1 ปีควรเก็บเงินได้เท่าไหร่ ทำยังไงให้ได้ตามเป้าหมาย ฉบับทำได้จริง
หากพูดถึงการออมเงิน เป็นพื้นฐานที่เรามักจะได้ยินว่าควรจะสร้างวินัยเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่เด็ก ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าความรู้ทางการเงินเป็นสิ่งที่คนไทยส่วนหนึ่งยังไม่เข้าใจ และด้วยในยุคปัจจุบันที่มีสังคมออนไลน์เข้ามาถือเป็นเรื่องที่ดีในการเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงความรู้ทางการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะวัยเริ่มต้นทำงาน เหล่ามนุษย์เงินเดือนก็อยากมีเงินก้อน และเริ่มมีเป้าหมายในการเก็บเงินว่า 1 ปีควรเก็บเงินได้เท่าไหร่? โดยจะนำคุณไปเติมความรู้ พร้อมวางแผนเพื่อพาไปให้ถึงเป้าหมายที่จะช่วยสร้างมั่นคงให้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 ปีควรเก็บเงินได้เท่าไหร่
โดยส่วนใหญ่นักการเงิน หรือนักลงทุนมักจะแนะนำให้มนุษย์เงินเดือนที่อยากสร้างความมั่นคงทางการเงินผ่านเงินออมต่อเดือนขั้นต่ำอยู่ที่ 10% ของรายได้ต่อเดือนเพื่อนำเงินส่วนนี้เป็นเงินในสำรองฉุกเฉิน ไว้จ่ายยามจำเป็นไม่รวมถึงการนำไปลงทุนต่าง ๆ
ตัวอย่าง: นาย ก ทำงานบริษัทเอกชนได้รับเงินเดือน เดือนละ 30,000 บาท หากวางแผนเก็บออม 10% ก็จะต้องเก็บออมเดือนละ 3,000 บาท หากเก็บไป 12 เดือน ภายใน 1 ปีนาย ก จะมีเงินเก็บ 12 X 3,000 = 36,000 บาทต่อปี
วางแผนเก็บเงิน 1 ปีให้ถึงเป้าทำอย่างไร
ต่อมาจะแชร์ทริคที่จะพาคุณไปถึงเป้าหมายการเก็บเงินซึ่งขออิงจากตัวอย่างนาย ก ที่อยากเก็บเงิน 10% ของรายได้ซึ่งเท่ากับ 36,000 บาทต่อปี พร้อมวิธีที่จะช่วยให้นาย ก ไปถึงเป้าหมาย ดังนี้
-
ตั้งเป้าหมายออมเงิน
เพราะการมีแผนจะพาให้เราไปถึงฝันซึ่งเริ่มต้นมาจากการตั้งเป้าหมายที่อาจจะใช้สูตร 10% ของรายได้ในการเก็บออมต่อเดือนเหมือนนาย ก ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าปีนี้จะเก็บเงินให้ได้ 36,000 บาทโดยจะใช้เป็นแค่เงินออมเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสัดส่วนเงินที่ใช้เพื่อการลงทุน เช่น หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตร หุ้นกู้ หรืออื่น ๆ ที่อาจจะมีความเสี่ยงทำให้เงินต้นหายไปได้
โดยในปีแรกที่เก็บเงินควรเป็นเงินเย็นสำหรับเก็บสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน แล้วปีถัด ๆ ไปหากเพียงพอแล้วสามารถนำไปลงทุนเพื่อต่อยอดได้
-
ใช้ตารางการออม 1 ปี
มีด้วยกันหลายแบบ โดยอาจจะนำยอดเงินทั้งหมด เช่น 36,000 บาทมาหาร 365 วันก็จะเท่ากับเก็บออมวัน 99 บาท (โดยประมาณ) หรืออาจจะเป็นตัวเลือกอื่น ๆ ปรับตามมากน้อยกันไป
-
ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย
ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก ๆ ที่ทำบ่อย ๆ จะช่วยเพิ่มวินัยทางการเงินให้เรารู้รายรับ รายจ่ายของเราในแต่ละเดือนซึ่งในปัจจุบันมีแอพช่วยจดบันทึกรายรับรายจ่ายต่าง ๆ เช่น MeTang SET Happy Money หรือ MAKE by KBank เป็นต้นให้สามารถ ดาวน์โหลดใช้บริการแบบฟรี ๆ
-
หักออมก่อนจ่าย ทุก ๆ เดือน
ที่มีเงินเดือนเข้าให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมจากจ่ายก่อนแล้วค่อยเก็บทีหลัง เป็นหักออมก่อนแล้วค่อยผ่อนจ่ายทีหลังโดยหากวางแผนว่าจะออมเงินเดือนละ 3,000 บาทก็ให้หักก่อนนำไปใช้จ่ายอื่น ๆ ทุกครั้งเมื่อเงินเดือนเข้าบัญชี
-
งดการสังสรรค์ หรืองานเข้าสังคม
เพราะมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอยู่ค่อนข้างเยอะทั้งเสื้อผ้า หน้าผม เครื่องสำอางค์ รวมถึงค่าเดินทางซึ่งอาจจะสร้างวินัยเป้นการกำหนดว่า 1 เดือนจะสามารถออกไปสังสรรค์ได้แค่ 2 -3 ครั้งเพื่อช่วยให้เราลิสต์ว่าครั้งนี้ควรไปหรือไม่ สำคัญขนาดไหน ไม่ไปหรือเปล่า ? แถมยังช่วยประกยัดเงินในกระเป๋าให้เรามีเงินออมมากขึ้น
-
ซื้อของในช่วงจัดโปรโมชั่น
ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกเอ๊ะ! แต่รู้หรือไม่ว่า หากเรามีลิสต์รายการของที่เราควรซื้อในแต่ละเดือนจะช่วยให้เราจัดการค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น และหากเลือกซื้อในช่วงที่จัดโปรโมชั่นจะทำให้เราได้ราคาที่ถูกลง ประหยัดเงินในกระเป๋าได้หลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพันเลยทีเดียว
-
หารายได้เสริม
สำหรับใครที่มีภาระค่าใช้จ่ายเยอะ การมองหาช่องทางทำรายได้เสริมก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะช่วยเพิ่มเงินเข้ากระเป๋า โดยอาจจะลองหาสิ่งต่าง ๆ จากความถนัดของตัวเรา เช่นถ้าหากเป็นคนสื่อสารเก่งก็อาจจะลองทำ Vlog หรือใครที่มีความรู้ก็อาจจะเป็นติวเตอร์ออนไลน์ ส่วนใครขายของเก่ง ๆ ก็อาจจหาสินค้ามาไลฟ์สดขาย หรือใครที่ครีเอทีฟเก่งก็ลองทำ Content Creator สิ่งเหล่านี้จะสำหรับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพยายามที่ใสเข้าไปของเรามากน้อยเพียงใด รวมถึงการศึกษากลุ่มลูกค้า หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และสร้างรายได้อีกทาง
1 ปีควรเก็บเงินได้เท่าไหร่ ? ขึ้นอยู่กับการตั้งเป้าหมาย และรายได้เป็นสำคัญที่ถึงแม้จะรายได้น้อยก็สามารถเริ่มต้นเก็บได้ซึ่งอาจจะตั้งเป้าจาก 10% ของเงินเดือน หากมีรายได้เพิ่มขึ้น หรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ลงได้จากการปรับพฤติกรรมในการเริ่มจดรายรับรายจ่าย ลดงานเลี้ยงสังสรรค์ เลือกซื้อแค่ของจำเป็น หรือเลือกซื้อของในช่วงโปรโมชั่นก็ค่อยมาเพิ่ม % การเก็บเงินเป็น 15% 20% หรือ 30% ตามความสามารถทางการเงิน และสำหรับใครที่มีโบนัสประจำปีลองตัดใจเก็บ 30% ของโบนัสแต่ละปีซึ่งจะช่วยเงินอมมในแต่ละปีได้มากขึ้น