จากข้อมูลผลวิจัยอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรโลกในวารสารการแพทย์ “เดอะ แลนเซ็ท เจอร์นัล” ระบุผลการรวบรวมข้อมูลสถิติด้านสาธารณสุขของภาครัฐบาลใน 188 ประเทศทั่วโลก ช่วงปี พ.ศ. 2533 – 2556 นั้น พบว่า ประชากรทั่วโลกมีอายุยืนยาวขึ้นหากเทียบกับสถิติที่ได้บันทึกไว้เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนเราทั้งผู้ชายและผู้หญิงได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 6.2 ปี จากเดิมในปีพ.ศ. 2533 อายุขัยเฉลี่ยคือ 61.5 ปี มาเป็นอายุขัยเฉลี่ย 71.5 ปี ณ ปีพ.ศ. 2556
แต่ในขณะเดียวกันสถิติผู้เจ็บป่วยเรื้อรังกลับเพิ่มจำนวนขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางหัวใจและปอด หรือว่าโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ศ.ดร. ปราโมทย์ ประสาทกุล นักประชากรศาสตร์ ยังได้เผยผลการวิจัยด้านการรอดชีพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุของประเทศไทยพบว่า คนไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้นเกินกว่า 100 ปี โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยจะอยู่ที่ 80 ปี ซึ่งผู้หญิงจะมีอายุยืนกว่าผู้ชาย
แม้ว่าจะเป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้รับรู้ว่าวิทยาการด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพร่างกายสม่ำเสมอและหลักโภชนาการที่ดีจะช่วยให้คนเรามีอายุยืนขึ้นได้จริง แต่ในทางกลับกัน เมื่อเราต่างได้ตระหนักรู้ถึงแนวโน้มความเป็นอยู่ในอนาคตแล้ว
ในฐานะ มนุษย์ฟรีแลนซ์ ที่ไม่ได้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือสวัสดิการจากหน่วยงานมาช่วยเหลือเก็บออมเงินแต่อย่างใด จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่บรรดามนุษย์ฟรีแลนซ์ทั้งหลายต้องขบคิดและควรเริ่มเตรียมความพร้อมก่อนที่ช่วงเวลาวัยเกษียณจะมาถึง
ลำดับแรก พื้นฐานการเงินที่มั่งคั่งของ มนุษย์ฟรีแลนซ์ ควรตั้งต้นจากการออมเงินสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน จริงอยู่ว่าการทำงานของฟรีแลนซ์นั้น เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้มากนัก บางเดือนงานอาจจะล้นมือจนเคลียร์แทบไม่ทัน แต่บางเดือนก็อาจจะเงียบกริบ ไม่มีงานติดต่อเข้ามาเลย วิธีเอาตัวรอดพร้อมวางแผนชีวิตในวัยเกษียณแบบง่าย ๆ แต่ใช้ได้จริงก็คือ การแบ่งรายได้แต่ละรอบ ออกมาทยอยเก็บสะสมไว้ ซึ่งยอดเงินสำรองที่ปลอดภัยในยามจำเป็นควรเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือน เนื่องจากมนุษย์ฟรีแลนซ์ คือ อาชีพที่ไม่มีสังกัด หรือ ไม่มีองค์กรหลักมาจ่ายค่าจ้างให้อย่างชัดเจน และไม่มีสวัสดิการคุ้มครองใด ๆ นอกจากสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมเท่านั้น
