ในสังคมโลกออนไลน์นั้น นอกจากพี่ใหญ่อย่าง Facebook และ Twitter แล้ว น้องใหม่มาแรงที่ชื่อว่า Foursquare ก็กำลังได้รับความนิยมกันตามสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งเจ้าหนู Foursquare จะไม่เหมือนกับศิษย์พี่ทั้งสองตรงที่ระบบจะทำการควบรวมเอาทั้งความเป็นโซเชียลมีเดียและการระบุตำแหน่งแบบการทำงานของ GPS เข้ามาไว้ด้วยกัน เมื่อผู้ใช้งานไปในสถานที่ต่าง ๆ ก็สามารถคลิ๊ก check in และบอกเล่าหรือแชร์เรื่องราวของตนให้กับกลุ่มเพื่อน ๆ ในสังคมออนไลน์ได้ทันที
จุดเด่นที่น่าสนใจ ก็คือ ผู้ประกอบการร้านค้าอาหาร หรือ แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ สามารถจัดการตลาดร่วมกับกระแส LBS ด้วยโปรโมชั่นสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้บริการที่ check in เป็นประจำ ซึ่งทำให้การตลาดแบบ LBS หรือ กลยุทธ์การตลาด Geo Marketing ใช้หลักการเล่นการตลาดกับภูมิศาสตร์และทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ จัดว่าเป็นอีกหนึ่งขนมหวานชิ้นใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างกระแสในสังคมออนไลน์ได้ไม่ยากเลยค่ะ
ลักษณะของการตลาดแบบ Location Based Service นั้นค่อนข้างเหมาะเจาะกับรูปแบบของกิจการระดับ SME ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้เป็นตัวช่วยในการทำการตลาดโดยที่จ่ายงบไม่มากอีกด้วยค่ะ หากคุณคือหนึ่งในผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านอาหาร, การโรงแรม หรือ แหล่งท่องเที่ยว เทคโนโลยีการตลาด LBS จะพากลุ่มลูกค้าเดินทางมาหาคุณได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าร้านของคุณจะอยู่ที่ไหน ขอให้ติดกระแส LBS เท่านั้น ที่เหลือตลาดจะช่วยกันบอกต่อเองค่ะ
ยกตัวอย่างสำหรับร้านค้าทั่ว ๆ ไปที่เหมาะจะใช้ กลยุทธ์การตลาด Geo Marketing มาทำการตลาดในวงที่กว้างมากขึ้น สมมุติว่าผู้ประกอบการอยากจะบอกที่ตั้งของร้านกาแฟของตัวเองให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายรู้จัก ผู้ประกอบการก็อาจจะต้องพิมพ์แผนที่ร้านลงบนนามบัตรของทางร้าน หรือ ไม่ก็พิมพ์แล้วนำขึ้นแสดงบนหน้าเว็บไซด์ของทางร้าน ซึ่งก็มีร้านค้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะบอกรายละเอียดของเส้นทางมาร้านได้ชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นร้านค้าที่อยู่ต่างจังหวัดด้วยแล้ว แม้ว่านักท่องเที่ยวอยากจะตามไปชิมแต่ก็ตามแผนที่ไปไม่ถูก หาร้านกันไม่เจอ อดกินพลาดโอกาสขายไปตาม ๆ กัน เทคโนโลยี Google Map จึงเป็นคำตอบที่น่าสนใจด้วยข้อเสนอการให้บริการจาก Google Place ที่มาในรูปแบบของแผนที่ออนไลน์อ้างอิงจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เปิดให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไประบุตำแหน่งร้านของตัวเองเพิ่มลงไปในหมวดข้อมูลร้านค้าทั่วไปได้ เพียงเท่านี้แผนที่ร้านกาแฟของผู้ประกอบการก็จะทำหน้าที่เป็นเปิดประตูต้อนรับลูกค้าต่างถิ่นต่างแดนต่างชาติให้เดินเข้ามาใช้บริการที่ร้านได้อย่างสบาย ๆ ค่ะ
อ่านเพิ่มเติม >> การตลาดออนไลน์ มีแนวโน้มดุเดือดในปีหน้า <<
จากการสำรวจและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่จาก Google ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่ามีร้านค้าเข้ามาลงทะเบียนกับ Google Place ไม่น้อยกว่า 4 ล้านรายแล้ว และแน่นอนว่าเทคโนโลยีนี้ได้ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับภาคธุรกิจได้มากกว่า 20% ด้วยนะคะ จุดเด่นของการใช้งานผ่าน Google Place ก็คือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการสามารถค้นหาและรับข้อมูลได้จากทุก ๆ แห่งที่เขาสามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เนตได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, แท็ปเล็ต, โทรศัพท์มือถือ หรือ โน็ตบุ๊คค่ะ ซึ่งถ้าคนใดคนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้แล้ว เขาก็สามารถแชร์พิกัดร้านค้าส่งต่อไปให้ยังกลุ่มเพื่อนผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียได้อย่างสะดวก, รวดเร็ว และเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก ๆ ในคราวเดียวกันอีกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ อีกหนึ่งกระแส Geo Marketing ก็คือ การเล่น Geo-Social Gaming ของ Foursquare หรือ Gowalla ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาเล่นเกมส์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการแบบ Andriod, Iphone หรือ Blackberry โดยจะช่วยระบุพิกัดตำแหน่งของคุณในขณะนั้นผ่านระบบที่ชื่อว่า A-GPS (Assisted GPS) จากโทรศัพท์มือถือของคุณ ทีนี้ เพื่อน ๆ ของคุณก็จะรู้ว่า ตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนและกำลังทำอะไรอยู่ หรือถ้าคุณอยากจะแชร์ไปในโลกโซเชียลอย่าง Facebook และ Twitter ก็ทำได้ผ่านระบบนี้ได้เลย เสน่ห์ของรูปแบบการทำงานลักษณะ Location Based Service นี้ นี่เองที่ทำให้ภาคธุรกิจปิ๊งไอเดียการตลาดและนำมาประยุกต์ใช้สร้างแคมเปญการตลาดเก๋ ๆ ได้ เพราะทั้ง Foursquare และ Gowalla ต่างก็เปิดกว้างให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มสถานที่ หรือ SPOTS ลงไปได้ แน่นอนว่าเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ต้องยิ้มแก้มปริกับโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ทำการตลาดได้อีกแล้ว
อย่างเช่น ในกรณีของร้านกาแฟระดับโลกอย่าง Starbucks ที่ก็ร่วมมือกับ Foursquare ด้วยการจัดแคมเปญการตลาดล่า Badge รับส่วนลดค่ากาแฟ โดยที่ถ้าผู้ใช้บริการเป็น Mayer หรือ เจ้าถิ่นก็จะได้รับส่วนลดไป 1 ดอลลาร์เมื่อสั่งกาแฟฟรับปูชิโน่ จากนั้นก็โชว์สัญลักษณ์เจ้าถิ่นที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือให้กับเจ้าหน้าที่ของทางร้านดู ก็จะได้รับป้าย หรือ Badge กับลูกค้าที่มีการ check in ที่ร้าน Starbucks ครบ 5 ครั้ง ซึ่งผลตอบรับกลายเป็นกระแสให้ลูกค้าพากันเร่ง Check in เพื่อล่า badge กันทั่วประเทศอเมริกาเลย
อีกหนึ่งตัวอย่างการตลาดของค่ายรถดัง Chavy เชฟโรเล็ตที่เลือกใช้ กลยุทธ์การตลาด Geo-Marketing ผ่าน Gowalla โดยเปิดลูกเล่นที่สร้างความประหลาดใจให้กับลูกค้า ด้วยการจัดรถยนต์ Chavey ไปรับส่งจากสนามบิน Austin ไปส่งยังจุดหมายปลายทาง หรือ ที่พัก เมื่อผู้ใช้บริการเล่น Gowalla Check in ระบบก็จะทำการสุ่มชื่อผู้โชคดี ซึ่งแคมเปญนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจนเกิดเป็นกระแส Viral marketing บนสื่อโซเชียลกันเลยหล่ะค่ะ
ส่วนบ้านเรานั้นก็มีแบรนด์ KTC ที่นำกลยุทธ์ Geo Marketing มาใช้ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขาย KTC Real Privileged Program โดยแท็กทีมกับร้านอาหารต่าง ๆ ให้ลูกค้าที่ check in ในร้านนั้น ๆ ได้รับส่วนลดเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรของ KTC และต้องเป็นเมนูแนะนำใน Foursquare ด้วยนั่นเองค่ะ