ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีการออกรถยนต์ใหม่ป้ายแดงกันมากขึ้น และสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยจากการมีรถยนต์ขับก็คือ การทำประกันภัยรถยนต์ ซึ่งก็มักจะมีคนสงสัยกันอยู่เหมือนกันว่าการทำประกันภัยรถยนต์นั้นจะต้องทำประกันภัยชั้นหนึ่งเสมอไปหรือเปล่า เราเลือกที่จะทำแบบอื่นได้หรือเปล่า
ก่อนที่เราจะเลือกว่าจะทำประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่งดีหรือเปล่า เรามาดูเหตุผลกันเสียก่อนว่าทำไมจะต้องทำประกันภัยรถยนต์กัน
ก็เพราะว่าการทำประกันภัยรถยนต์นั้นเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระและความเดือดร้อนทางด้านการเงินให้กับเราในฐานะผู้ที่ทำประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุรถเสีย ทำให้คนเดินถนนเดือนร้อนจากการขับรถของเรา รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเหล่านี้ บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าความเสียหายให้ตามจำนวนทุนประกันที่เราซื้อไว้
เพราะฉะนั้นถ้าเราเลือกที่จะให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของเรา ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ตามจำนวนทุนประกันที่ซื้อไว้นั้น เราจะเรียกการทำประกันภัยรถยนต์แบบนี้ว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ นั่นก็คือ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำ แต่เป็นความพึงพอใจของเจ้าของรถที่จะเลือกทำหรือไม่ทำประกันภัยนี้ โดยประกันภัยภาคสมัครใจก็สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เพื่อให้เราหรือเจ้าของรถยนต์มีทางเลือกในการซื้อความคุ้มครองให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันที่บริษัทประกันภัยนำเสนอขายกันอยู่ก็มีประมาณ 6 ประเภท
อ่านเพิ่มเติม : เลือกประกันภัยรถยนต์ แบบไหนดีสุด ให้คุ้มสุด ตรงใจสุด!
โดยประกันภัยประเภท 2 พลัสการชนที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น หรือต้องเป็นรถยนต์ด้วยกัน และจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาทหากเราเป็นฝ่ายผิด ส่วนประกันภัยทรัพย์สินและบุคคลภายนอกจะมีวงเงินคุ้มครองไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับเบี้ยประกันภัยรถยนต์นั้นก็มีปัจจัยในการนำมาคิดหลายอย่าง แต่แน่นอนที่สุดการทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ย่อมจะต้องแพงกว่าประเภทอื่นๆ เพราะว่าคุ้มครองทุกเรื่องและทุนประกันที่ได้รับก็ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงเกือบเทียบเท่ากับราคารถยนต์ ดังนั้นจึงทำให้การซื้อรถยนต์ด้วยเงินผ่อนนั้นจะถูกบังคับทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เพราะสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อรถยนต์ทั้งหลายก็ไม่ต้องการรับภาระค่าความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับรถยนต์คันที่ให้สินเชื่อไว้เท่านั้นเอง
โดยสิ่งที่จะนำมาใช้คิดค่าเบี้ยประกันภัยว่าควรจะเป็นเท่าไรนั้น ก็จะประกอบไปด้วย ประเภทของประกันภัยที่เราเลือก การระบุชื่อผู้ขับขี่ที่จะต้องดูอายุและเพศด้วย ประเภท ขนาด และอายุการใช้งานของรถยนต์ ลักษณะการใช้งาน การตบแต่งที่ทำเพิ่มพิเศษจากสภาพที่ออกจากโรงงาน เช่น รถยนต์ที่นำไปแต่งเครื่องยนต์ หรือรถยนต์ที่ไปติดแก๊สเอง สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะเป็นเงื่อนไขในการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ของเราว่าจะมากหรือน้อย
ส่วนวิธีที่จะทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยของเราได้ส่วนลดนั้นก็มีหลายวิธีด้วยเหมือนกัน คือ
- หากเป็นบ้านที่มีรถยนต์ตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป ก็สามารถเลือกทำประกันภัยแบบกลุ่มก็จะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัย 10%
- ขับรถดี ไม่มีเคลม หรือที่เราจะได้ยินบ่อยว่าเป็นรถยนต์ที่มีประวัติดี ซึ่งเราจะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ โดยจะได้รับส่วนลด 20% 30% 40% หรือ 50% ของค่าเบี้ยประกันภัยปีแรก สำหรับการทำประกันภัยในปีที่ 2 -5 ตามลำดับ
ถ้าเราทำประกันภัยแบบระบุชื่อไว้แล้ว แต่เอาไปให้เพื่อนหรือคนอื่นขับที่ไม่ได้มีชื่อเป็นผู้ขับรถยนต์ตามกรมธรรม์ ซึ่งหากขับไปเกิดอุบัติเหตุเราจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก หรือค่า Excess เอง โดยจะต้องจ่าย 2,000 บาทแรกของความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ 6,000 บาทแรกของความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย
แล้วถ้านำรถไปใช้ผิดประเภท เช่น จดทะเบียนรถยนต์เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลธรรมดา แต่นำไปใช้รับส่งคน แบบรถตู้ที่เราจะเห็นกันบ่อย ดังนั้นหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับตัวรถ แต่จะรับผิดชอบให้ในส่วนที่เป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกซึ่งเจ้าของรถก็ต้องจ่ายค่า Exess 2,000 บาท เอง
หากเรามีความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว การซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 1 หรือชั้น 1 นั้นก็ถือได้ว่าช่วยให้เราสบายใจเวลาขับรถและเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าหากการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยชั้น 1 ถือว่าเป็นภาระหนักพอสมควรก็ลองหันมาดูประกันภัยประเภทที่ 2 และ 3 ดูก็ได้ แล้วก็เลือกให้ตรงกับการใช้งานรถยนต์ของเราที่สุด หรือเราไม่อยากเสียค่าเบี้ยประกันภัยเลยก็ได้ เพราะนี้เป็นประกันภาคสมัครใจ แต่เวลาขับรถไปบนท้องถนนแล้วก็ต้องระมัดระวังกันให้มากสักหน่อยเท่านั้นเอง