ไขข้อข้องใจ เป็นหนี้บัตรเครดิต โดนคดีความ ต่อรองยังไง
บัตรเครดิต ถ้าหากใช้แล้วสามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา ก็เป็นความสะดวกสบาย ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรให้ชีวิตเรา แต่ประเด็นก็คือไม่ใช่ทุกคนที่สามารถการันตีได้ว่าจะมีเงินในการผ่อนชำระหนี้บัตรได้ตามที่กำหนด เมื่อเราไม่ได้ชำระหนี้ตามที่ระบุเอาไว้ในสัญญาเจ้าหนี้ ในที่นี้ก็คือ สถาบันการเงินเจ้าของบัตร ก็มีสิทธิ์ตามกฎหมายในการทวงถาม และสามารถฟ้องร้องเป็นคดีความได้ เพื่อให้ลูกหนี้จัดการบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับหนี้ก้อนที่มีปัญหา ในฐานะลูกหนี้แล้วเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากจะให้ปัญหามันไปถึงโรงถึงศาลอย่างแน่นอน แต่เมื่อถึงแล้วความจริงในฐานะของลูกหนี้เราก็มีหน้าที่และสิทธิเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน เราจึงจะพาไปดูกันว่าหากเป็น หนี้บัตรเครดิต แล้วโดนคดีความ ต้องต่อรองยังไงได้บ้าง
หนี้บัตรเครดิต โดนคดีความ ต่อรองยังไงให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด
ความจริงแล้วหากเป็นไปได้คงไม่มีใครอยากจะเป็นหนี้อย่างแน่นอน และเมื่อเป็นหนี้แล้วก็คงไม่มีใครอยากจะผิดนัดชำระหนี้ให้มันกลายเป็นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลแต่อย่างใด แต่เมื่อสุดท้ายแล้วเราไม่สามารถชำระหนี้บัตรเครดิตได้ตามที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาและโดนคดีความ ในฐานะลูกหนี้นั้นเราก็มีสิทธิเช่นเดียวกันเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เราสามารถต่อรองได้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดหรืออย่างน้อยก็เกิดผลเสียน้อยที่สุดสำหรับเรา
เปิดกระบวนการยุติธรรมที่จะเกิดขึ้นเมื่อผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต
เมื่อเราผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตในขั้นแรกนั้นสถาบันทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะมีการทวงถามเราไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หรือการส่งจดหมายแจ้งหนี้ก็ตาม หากติดตามทวงถามแล้วไม่สำเร็จก็อาจจะมีการส่งหนังสือยอมรับสภาพหนี้ให้เราลงชื่อ ซึ่งหนังสือตัวนี้นี่เองที่จะใช้เป็นเอกสารสำหรับการฟ้องร้องเพื่อให้ลูกหนี้ชำระเงินในภายหลังเนื่องจากเราได้ยอมรับสภาพหนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากจนถึงตอนนี้เรายังไม่ติดต่อสถาบันการเงินผู้เป็นเจ้าหนี้อีกก็จะไปสู่ขั้นตอนการฟ้อง
เมื่อเราถูกฟ้องเป็นที่เรียบร้อยแล้วหมายศาลจะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็ตามทางกฎหมายแล้วเมื่อหมายศาลส่งไปถึงบ้านจะถือว่าลูกหนี้ได้รับหมายศาลแล้วในทันที เราไม่สามารถปฏิเสธได้แต่อย่างใดว่าไม่ได้รับหมายศาล
หลังจากที่ได้รับหมายศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้เราตรวจสอบว่าสารแจ้งอะไรและเราสามารถยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดีถึงวันไหนได้บ้าง มันเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากที่เราต้องติดต่อและดำเนินการเมื่อได้รับหมายศาลเพราะมันเป็นโอกาสที่เราจะได้เข้าไปชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้สินที่เกิดขึ้นที่เราไม่สามารถชำระได้ตามปกติ
ด้วยเหตุนี้มันจึงมีความสำคัญที่เราต้องไปศาลเมื่อโดนฟ้อง เพราะหากเราไม่ไปศาลเราจะเสียสิทธิ์ในการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้โดยมีศาลเป็นคนกลางและเสียสิทธิ์ในการต่อสู้คดีในทันที ดังนั้น เราจึงไม่แนะนำให้หนีเมื่อได้รับหมายศาลแต่อย่างใด แต่ให้เราเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อชี้แจงว่าเพราะเหตุใดเราจึงไม่สามารถชำระหนี้ได้เพื่อยื่นต่อศาลนั่นเอง
วิธีการต่อรองเมื่อถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ บัตรเครดิตจากการผิดนัดชำระ
