เชื่อว่าหนึ่งในความฝันของหลายๆ คนคือ อยากมีบ้านเป็นของตัวเองด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น อยากมีอิสระในชีวิต อยากอยู่ใกล้ที่ทำงานจะได้เดินทางสะดวก หรืออยากมีบ้านเพราะเริ่มวางแผนแต่งงานมีครอบครัว ซึ่งบางคนทำงานได้ไม่นานก็เริ่มผ่อนบ้านแล้ว ยิ่งตอนที่รัฐบาลประกาศนโยบายบ้านหลังแรก จะเห็นได้ว่าตลาดบ้านคึกคักอย่างมาก มีการลด แลก แจก แถม จูงใจให้คนตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การซื้อบ้านสักหลังต้องใช้เงินไม่น้อย เป็นหลักล้านจนถึงหลักหลายล้าน ก็ได้เวลาของการเลือกสินเชื่อบ้านที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและความสามารถทางการเงินของคุณมากที่สุด
ข้อมูลสินเชื่อบ้านจากธนาคารต่างๆ ในช่วงเดือนเมษายน 2559 โดยอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของแต่ละธนาคารสามารถแสดงได้ดังตารางสรุปอัตราดอกเบี้ยด้านล่างนี้
*อ้างอิง อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำวันที่ 1 เมษายน 2559
การอนุมัติสินเชื่อบ้าน จะพิจารณารายได้ หักภาระหนี้สิน ดูว่ามีความสามารถที่จะผ่อนได้เดือนละเท่าไร แล้วพิจารณาวงเงินสินเชื่อบ้าน
ในการขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ดังนั้น ถ้ารายได้ 50,000 บาทต่อเดือน ภาระผ่อนหนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลรวมกันแล้วไม่ควรเกิน 40% x 50,000 = 20,000 บาท ถ้าปัจจุบันผ่อนบ้านเดือนละ 15,000 บาท และไม่ได้มีภาระหนี้อย่างอื่น ก็เท่ากับว่าจะเหลือความสามารถในการผ่อนชำระหนี้อีกเพียง 5,000 บาท
5 ทางเลือก ดอกเบี้ยต่ำวงเงินกู้สูง
1.บ้านโครงการใหม่ หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท พิจารณาอีกทางเลือกนึงที่ทางโครงการจัดนำเสนอให้ แล้วนำมาพิจารณาอีกทีว่าถูกกว่ากันเท่าไหร่ โดยคำนวณสอบถามข้อมูลอย่างละเอียด
2.การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPA ธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้นมักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้
3.หน่วยงานที่ทำงาน บางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่างๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่างๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัทซึ่งเราทำงานอยู่
4.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
5.กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
การนำเสนอข้อมูลข้างต้นมาจากเว็บของแต่ละธนาคาร ณ วันที่ 1 เมษายน 2559 เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบในแต่ละธนาคาร ถ้าสนใจโปรดสอบถามกับเจ้าหน้าที่ทางธนาคารเพื่อความแน่ชัดในข้อมูลดอกเบี้ย อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป
อ่านเพิ่มเติม : เงินเดือนเท่านี้ กู้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่ กันนะ ?