การ ประนอมหนี้บัตรเครดิต นับได้ว่าเป็นอีกหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหา ในเรื่องของการใช้หนี้บัตรเครดิตที่พอกพูน จากดอกเบี้ยที่มีอัตราสูง จนทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้อีกต่อไป ต่อให้ต้องมีการจ่ายแบบขั้นต่ำก็ตาม หากว่าคุณต้องการจะเข้าสู่การประนอมหนี้บัตรเครดิต ควรต้องทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อตัวเองมากที่สุด เพราะการเป็นหนี้ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนพึงประสงค์ที่อยากจะให้เกิดขึ้น และหากสามารถหลีกเลี่ยงได้
ซึ่งจะว่าไปในปัจจุบันการแข่งขันของสถาบันการเงินที่มักจะมีการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตให้กับผู้บริโภค รวมถึงมีสิ่งที่ล่อตาล่อใจ ต่อผู้สมัครบัตรเครดิตก็คือ คะแนนสะสมแบบคูณสอง หรือแม้แต่การให้ของรางวัลเมื่อมีการใช้จ่ายครบวงเงินที่สถาบันการเงินได้ทำการกำหนดไว้ และหากผู้สมัครบัตรเครดิตหรือผู้ขอสินเชื่อ เป็นคนไม่มีวินัยในการใช้บัตรเครดิตหรือไม่ยอมชำระค่าบัตรเครดิตตามเวลาที่กำหนด ก็อาจนำไปสู่การเป็นหนี้แบบไม่รู้ตัวได้ เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องทำหน้าที่ชำระหนี้ตามที่กำหนด หรือภายในระยะเวลาที่สถาบันการเงินของบัตรเครดิตได้กำหนดไว้ สำหรับหนี้บัตรเครดิต ผู้ถือบัตรมีหน้าที่ต่อรองหรือขอประนอมหนี้บัตรเครดิตกับสถาบันการเงินที่ถืออยู่ วิธีการประนอมหนี้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
1.การแสดงตัวเองกับสถาบันการเงิน
อันดับแรกที่ผู้เป็นหนี้บัตรเครดิตส่วนใหญ่จะต้องทำคือ การแสดงตัวตนกับสถาบันการเงิน และไม่ควรหลีกเลี่ยงจนปล่อยให้เวลาเนิ่นนาน เพราะนอกจากจะต้องเจอกับดอกเบี้ยรายวันมหาโหดแล้วยังอาจจะเสี่ยงที่สถาบันการเงินจะทำการยื่นหนังสือ เพื่อทวงถามและอาจนำไปสู่การฟ้องร้องได้ ซึ่งผู้เป็นหนี้บัตรเครดิตจะต้องเข้าไปชี้แจงเหตุผลและจัดการทำการขอประนอมหนี้กับทางสถาบันการเงิน หากสถาบันการเงินได้รับการชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงมีการวางแผนเกี่ยวกับการที่คุณจะชำระหนี้ได้อย่างแน่นอน ซึ่งยังรวมถึงการแผนจัดการด้านการหาเงินมาชำระหนี้อย่างเป็นระบบ โดยที่ไม่มีความคิดถึงการจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ ตรงนี้จะทำให้มีสิทธิโดยที่สถาบันการเงินจะช่วยในการปรับโครงสร้างหนี้ให้ รวมถึงการยืดระยะเวลาในการชำระหนี้บัตรเครดิตอีกด้วย
2.วางแผนการชำระหนี้บัตรเครดิต
ผู้เป็นหนี้จะต้องมีการปรึกษาร่วมกันกับสถาบันการเงินด้วยว่าจะมีวิธีการใดบ้างที่จะทำให้สามารถชำระหนี้ได้อย่างเป็นระบบ และจะสามารถชำระหนี้ได้ทันตามที่สถาบันการเงินได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีทั้งในส่วนของเงินต้นและอัตราดอกเบี้ย แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่เรียกว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ เพราะหากสถาบันการเงินที่ได้ทำการประเมินแล้วว่า ลูกหนี้ไม่สา มารถชำระหนี้ได้จริง ก็อาจจะถูกปฏิเสธจากการประนอมจากสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินเอง ก็จะต้องทำการประเมินแล้วว่าลูกหนี้อาจไม่สามารถนำเงินมาชำระได้ครบตามจำนวนดังกล่าวอย่างแน่นอน อย่างสมมุติว่าลูกหนี้มีหนี้สินอย่างอื่นที่เป็นภาระ ที่จะต้องมีการชำระด้วยเช่นกัน หรือมีหนี้นอกระบบ หรือค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ในแต่ละเดือน รวมถึงเงินเดือนของลูกหนี้เมื่อหักค่าใช้จ่ายในแต่ละวันแล้ว อาจทำให้ไม่เพียงพอสำหรับค่าชำระหนี้
3.เมื่อเรื่องต้องถึงศาล
