การทำงาน การเงิน จะเริ่มมั่นคงได้ตอนอายุเท่าไหร่ คุณเคยสำรวจตัวเองในเรื่องนี้หรือไม่ เมื่ออายุ 30 แล้วคุณคิดว่าคุณมีฐานะการเงินที่มั่นคงแล้วหรือยัง หรือเป้าหมายที่หวังไว้สำเร็จหรือไม่ เพราะการออมเงินโดยการฝากเงินไว้ในบัญชีนิ่ง ๆ อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีเกี่ยวความร่ำรวยอีกต่อไป เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากมีอัตราต่ำ แต่อัตราเงินเฟ้อกับเพิ่มขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง เรื่องการเงินเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุวัยใกล้ 30 แต่ยังไม่มีสินทรัพย์อะไรเลย ดังนั้น มาเริ่มต้นสำรวจไปพร้อมกันค่ะ
อ่านเพิ่มเติม : 11 สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่ออายุย่างเข้าเลข 3
ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาในชีวิตตลอด 30 ปี
- ระหว่าง ทรัพย์สิน กับหนี้สิน อย่างไหนที่คุณมีมากกว่ากัน
หลายคนอาจมีชีวิตการทำงานที่ดี ได้เงินเดือน ๆ ละหลายหมื่นหรือหลักแสน แต่การใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็มาเช่นกัน หรือมากพอ ๆ กับรายได้ที่เข้ามา สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจดบันถึงรายการสินทรัพย์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับหนี้สินทั้งหมด และถ้าพบว่า หนี้สินมีมากกว่าสินทรัพย์ คุณก็ควรเริ่มต้นวางแผนด้านการใช้จ่ายให้รัดกุม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายลงต่อไป
- ทำงบการเงินในแบบของตัวคุณ
ถึงแม้ว่าจะมีรายได้เข้ามามากในแต่ละเดือนก็ตาม แต่เงินเหล่านั้นก็สามารถสูญหายไปอย่างง่ายดายเช่นเดียวกัน เพราะความคิดผิดที่หลายคิด ก็คือ มีรายได้เข้ามามาก เรื่องการใช้จ่ายจึงสบายไม่เดือดร้อน เดียวสิ้นเดือนก็ได้รับเงินอีก จึงใช้จ่ายแบบไม่คิด ทำตามใจตัวเองโดยไม่คิดว่าสิ่งเหล่านั้นอาจไม่จำเป็นและมีราคาแพง ดังนั้น เมื่อคุณทำงบการเงินขึ้นมา คุณจะทราบทันทีว่า เงินจำนวนมากหายไปไหนบ้าง และคุณใช้เงินแบบคุ้มค่าหรือไม่ เพื่อเริ่มต้นการบริหารเงินในแต่ละเดือนให้เหมาะสม และปรับสมดุลการเงินให้ดีกว่าเดิม
- เมื่อมีหนี้สินก็ต้องรีบชำระให้หมดในเวลาอันรวดเร็ว
เมื่อคุณเริ่มสำรวจตัวเอง และทำการจัดบันทึกรายรับ-รายจ่ายแล้ว พบว่าคุณมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ที่มี หรืออายุ 20 ปลายๆ แล้วยังมีหนี้สินอยู่ แนะนำพยายามปลดหนี้ที่มี ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต หรือผ่านสินค้าต่างๆ คุณก็ควรรีบปลดหนี้ให้เร็วที่สุด เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว คุณก็สามารถวางแผนเรื่องการออมเงิน หรือการลงทุนต่อไปได้
- บริหารความเสี่ยงให้เป็น
คุณทราบหรือไม่ว่า ความเสี่ยงในชีวิตของคนเรามีอีกอย่างและการรู้จักบริหารความเสี่ยงเหล่านั้นควรทำอย่างไร เราขอบอกเลยค่ะว่า ความเสี่ยงของคนเรานั้น มีอยู่ 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายก็ย่อมเสื่อมสภาพลงไป, ด้านการเงินถึงแม้ชีวิตที่ผ่านมาจะมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเกิดวิกฤติอาจพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้จ่าย ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และด้านการดำเนินชีวิต สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตคือ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ที่เท่าเดิม แต่รายจ่ายสูงขึ้นทุกเดือน ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว อย่ามัวรอช้า รีบทำความเข้าใจและหาวิธีการบริหารความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่าค่ะ
- เงินสำรองต้องมี เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่คาดฝัน
เงินสำรองเป็นเงินประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เพราะชีวิตของคนเราไม่แน่นอนไม่สามารถบอกได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้น เงินสำรองนี้เกิดจากการออมเงินในแต่ละเดือน ควรเก็บเงินสำรองไว้อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เช่น คุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 8,000 บาท คุณก็ควรมีเงินสำรอง 48,000 – 50,000 บาท เพราะเงินจำนวนนี้สามารถช่วยรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าด้านการเงินได้ ซึ่งคุณก็จะได้ไม่ต้องกลับไปกู้หนี้ ยืมสินเหมือนก่อนอีกครั้งด้วยค่ะ
- เรื่องภาษีต้องวางแผน
เรื่องของภาษีคุณก็ต้องรู้จักเรียนรู้ ศึกษา และวางแผน เพื่อป้องกันการเสียภาษีเพิ่มโดยไม่รู้ตัว การศึกษาเกี่ยวกับภาษีนั่นจะช่วยลดภาระค่าภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอลดหย่อนภาษีในรูปแบบต่าง ๆ หรือการละเว้นภาษีใด ๆ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณประหยัดภาษีลงได้ ดังนั้น ควรศึกษาและวางแผนเรื่องของภาษีให้รอบคอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของคุณเองค่ะ
- เริ่มต้นวางแผนวัยเกษียณต้องแต่เนิ่น ๆ
วันนี้เริ่มวางแผนวัยเกษียณแล้วหรือยัง ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสในการเก็บออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณก็น้อยลง เพราะช่วยอายุของคนเราสั้น เหลือเพียงไม่กี่ปีก็จะไม่มีงาน และไม่มีเงิน ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการเงิน คุณจะต้องวางแผนก่อนถึงวัยเกษียณตั้งแต่ตอนนี้ การวางแผนด้านการเงินก่อนเกษียณคุณสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมเลี้ยงชีพนี้ นอกจากจะเป็นการวางแผนการเงินยามเกษียณแล้ว ยังสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
สำหรับใคร ที่กำลังเข้าวัย 30 แล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเป็นหลักประกันเลย คุณอาจจะเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาด้านการเงิน เป็นปัญหาของคนรุ่นหลัง และอาจเป็นปัญหาของสังคมต่อไปได้นะคะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วมาเริ่มต้นวางแผนการเงินกันดีกว่า วัย 30 อย่างเรารอไม่ได้อีกต่อไป วางแผนการใช้ชีวิต วางแผนด้านทรัพย์สิน และวางแผนด้านการเงินให้รัดกุม เพื่อชีวิตที่สดใสตลอดจนความสุขของคนในครอบครัว ที่ไม่ต้องมารับภาระและแก้ไขปัญหาให้คุณเมื่อถึงวันที่คุณไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกต่อไป ของให้มีความสุขกับการวางแผนชีวิตนะคะ สำหรับครั้งหน้าพบกันใหม่กับเทคนิคบริหารการเงินที่คุณอาจไม่เคยรู้