ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนะคนไทยควรมีวินัยการออม เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตพร้อมยอมรับถึงมาตรการภาครัฐ ทำให้ครัวเรือนไทยออมต่ำลดลง เพราะคนไทยมีหนี้สินกันมากขึ้น ซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงวินัยกับความมั่นคงที่เกี่ยวกับทางการเงินของครอบครัวไทยโดยระบุว่าในปัจจุบันนี้มีหนี้ภาคครัวเรือนของแต่ละบ้านที่ผ่านมา มีแนวโน้มชะลอตัวลง
ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีเพราะในระยะหลังประชาชนมีความระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากหลายครัวเรือนต้องนำเงินไปชำระหนี้คืน จากการกู้ยืมของรัฐเพื่อใช้จ่ายในโครงการของภาครัฐในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน หรือ เงินทุนต่างๆ ที่ชาวบ้านได้กู้จากรัฐมา เริ่มมีการทยอยจ่ายแต่สิ่งที่ยังต้องติดตามคือ สัดส่วนการออมต่อรายได้ที่ลดลง
ภูมิคุ้มกันในการออมบกพร่อง
ข้อมูลของบัญชีรายได้ของประชาชาติที่มีการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้มีการพบว่า สัดส่วนของการออมต่อรายได้ที่มีในแต่ละครัวเรือนไทย ได้มีการลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งจะทำให้เห็นข้อมูลและสามารถชี้ให้เห็นถึงภูมิคุ้มกันของภาคครัวเรือนไทย ที่เริ่มมีการพร่องลง ซึ่งหากระบบภูมิคุ้มกันแบบในระยะสั้นนั้นไม่ดีพอ จะทำให้การมีภูมิคุ้มกันในระยะยาว ที่จะมีการรองรับการเกษียณอายุย่อมเป็นไปได้ยากมากขึ้น จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุนเกี่ยวกับการวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนของมนุษย์เงินเดือน ที่มีก่อนวันเกษียณ กับการเพิ่มโอกาสเกษียณสุข จะพบว่าแรงงานในระบบช่วงอายุ 40 ถึง 60 ปีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ดีมากกว่า
แต่กลับพบว่าสัดส่วนของคนออมเงิน นั้นก็ไม่เพียงพอที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพภายหลังจากการปลดเกษียณมีสัดส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมออมเงิน อาจเป็นเพราะสาเหตุหนึ่ง ที่เป็นผลจากภาระของค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่มีประชากรเพิ่มขึ้น และหนี้สินที่มากกว่ากลุ่มที่มีการออมเพียงพอ เพราะบางคนมีการสร้างหนี้ตั้งแต่สมัยทำงาน แม้จะเกษียณอายุไปแล้ว การใช้หนี้ก็ยังไม่หมด ทำให้การออมเงินเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
สร้างวินัยทางการเงินเพื่อการออมในอนาคต
การกระตุ้นให้ครัวเรือนไทยแต่ละบ้าน เพื่อเป็นการเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยสร้างวินัยทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีหลายบ้านที่มีการใช้จ่ายและก่อหนี้เกินตัวในระยะสั้นๆ ซึ่งหากรู้ตัวได้เร็วและปรับตัวได้เร็วก็อาจส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนลดลงในระยะสั้น ตามมาด้วยเช่นกัน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการปรับตัวเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่บกพร่องลงได้เป็นอย่างดี แต่หากมีการกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นและก่อหนี้อย่างต่อเนื่อง แม้จะช่วยในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีแค่ไหน แต่ก็อาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันของครอบครัวบกพร่องลงไปอีก นั่นเพราะการกลับมาใช้จ่ายที่เกินตัวนั่นเอง ด้วยข้างของเครื่องใช้ และสิ่งของต่างๆ ที่มีราคาแพงขึ้น อาหารการกิน รวมถึงปัจจัยที่ 6 ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตโดยไม่รู้ตัวอย่างมือถือหรือ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารที่เป็นไฮท์เทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดกิเลสและหาซื้อกัน ด้วยการใช้จ่ายแบบเกินตัว และกลายเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น อันส่งผลต่อระบบการเงินของสถาบันของครอบครัว ทำให้การออมที่น่าจะมีขึ้น กลับลดลง เพราะต้องนำเงินไปจ่ายหนี้ต่างๆ ที่มารุมเร้าทุกต้นเดือนนั่นเอง
การแก้ไขแนวทางการชำระหนี้เพื่อการออม
ในส่วนของภาครัฐซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะต้องช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆเพื่อให้เกิดความยั่งยืนให้แก่ภาคครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสวัสดิการของประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีผลในระยะยาวต่อสังคม และยังพบว่าสังคมไทยเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่ภาคธุรกิจ อาจจะมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีการเน้นการออมระยะยาวมากขึ้น โดยให้ข้อมูลลูกค้าที่โปร่งใสพร้อมกับมีการเปิดเผย ซึ่งเป็นการคำนึงถึงความสามารถ สำหรับการรับชำระหนี้ของลูกค้าซึ่งมีการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัยและบัตรเครดิต ซึ่งหากสถาบันการเงินมุ่งเน้นแต่ทำการปล่อยสินเชื่อให้ได้มากที่สุดจนเกินไป ก็อาจจะทำให้ผู้กู้ยืมไม่สามารถชำระหนี้ได้ในเวลาที่กำหนด และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา และยังเป็นเหตุให้เป็นการส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินในอนาคตได้
โดยวินัยทั่วไปของการประหยัดเพื่อเป็นหนทางสู่การ ปลอดหนี้ครัวเรือน อาจเกิดได้จากสามแหล่ง คือ การมีกรอบเกณฑ์ในการบังคับ รวมถึงการมีความรู้ถึงกรอบและประโยชน์ในการทำตามวินัย และมีทัศนคติที่ถูกต้อง สำหรับกรณีปัญหาวิกฤตคลังอาจเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มเปิดรับความเสี่ยง และหันเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ของประเทศไทยมากขึ้น แต่อาจจะทำการประเมินได้ยากว่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเหตุเพราะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนแต่ละประเทศ ยังมีความระมัดระวังเกี่ยวกับสถานการณ์ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย มีเครื่องมือเกี่ยวกับการดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน