ข้อ ดังนี้
หลังจากที่พรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ กระแสเรื่องนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาทก็ถูกพูดถึงกันอย่างล้นหลามเลยทีเดียว พรรคเพื่อไทยกล่าวว่านโยบายดังกล่าวนั้นจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยังเป็นการช่วยเหลือบุคคลผู้มีรายได้ต่ำให้มีกำลังซื้อมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย หลังจากที่ในตอนแรกกล่าวว่าเป็นเงินที่จะแจกให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่ในภายหลังกลับมีการประกาศเงื่อนไขใหม่ออกมาทำให้มีคนที่ไม่ได้ใช้สิทธิ์ร่วม 20 ล้านคน
ถึงอย่างนั้น ก็มีผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวกว่า 50 ล้านคนเหมือนกัน ข้อดีของโครงการดังกล่าวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจก็คือสามารถซื้อของได้ทั้งสินค้าอุปโภค และบริโภค ขอเพียงแค่เราซื้อสินค้ากับร้านค้าเท่านั้น เนื่องจาก โครงการนี้ไม่รองรับการซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์ การเข้ารับบริการ การซื้อเครื่องดื่มมึนเมา การนำเอาเงินไปจ่ายค่าเทอม เติมน้ำมัน ซื้อของราคาแพงอย่างเพชรพลอย หรือทองคำ นำเอาไปชำระหนี้ จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ทำให้เม็ดเงินจำนวนมากจะถูกส่งต่อไปยังร้านค้ามากมายที่มีการเปิดร้านจริงๆ ไม่จำกัดเฉพาะร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงร้านธรรมดาทั่วไปทั้งร้านรถเข็น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าหาบเร่แผงลอย รวมถึงร้านในแอปเป๋าตัง เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งประชาชน รวมถึงผู้บริการรายย่อยจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างแท้จริง
แต่อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าจะใช้หลักเกณฑ์อย่างไรให้คุ้มค่า และเกิดความรัดกุมมากที่สุด เพราะหากสามารถปฏิบัติได้จริง มันก็จะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างทั่วถึง ในขณะเดียวกันเองหากไม่สามารถปฏิบัติได้จริง มันก็อาจจะไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่ามากพอที่เราเอาเงินจำนวนมากมาแจกให้กับประชาชนเฉยๆ เหมือนกัน
-
คาดการณ์นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 35 ล้านคน
หลังจากที่เหตุการณ์โรคระบาดจบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภาคการท่องเที่ยวก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง ประเทศไทยของเราเป็นเมืองท่องเที่ยว และเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยู่แล้ว หนึ่งในรายได้หลักที่จะส่งผลต่อการฟื้นคืนตัวของเศรษฐกิจก็คือนักท่องเที่ยว มันจะมีโอกาสสูงที่ในปี 2567 ภาคการท่องเที่ยวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ประเมินเอาไว้ว่าปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยร่วม 35 ล้านคนเลยทีเดียว ประกอบกับการดำเนินนโยบายรุกการตลาดเพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อทริปท่องเที่ยวเพื่อผลักดันรายได้จากตลาดทั้งในประเทศ และนอกประเทศกว่า 100% เชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้า 3 ล้านล้านบาทอย่างแน่นอน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตอบรับนโยบายรัฐบาลเพื่อฟื้นเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยว มีการดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยอยู่มากมายหลากหลายโครงการ ไม่ว่าจะเพื่อปรับเรื่องคุณภาพ รวมถึงหาวิธีการให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายได้มากขึ้นกว่าเดิม ความโชคดีอีกหนึ่งอย่างก็คือกลุ่มนักท่องเที่ยวตลาดระยะใกล้ รวมถึงนักท่องเที่ยวไทยที่มีกำลังจ่ายสูง มักนิยมออกมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัว หรือบ้างก็เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวบ้าง ออกไปจับจ่ายใช้สอย กิจกรรมซื้อของเหล่านี้จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม และยังฟื้นฟูการท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
