16. ชาวต่างชาติเป็นคนวางเงินประกันแต่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของคนไทย ใครจะได้รับเงินประกัน
- กฟภ. จะคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ที่มีชื่อปรากฏเป็น ชื่อผู้วางเงินประกันและชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ตามที่บันทึกในระบบงานของ กฟภ.
17. เอกสารในการยื่นเรื่องต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- รายละเอียดตามหนังสือ เลขที่ กศฟ.(บฟ) 404/2563 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2563 แนวทางในการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ดูแลปัญหาภัยแล้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 (เอกสารแนบ 3)
18. บ้านมีมิเตอร์หลายลูกสามารถขอรับเงินประกันคืนทั้งหมดหรือไม่
- สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแนวทางการคืนเงิน ประกันการใช้ไฟฟ้า ที่ กฟภ. กำหนด
19. บ้านพักข้าราชการสามารถรับคืนเงินประกันได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร
บ้านพักของหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต้องมีหนังสือร้องขอต่อ กฟฟ. โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
- หนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงาน ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
- ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
- หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เท่านั้น)
20. อนาคตบ้านที่ทางการไฟฟ้ามีการคืนเงินประกันไปถูกตัดไฟแต่ไม่มีการไปจ่ายค่าไฟที่ค้างชำระ ทางการไฟฟ้าจะดำเนินการอย่างไร
- ติดตามทวงถามค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระ ดำเนินการทางด้านกฎหมาย
21. บ้านที่ถูกหักค่าไฟฟ้าจากเงินประกันไป และเงินประกันไม่เหลือแล้ว จะดำเนินการอย่างไรบ้าง
- หากยังมีการใช้ไฟเป็นปกติ ไม่ต้องดำเนินการอย่างใด
- หากมีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ ให้ดำเนินการตามกระบวนงานติดตามเร่งรัดหนี้ งดจ่ายไฟต่อไป
22. กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า แล้วถูกงดจ่ายไฟ เงินประกันจะถูกนำไปหักชำระหนี้ค่าไฟฟ้าหรือไม่
- การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ให้คืนเต็มจำนวนตามที่ผู้ใช้ไฟฟ้าวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าไว้โดยไม่ต้องตรวจสอบหนี้หรือประวัติการชำระ ค่าไฟฟ้า ดังนั้นหากผู้ใช้ไฟฟ้าถูก งดจ่ายไฟฟ้า เงินประกันการใช้ไฟฟ้าจะไม่ถูกนำไปหักชำระหนี้แต่อย่างใด
23. ได้เงินค่าประกันมิเตอร์คืนแล้ว ต้องวางเงินประกันใหม่หรือไม่
- กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิมได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน ไม่ต้องวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่
- สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อ 4 ให้ยกเลิกการเรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ยกเว้นกรณีเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าจากประเภทที่ 1 หรือ ประเภทที่ 2 ไปเป็นประเภทอื่นที่มีข้อกำหนดให้วางหลักประกัน ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2563
24. การยื่นเอกสารต้องไปที่สำนักงานหรือสามารถยื่นออนไลน์ได้
- สามารถยื่นเอกสารออนไลน์ ผ่าน Application PEA Smart Plus และ Website: https://dmsxupload.pea.co.th/cdp
25. การขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือผ่านพร้อมเพย์ สามารถใช้ธนาคารไหนได้บ้าง
- กรณีเลือกโอนผ่านพร้อมเพย์รองรับได้ทุกธนาคาร
- กรณีเลือกโอนผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร เปิดรองรับ 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ (3 แห่งนี้ไม่ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเพิ่ม) อีก 2 แห่งคือ ธนาคารทหารไทย และธนาคารอิสลาม (2 ธนาคารนี้ ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเงินฝากเพิ่มเติมด้วย)
26. การขอใช้ไฟฟ้าบนที่ดินไม่มีอาคาร เป็นไฟชั่วคราว หรือใช้เพื่อการเกษตร รวมทั้งกรณีที่ติดตั้งหม้อแปลง 50 เควีเอหรือติดตั้งหม้อแปลงเฉพาะราย ซึ่งใบเสร็จรับเงินประกันสูญหาย ขอคืนเงินประกันได้หรือไม่
- การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะคืนให้แก่เจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 โดยดูจากประเภทอัตราค่าไฟฟ้าที่ขอใช้ไฟฟ้าครั้งแรก หากเข้าเงื่อนไขดังกล่าว เจ้าของเงินประกันขอคืนเงินได้ แต่หากไม่มีใบเสร็จ ให้ทำรายการเลือกช่องที่ระบุว่าใบเสร็จสูญหายได้
27. กรณีบ้านเช่าที่มีหลายห้อง ผู้เช่าขอคืนเงินประกัน ได้หรือไม่
- บ้านเช่ามีหลายห้อง หากมีการติดตั้งมิเตอร์แยกและวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไว้ของแต่ละห้อง เจ้าของเงินประกันขอคืนเงินประกันได้ แต่หากผู้เช่าต้องการขอคืนเอง จะต้องมีหนังสือการโอนสิทธิให้รับเงินประกันคืนจากเจ้าของเงินประกันมาประกอบเพิ่มเติมด้วย
ย้อนกลับไปข้อที่ 1-15
เปิดทุกขั้นตอน! รับเงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ดีเดย์ 25 มี.ค. นี้
ขอบคุณที่มา กองรายได้ ฝ่ายการเงิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (29/03/2563)