การที่เราจะต้องซื้อคอนโดสักห้อง นอกจากราคาที่เป็นหนึ่งในสิ่งที่เราจะต้องรู้แล้ว อีกหนางตัวที่จะต้องรู้คือค่าใช้จ่ายอื่นอีกหลายรายการที่เราจะต้องมีเงินสำรอง หลายรายการ ทั้งตอนจอง วันรับโอน เงินตอนที่เราถือคอนโดไว้ ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และสุดท้ายเวลาที่เราขายไปให้คนอื่นครอบครองก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจของการเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องเงินและความรู้ เมื่อเวลาการ โอนบ้าน หรือคอนโดนั้นมาถึง
อ่านเพิ่มเติม : ปัญหาบานปลาย ซื้อคอนโด อย่ารีบโอนเพราะโปรโมชัน
ค่าธรรมเนียมการโอน :
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) = ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
2. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน จ่ายครั้งเดียว) จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์เช่นกัน อัตราปกติคิด 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน ซึ่งทางกฏหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียนกับสำนักงานที่ดิน มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายจะออกกันคนละ 50% หรือแล้วแต่ตกลง
3. ค่าจดจำนอง (จ่ายงวดเดียว) จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ อัตราปกติคิด 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง โดยต้องชำระให้สำนักงานที่ดิน เหตุผลที่ต้องเสียค่าจดทะเบียนจำนองเพื่อเอาคอนโดฯ เป็นประกันหนี้ให้กับธนาคาร
4. ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) = 0.50% ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม
5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินหนึ่งปี) = 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม
6.ค่าคำขอ 20บาท
7.ค่าอากร 5 บาท
8.ค่าพยาน 20 บาท
โดยทั่วไปค่าภาษีเงินได้ ผู้ขายควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อควรเป็นผู้ออก
ส่วนค่าธรรมเนียมส่วนอื่น ก็แล้วแต่ตกลงกันว่าใครจะออกเท่าใด (จะออกคนละครึ่งหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด) แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้องออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางรายอาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออกทั้งหมด (โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆ เหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว) ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลงซื้อขายหรือก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีการโต้เถึยงเกิดขึ้นได้ในวันโอน ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันภายหลังแม้อยู่ที่กรมที่ดินแล้วก็ตาม