-
สัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจส่งออก
กรมประชาสัมพันธ์ได้ออกมาเปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และย้อนหลัง 10 เดือนแรกในปีนี้ พบว่าภาพการส่งออกของประเทศไทยมีช่วงเดือนตุลาคมมีมูลค่าสูงถึง 23,578 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือตีเป็นเงินไทยแล้วมากกว่า 840,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 8% หากหักสินค้าอย่างยุทธปัจจัย น้ำมัน และทองคำเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีตัวเลขการขยายตัวถึง 5.4% ในขณะที่การส่งออกของโลกมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวขึ้นช่วงไตรมาสสุดท้ายพอดี
ส่วนการส่งออกในประเทศไทยของเราเดือนนี้ขยายตัวเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ และยังถือว่าขยายตัวมากกว่าอีกหลายประเทศในแถบอาเซียน พบว่ามีสัญญาณฟื้นตัวการส่งออกสินค้าสำคัญหลายอย่างที่ทั้งกลับมาเป็นบวก และบางอย่างที่ชะลอตัวลง จากแรงหนุนของการฟื้นตัวช่วงปลายปีที่เต็มไปด้วยเทศกาล ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มลดลงกว่าเดิม แม้ว่าตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงอยู่ในอัตราระดับสูง แต่มันก็เริ่มมีสัญญาณว่าเราใกล้จะสามารถยุติมาตรการคุมเข้มการเงินได้แล้ว
เปิดแนวโน้มโอกาสเติบโต เศรษฐกิจไทย 67
เมื่อไม่นานมานี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาเปิดเผยการคาดการณ์ว่าในปี 2561 จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจถึง 4.4% โดยมีมาตรการจากทางภาครัฐเป็นการกระตุ้น และภาคส่งออกเริ่มฟื้นตัวในทิศทางบวกมากขึ้นกว่าเดิม มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าภาคเอกชนน่าจะลงทุนเพิ่มด้วย ส่วนการส่งออกที่ฟื้นตัวถึงจะยังกลับมาไม่เต็มร้อยเหมือนแต่ก่อน แต่ก็ยังถือว่ากำลังไปได้สวยเช่นกัน
โจทย์ใหญ่สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจประจำปี 2567 คือการขยายตัวหรือเติบโตของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างยั่งยืน ตัวแปรสำคัญของสถานการณ์ทั้งหมดคือปัญหาเงินเฟ้อ หากย้อนกลับไปในปี 2565 เราจะพบว่าเงินเฟ้อมีอัตราการเร่งตัวขึ้นระดับสูง ถึงจะเป็นภาพระยะสั้นก็ตาม หลังจากนั้นก็เริ่มมีการปรับลดลงมาเร็วกว่าประเทศอื่น ปีนี้ประเทศไทยของเราจึงมีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสุดในโลก แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังคงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอยู่ดี เพราะยังมีเรื่องเอลนีโญ อุปสงค์เศรษฐกิจขยายตัวดี จึงมีการประเมินไว้ว่าเงินเฟ้อปีหน้าจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากนั้นในปีถัดไปถึงจะปรับลดลง ปัจจุบันมีการดำเนินแผนงานให้การเงินกับเข้าสู่ระดับปกติ และระยะต่อไปจะมีการพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจเป็นหลัก
ก่อนหน้านี้การปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ให้ความสำคัญกับหลักการประเมินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยการมองไปข้างหน้า พิจารณาความเสี่ยง เลือกใช้นโยบายอย่างเหมาะสมกับความจำเป็น และสถานการณ์ ตระหนักเห็นถึงต้นทุนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาวว่าจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตหรือไม่
สรุปปัจจัยฟื้น เศรษฐกิจไทย 67 จะมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ ประกอบไปด้วยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยด้วยโครงการดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล การฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวตามปกติเหมือนเดิม และภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับคืนมาได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกันว่าจะมีนโยบายอย่างไรที่ช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาดีได้เหมือนเดิม และเป็นการกลับมาแบบยั่งยืน