โดยส่วนใหญ่แล้วทางสถาบันการเงินจะหาวิธีให้คุณชำระหนี้บัตรเครดิตได้ เพราะทางสถาบันการเงินไม่อยากจะให้หนี้ก้อนนี้สูญเปล่า และทางสถาบันการเงินไม่ต้องการที่จะแบกรับความเสี่ยงที่เกิดจากหนี้ก้อนนี้ ทำให้สถาบันการเงินจะหาทางทำทุกทางเพื่อได้เงินคืน หรือสถาบันการเงินอาจจะตัดสินใจยื่นฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องให้มีการคืนเงินจากลูกหนี้ โดยเป็นการใช้อำนาจจากศาล ซึ่งหากเรื่องไปถึงศาล ศาลก็จะทำการหักเงินเดือนของลูกหนี้ในแต่ละเดือน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นค่าชำระหนี้บัตรเครดิต ซึ่งการหักจากเงินเดือนนั้น ศาลเองก็จะทำการพิจารณาและหักตามจำนวนที่สมเหตุสมผล เพราะลูกหนี้เองก็มีภาระที่ต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเช่นกัน
4.ผลกระทบกับเครดิตในด้านอื่นๆ
หากสถาบันการเงินตัดสินใจยื่นฟ้อง จะทำให้ลูกหนี้จะได้รับผลกระทบกับเครดิตในด้านอื่น ๆ ที่จะต้องตามมาอย่างแน่นนอน อย่างการทำธุรกรรมการเงินครั้งต่อ ๆ หรือในกรณีที่ต้องการซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือกู้เงินไปลงทุนก็ตาม เพราะสถาบันการเงินที่ได้ทำการยื่นฟ้องท่ำมีประวัติของลูกหนี้ จะทำให้ติดอยู่กับสถาบันเครดิตบูโร เมื่อลูกหนี้ที่มีประวัติการผิดชำระหนี้และทำการยื่นขอสินเชื่อ ทางสถาบันการเงินจะต้องรีบทำเรื่องขอเช็คข้อมูลกับเครดิตบูโร และหากมีประวัติที่ไม่ดี ทางสถาบันการเงินจะทำการปฏิเสธการขอสินเชื่ออย่างทันที เพราะสถาบันการเงินเองก็ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงเช่นกันหากเป็นหนี้สูญทางสถาบันการเงินก็เท่ากับไม่ได้อะไรคืนกลับมา และแม้ว่าจะมีการฟ้องร้อง แต่หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้บัตรเครดิตคืนมาได้ ลูกหนี้ก็จะถูกฟ้องให้ล้มละลาย ก็จะทำให้สถาบันการเงินไม่ได้เงินคืนเช่นกัน ทำให้ทางสถาบันการเงินจึงพยายามที่จะช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเต็มที่ แต่ว่าลูกหนี้เองก็ต้องให้ความร่วมมือกับทางสถาบันการเงินด้วย
5.พฤติกรรมด้านการเงินใหม่ เพื่อการปลดหนี้
พฤติกรรมด้านการเงินใหม่ เพื่อการปลดหนี้สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น รวมถึงคุณเองก็ไม่ต้องขึ้นศาล เพราะกระบวน การศาลย่อมส่งผลกระทบที่มากกว่า ซึ่งเป็นแนวทางในการชำระหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อต่าง ๆ ที่ลูกหนี้สามารถที่จะแก้ ไขปัญหาได้ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าตัวเองนั้นกำลังเริ่มเป็นหนี้ โดยมีการประเมินแบบง่าย ๆ จาก การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน หากเริ่มต้นที่จะชำระขั้นต่ำ นั่นเป็นสัญญาณที่ว่าคุณเองก็กำลังเริ่มจะก่อหนี้ ซึ่งการชำระแบบชั้นต่ำนั้น แม้สถาบันการ เงินจะเปิดโอกาสให้สามารถชำระได้ก็จริง แต่ผู้ถือบัตรเครดิตไม่ควรที่จะชำระแบบขั้นต่ำ เพราะจะนำไปสู่ดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจจะคิดที่อัตรา 20% ต่อปี เมื่อรวมทบต้นทบดอกเบี้ย และแม้ว่าในเดือนถัดไป ลูกหนี้จะทำการชำระเต็มจำนวน แต่อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงค้างจากเดือนก่อน ๆ หน้าก็ยังคงค้างอยู่ จนกว่าลูกหนี้จะทำการชำระดอกเบี้ยจนครบ
การมีวินัยในการใช้บัตรเครดิต ไม่ควรใช้เกินกว่าความสามารถที่จะชำระคืนได้ และเมื่อมีการใช้บัตรเครดิต ก็ต้องมีความสามารถที่จะนำเงินมาชำระได้แบบเต็มจำนวนด้วยเช่นกัน ซึ่งการใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย จะส่งผลให้ประวัติของผู้ใช้ดี หรือหากในวันข้างหน้ามีความประสงค์ที่ต้องการขอสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้าน หรือซื้อรถ ก็สามารถที่จะทำได้ง่าย เพราะลูกหนี้มีประวัติการชำระที่ดี การซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต โดยที่ไม่รู้ว่าสิ้นเดือนจะมีเงินมาชำระคืนไหมถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่หากมั่นใจว่าสามารถนำเงินมาชำระคืนได้ครบก็สามารถที่จะใช้จ่ายผ่านบัตรได้ทำการชำระหนี้จนหมดแล้ว สิ่งที่ควรทำคือการปิดบัตรเครดิตหรือหักบัตรไปเลย รอจนกว่าที่ตัวเองจะมีความพร้อมในด้านการเงิน จึงจะสามารถสมัครบัตรเครดิตใบใหม่ได้ ซึ่งการไม่มีวินัยในการใช้บัตรเครดิต อาจนำมาซึ่งการสูญเสียที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้น ควรใช้อย่างพอดีและชำระเต็มจำนวนทุกครั้ง