ไขข้อข้องใจ อยากเริ่มทําร้านอาหารต้องลงทุนเท่าไหร่ในปี 2566
หนึ่งในสิ่งที่คนที่กำลังจะเริ่มธุรกิจมักจะเป็นกังวลเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ ต้นทุน ซึ่งในแต่ละธุรกิจก็จะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป โดยเราควรคำนึงถึงต้นทุนให้ละเอียด และครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงควรมีเงินสำรองบางส่วน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมักจะพลาดจนทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงฝันหรือกลายเป็นปัญหาชวนกลุ้มใจในระยะยาว ในบทความนี้เราจะขอยกตัวอย่างการทำธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นที่นิยมในทุกยุคทุกสมัย ใคร ๆ ก็อยากลองทำ ซึ่งจะต้องลงทุนเท่าไหร่ ในปี 2566 และมีรายละเอียดยังไงบ้าง เรามีคำตอบมาให้
อย่างแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การทำธุรกิจร้านอาหารไม่ได้จบแค่การ จ้างเชฟ จ้างพนักงาน ซื้ออุปกรณ์ทำครัว โต๊ะเก้าอี้ และวัตถุดิบ แต่จะต้องคำนวณถึงต้นทุนที่เราคิดไม่ถึงอีกมากมาย รวมถึงต้องมีระยะยเวลาสักพักกว่าจะเริ่มลงตัวและเริ่มทำกำไรได้
1.ต้นทุนค่าวัตถุดิบ
แน่นอนว่าการทำธุรกิจร้านอาหารก็จำเป็นต้องมีต้นทุนของวัตถุดิบหรือที่เรียกว่า Food Cost ซึ่งเป็นต้นทุนที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องมีความเข้าใจและใส่ใจให้มาก เพราะเป็นต้นทุนก้อนใหญ่ที่สุดในการเริ่มทำธุรกิจประเภทนี้ ถ้าหากไม่ได้คำนวณต้นทุนในจุดนี้ให้ดีอาจจะทำให้เกิดปัญหาขาดทุนในระยะยาวได้
โดยทั่วไปแล้วต้นทุนวัตถุดิบอาหารจะอยู่ที่ประมาณ 35 – 40% ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งถ้าเราบริหารจัดการต้นทุนในส่วนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีแต่มีราคาไม่สูงมาก ก็จะช่วยลดต้นทุนรวมทั้งหมดในการทำธุรกิจอาหารของเราลงไปได้
2.ต้นทุนแรงงาน
ในการจะทำธุรกิจร้านอาหารแน่นอนว่าเราจะต้องมีพนักงานหรือแรงงานที่มาช่วยในการบริหารจัดการร้านและบริการลูกค้า ซึ่งต้นทุนแรงงานเป็นการรวมทั้งหมดทั้งค่าจ้างพนักงานค่าสวัสดิการรวมถึงค่า service charge ต่าง ๆ
ต้นทุนในส่วนนี้โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 15% ของต้นทุนทั้งหมด หากเป็นธุรกิจอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ที่เน้นการบริการตัวเองก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนแรงงานที่น้อยลงกว่าประเภทอื่น ๆ ซึ่งเราสามารถบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มีประสิทธิภาพได้ โดยอาจจะวางแผนการจ้างพนักงานเสริมเฉพาะในช่วงเวลาที่มีลูกค้าเยอะ โดยไม่จำเป็นต้องจ้างแบบเต็มเวลาตลอดทั้งวัน
3.ต้นทุนค่าสถานที่
ในกรณีที่ต้องเช่าที่เปิดร้านอาหาร ก็จะมีต้นทุนค่าสถานที่เพิ่มเข้ามา ต้นทุนในส่วนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนแบบตายตัวโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 20 – 25% ถ้าหากเช่าพื้นที่ในทำเลที่ดีหรือห้างสรรพสินค้าก็อาจมีต้นทุนในส่วนนี้สูงขึ้นถึง 30 – 40% เลยทีเดียว
4.ต้นทุนอื่น ๆ
โรคจากสารต้นทุนหลักข้างต้นแล้วยังมีต้นทุนอื่นๆที่มันจะเป็นจุดพลาดของผู้ลงทุนในธุรกิจร้านอาหารทั้งหลาย นั่นก็คือค่าตกแต่งร้าน ค่าซ่อมแซมร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟรวมถึงค่าภาษีต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติในส่วนนี้จะเป็นต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 15 – 20%
ในบางกรณีอาจจะมีต้นทุนที่เรามองไม่เห็นเพิ่มขึ้นมาอีก เช่น ต้นทุนการทำการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้า หรือต้นทุนการทำระบบเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการให้บริการกับลูกค้า เช่น ระบบจองโต๊ะ ระบบสั่งอาหาร ระบบคิดเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้ในปี 2566 นี้ ยังมีธุรกิจเดลิเวอรี่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่ต้องการเป็นพันธมิตรกับธุรกิจเดลิเวอรี่ก็จะเป็นต้องคำนึงถึงกำไรบางส่วนที่ต้องแบ่งให้กับต้นทางด้วย
อ่านบทความนี้ เชื่อว่าหลายคนคงได้คำตอบคร่าว ๆ แล้วว่าทำธุรกิจลงทุนเท่าไหร่ ซึ่งหากคิดดูให้ดีก็เป็นเงินจำนวนไม่น้อย ในบางธุรกิจอาจจะมีต้นทุนหลักหลายแสนถึงหลักล้าน ซึ่งเชื่อว่าหลายคนพลาดโอกาสที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองเพราะขาดต้นทุน ลองให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนเป็นตัวช่วย ซึ่งมีหลายสถาบันการเงินเปิดให้กู้สินเชื่อเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนต่อยอดในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น
– สินเชื่อ SME จากธนาคารไทยพาณิชย์
– สินเชื่อ SME จากธนาคารกสิกรไทย
– สินเชื่อเงินกู้เพื่อธุรกิจ SME จากธนาคารกรุงไทย
– สินเชื่อเพื่อธุรกิจ จากธนาคารทีเอ็มบีธนชาต
หากใครอยากมีโอกาสดี ๆ ที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ลองเลือกสินเชื่อเพื่อการลงทุนที่เราให้ข้อมูลไปข้างต้นประกอบกับการพิจารณาต้นทุนในการลงทุนให้ดี เท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจของคุณได้ไม่ยาก และมีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตได้แล้ว