เราจะต่อรองได้ก็ต่อเมื่อเราเดินทางไปศาลเท่านั้น สิ่งที่คุณต้องเตรียมนอกจากเอกสารทั่วไปในการขึ้นศาลแล้วก็คือเอกสารข้อมูลที่แสดงถึงเหตุผลหรือความจำเป็นที่ทำให้เราไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการถูกปลดออกจากงาน การมีรายได้ลดลง การมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม การดูแลครอบครัว ปัญหาทางการเงินที่กำลังประสบอยู่ และต้องไม่ลืมการสู้คดีด้วย นั่นก็คือ เอกสารชี้แจงข้อเท็จจริง สำหรับการเป็นหนี้ในครั้งนี้ ยิ่งหาคดีหมดอายุความไปแล้วเรายังสามารถปฏิเสธการชำระหนี้ไปเลยก็ได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในกรณีที่คุณไม่ได้ลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้
หลังจากที่เราถูกฟ้องความจริงแล้วไม่ได้หมายความว่าเราจะถูกดำเนินคดีเลยแต่อย่างใด มันเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้อย่างเราสามารถเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อหาข้อยุติในการชำระหนี้ได้อีกด้วย ซึ่งทั้งเราและเจ้าหนี้จะต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันบนชั้นศาล ในขั้นตอนนี้เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องจ้างทนายให้เสียเงินเลย แถมยังมีศาลรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ศาลที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นธรรมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเราทำสัญญาประนีประนอมเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ต้องทำตามสัญญาด้วยเช่นเดียวกันไม่เช่นนั้นเจ้าหนี้ก็สามารถบังคับคดีลูกหนี้ได้ทันที
สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้หลังศาลพิพากษาประนีประนอมยอมความ
หลังจากที่ศาลพิพากษากรณีประนอมยอมความเป็นที่เรียบร้อย ในกรณีที่เราไปศาลนั้นเราก็สามารถสร้างข้อตกลงกับเจ้าหนี้ได้อย่างเช่นการลดจำนวนหนี้ การลดดอกเบี้ย การลดจำนวนการผ่อนชำระรายเดือน หรือแม้แต่การพักชำระหนี้ไปเลยในช่วงเวลาหนึ่ง แต่หากคุณไม่ไปศาลสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ศาลจะตัดสินความโดยฟังความจากเจ้าหนี้เพียงฝ่ายเดียว ศาลอาจมีคำพิพากษาให้เราชำระหนี้เป็นเงินก้อนหรือผ่อนชำระก็ได้เช่นเดียวกันซึ่งต้องมีการเจรจากับเจ้าหนี้ว่าจะยอมหรือไม่
ในกรณีที่เราไม่สามารถชำระหนี้ได้เราก็จะถูกสืบทันทีว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง อยู่ที่ไหน และทำงานอะไร ศาลจะมีการออกหมายบังคับคดีและแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อทำการยึดทรัพย์รวมไปถึงการอายัดเงินเดือนในบางกรณี เช่น บ้านและที่ดินจะถูกยึดนำเอาไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ ในส่วนของการอายัดเงินได้นั้นจะมีการส่งหนังสือไปยังบริษัทผู้เป็นนายจ้างของเราเพื่ออายัดเงินเดือนไม่เกิน 30% ของเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่าย โดยจะมีเงินเหลือให้เราการันตีไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน
หากเป็นค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน เบี้ยเลี้ยงชีพ จะถูกอายัดไม่เกิน 30% ของเงินได้ หากเป็นโบนัสจะได้ถูกอายัดไม่เกิน 50% ของเงินได้เลยทีเดียว ในกรณีที่ออกจากงานแล้วได้รับเงินตอบแทนนั้นสามารถอายัดได้โดยให้เหลือไม่น้อยกว่า 300,000 บาทอีกต่างหาก เรียกได้ว่าเป็นการบังคับชำระหนี้แบบที่คุณไม่สามารถขัดขืนได้เลยทีเดียว แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะลูกหนี้จะมีสิทธิ์ในการขอลดค่าจ้างหรือเงินเดือนที่อายัดไม่เกิน 50% ของจำนวนเงินที่อายัดไว้ตามเดิมโดยยื่นคำร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและชี้แจงความจำเป็น
สรุปแล้ว หนี้บัตรเครดิต โดนคดีความ ต่อรองยังไงเราจะสามารถต่อรองได้ก็เมื่อเราดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมนับตั้งแต่วันที่เราได้รับหมายศาล หากเราดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการไปศาล การให้ข้อมูลความจำเป็นที่เราไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติหรือแม้แต่ความไม่เป็นธรรมจากเจ้าหนี้ โอกาสที่ศาลจะเห็นใจและทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม และช่วยให้เรานั้นไม่ต้องโดนคดีความซึ่งจะเกิดปัญหาตามมามากมาย แต่หากคุณไม่ยอมไปศาลหรือดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายมันอาจจบด้วยการถูกบังคับคดีในท้ายที่สุด