ดังนั้น ผู้สนใจประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ หรือบรรดา มนุษย์ฟรีแลนซ์ ทั้งหลายจึงควรแยกเงินรายได้ส่วนหนึ่งออกมาเป็นเงินสำหรับทำประกันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันสุขภาพ, ประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันชีวิต หากล้มหมอนนอนเสื่อนาน ๆ ขาดรายได้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็ยังได้รับเงินชดเชยหยุดงานจากกรมธรรม์ประกันมาเป็นเงินทุนสำรอง หรือในบางกรณีที่จำเป็นต้องพักรักษาตัวด้วยยอดค่าใช้จ่ายเงินก้อนโต ฟรีแลนซ์ก็จะได้เบาใจไปเปราะหนึ่งว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลยังสามารถเบิกจากบริษัทประกันที่ทำกรมธรรม์ไว้ได้ ไม่เพียงเท่านั้น การทำประกันยังเป็นการวางแผนเพื่อคนข้างหลังในครอบครัว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือไม่สามารถทำงานได้อย่างเดิมต่อไป เงินชดเชยจากรมธรรม์ต่าง ๆ จะเป็นตัวช่วยให้ครอบครัวสามารถตั้งหลักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่มีฟรีแลนซ์เป็นเสาหลัก การเตรียมแผนสำรองผ่านประกันประเภทต่าง ๆ จึงเป็นการวางแผนการเงินลำดับแรก ๆ ที่มนุษย์ฟรีแลนซ์ไม่ควรมองข้าม หรือ ชะล่าใจอย่างเด็ดขาด
อ่านเพิ่มเติม >> ฟรีแลนซ์ ความเสี่ยง และข้อจำกัดที่ควรรู้ <<
ในส่วนของประกันชีวิตนั้น นอกจาก มนุษย์ฟรีแลนซ์ จะสามารถนำมาใช้เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อการขอลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกต่อหนึ่งด้วย ทั้งนี้ประกันชีวิตที่เหมาะสมกับรูปแบบรายได้ที่ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมออย่างมนุษย์ฟรีแลนซ์นั้น ควรจะเลือกลักษณะที่มีช่วงการส่งเบี้ยสั้นแต่คุ้มครองนาน แบบที่ยอดเบี้ยที่ต้องส่งและเงินคุ้มครองไม่สูงมาก ซึ่งมนุษย์ฟรีแลนซ์สามารถนำยอดเบี้ยมาใช้หักลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน หรือ ไม่เกิน 100,000 บาทนั่นเอง ในทางตรงกันข้าม มนุษย์ฟรีแลนซ์บางรายอาจจะสนใจที่จะออมทรัพย์มากกว่าการทำประกัน ก็ควรพิจาณาโปรแกรมเงินออมที่มีระยะการส่งและระยะการคุ้มครองนานมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนไปได้อีกทางหนึ่ง
แต่การวางรากฐานการเงินที่มั่นคงให้กับชีวิต มนุษย์ฟรีแลนซ์ ในวัยเกษียณด้วยการเลือกลงทุนในกองทุนรวมน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ที่ต้องการจะสะสมเงินให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นกว่ารูปแบบการออมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ดี คำถามที่บรรดามนุษย์ฟรีแลนซ์จำเป็นต้องหาคำตอบให้กับตนเองเสียก่อนก็คือ ต้องการจะลงทุนในกองทุนที่ให้เงินปันผลหรือไม่ให้เงินปันผลมากกว่ากัน ข้อแตกต่างระหว่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กับ กองทุนระยะยาว (LTF) นั้นก็คือ RMF จะไม่มีการจ่ายเงินปันผลเลยจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาในการลงทุน ส่วน LTF นั้นผู้สนใจสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินปันผลระหว่างการลงทุนหรือไม่
ถ้าฟรีแลนซ์บางท่านเล็งเห็นและคาดว่าอาจจะได้ประโยชน์จากการแบ่งเงินปันผลออกมาใช้บ้าง ก็เลือกแบบที่รับเงินปันผลระหว่างการลงทุน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือฟรีแลนซ์ควรแบ่งเงินออกมาซื้อกองทุนเป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีเงินใช้จ่ายในวัยชรา
ใกล้ถึงวัยเกษียณ เป็นห่วงอนาคต ทำประกันไว้ เจ็บป่วยก็หายห่วง เบี้ยประกันถูก แถมได้เงินคืนทุกปี >> คลิกเลย!