รีไฟแนนซ์บ้าน คุ้ม ไม่คุ้ม ดูยังไง? แนะนำสำหรับคนอยากปลดหนี้เร็ว
การรีไฟแนนซ์บ้าน ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้คนที่ต้องผ่อนบ้านเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี สามารถย่นระยะเวลาในการผ่อนและจ่ายดอกเบี้ยถูกลงขึ้น แต่หากใครสงสัยว่า รีไฟแนนซ์บ้าน คุ้ม ไม่คุ้ม ดูยังไง? ช่วยทำให้เราจ่ายหนี้บ้านถูกลงหรือแพงขึ้น รวมถึงมีค่าใช้จ่ายแฝงไหนที่ควรรู้ อ่านบทความนี้ได้เลย
รีไฟแนนซ์บ้าน (House Refinance) คืออะไร?
การรีไฟแนนซ์บ้าน (House Refinance) คือการที่เรามีหนี้บ้านที่ต้องจ่ายทุกเดือน ต่อเดือนนานหลายสิบปี แต่ต้องการย่นระยะเวลาการผ่อนบ้านให้สั้นลง จึงทำสัญญากับสถาบันทางการเงินที่มีบริการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยจะมีการนำเงินก้อนนั้นมาโปะหนี้บ้าง นอกจากจะช่วยให้อัตราดอกเบี้ยถูกลงแล้ว ยังทำให้เราสามารถจัดการหนี้บ้านได้ไวกว่าการไม่ได้ทำรีไฟแนนซ์บ้านด้วย
ใครเหมาะกับการรีไฟแนนซ์บ้าน
อาจไม่ใช่ทุกคนที่ควรทำการรีไฟแนนซ์บ้าน เนื่องจากมีทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการดำเนินการทำสัญญาใหม่ ดังนั้น การรีไฟแนนซ์บ้าน จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องผ่อนบ้านนานหลายปี และต้องการลดระยะเวลาในการผ่อนบ้านให้สั้นลง หรือลดอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนให้ถูกลงกว่าเดิม
ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?
- เหลือระยะเวลาการผ่อนบ้านกี่ปี : หากเราเหลือระยะเวลาการผ่อนไม่ถึง 3 ปี การทำรีไฟแนนซ์อาจไม่คุ้มค่า เนื่องจากเราสามารถเคลียร์หนี้บ้านใหม่ใน 3 ปี จึงไม่จำเป็นต้องกู้ที่ใหม่
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแฝง: ก่อนตัดสินใจยื่นขอสินเชื่อ ควรตรวจสอบว่าสถาบันทางการเงินคิดค่าธรรมเนียมในการสมัคร รวมถึงค่าใช้จ่ายแฝงอย่างค่าดำเนินการ ค่าสัญญาเท่าไหร่ ถึงแม้จะเป็นค่าใช้จ่ายจุกจิก แต่รวมกันแล้วก็ถือว่าเสียไปไม่น้อย
- ค่าปรับในการกู้เงิน : ข้อนี้สำคัญ หากเดือนไหนที่เราหมุนเงินไม่ทัน อาจโดนค่าปรับรีไฟแนนซ์บ้านแพงมากกว่า 2 เท่าได้ ควรศึกษาและวางแผนการชำระเงินให้ตรงตามเวลา
- ดอกเบี้ยถูกกว่าที่เดิมไหม : สำหรับสถาบันทางการเงินบางที่ ดอกเบี้ยอาจถูกใชนช่วงปีแรก แต่หลังจากนั้นก็ปรับเพิ่มสูงขึ้น เราจึงควรพิจารณาดอกเบี้ยว่าถูกหรือแพงกว่าเดิม
- มีค่าประกันอัคคีภัย: ส่วนใหญ่แล้ว สถาบันทางการเงินมักจะมีค่าประกันอัคคีภัยที่เราต้องจ่ายเพื่อคุ้มครองบ้าน จึงควรจัดสรรและวางแผนเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
วิธีการคำนวนค่ารีไฟแนนซ์บ้านสำหรับมือใหม่
เมื่อรู้จักกับการรีไฟแนนซ์บ้านแล้ว ทีนี้เรามาดูวิธีคำนวนอัตราดอกเบี้ยกันบ้าง โดยเราสามารถเปรียบเทียบได้จากอัตราดอกเบี้ย MRR ของแต่ละสถาบันทางการเงิน โดย MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าดอกเบี้ยจากสินเชื่อใหม่ แพงกว่าเดิมหรือไม่
ตัวอย่างการคำนวนอัตราดอกเบี้ย MLR สำหรับรีไฟแนนซ์บ้าน
หากเรามีต้องการขอสินเชื่อกู้บ้านจำนวน 1,000,000 บาท สำหรับระยะเวลาการผ่อน 10 ปี ธนาคารที่ให้บริการสินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับบ้าน มี MRL 7% โดยมีการกำหนดไว้ว่า ปีแรก ดอกเบี้ยจะเหลือเพียง 3% สำหรับในช่วง 3 ปี ในการกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
สูตรคำนวน : ปีที่ 1-3 = 1,0000 x 3% = 30,000 บาท
จะเห็นได้ว่า หากเราเลือกสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจากสถาบันทางการเงินนี้ จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง สามารถนำมาเงินก้อนนั้นมาโปะหนี้บ้านที่มีอยู่ เพื่อทำให้หนี้บ้านลดน้อยลงกว่าเดิม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านที่ใหม่ ไม่ควรสูงเกินอัตราดอกเบี้ยเดิม
หลังจากที่เห็นข้อมูลสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน และวิธีคำนวนอัตราดอกเบี้ยแล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านที่ต้องการปลดหนี้บ้านให้เร็วขึ้น สามารถตัดสินใจได้ง่ายกว่าเดิม ทั้งนี้ เราควรพิจารณาเงื่อนไข และความสะดวกในการทำสัญญาประกอบด้วย ช่วยให้เรามั่นใจในการทำรีไฟแนนซ์กว่าเดิม