อัปเดตล่าสุด เช็ค เงิน ประกัน ราคาข้าว 66 67 ที่ไหน ทำยังไงบ้าง
ในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง เกิดหนี้สินง่าย เก็บเงินก้อนไม่อยู่ เงินประกันราคาข้าวเป็นอีกหนึ่งเรื่องของภาคประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล และหลังจากรอคอยมานานสำหรับชาวนากับเงินเยียวยาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรก็ได้มีมติเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา แล้วการเช็คเงิน ประกัน ราคาข้าว 66 67 ที่ไหน ทำยังไงบ้าง? แล้วมีเงื่อนไขอัไรที่ต้องรู้ พร้อมวิธีการตรวจสอบสถานะเกษตรกร รวมถึงกำหนดการโอนเงิน
ภาพรวมการส่งออกข้าวไทย และคาดการณ์ผลผลิตปี 67
สำหรับภาพรวมในการส่งออกข่าวไทยเมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกสำคัญ พบว่า ตั้งแต่ มกราคม – กันยายน 2566 อินเดียสามารถส่งออกข้าวได้เป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ประมาณ 14.87 ตัน รองลงมาคือเวียดนาม (6.26 ล้านตัน) ไทย (6.08 ล้านตัน) ปากีสถาน (1.98 ล้านตัน) และสหรัฐฯ (1.49 ล้านตัน) ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าไทยอยู่ที่อันดับ 3 ในการส่งออกข้าวซึ่งก็ยังถือเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคการเกษตร และยังพบว่าไทยมีอัตราการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นถึง 12% เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อจากอินโดนีเซียเพิ่มมาขึ้น รวมถึงอานิสงส์จากการห้ามส่งออกข้าวขาวของอินเดีย ทำให้ตลาดการส่งออกข้าวสำคัญของไทยในระหว่าง ปี 2565 – 2566 (ม.ค.-ก.ย.) ในสัดส่วนส่งออก 100% ไทยส่งออกข้าวขาวมากเป็นอันดับ 1 โดยคิดเป็นร้อยละ 53% ของปริมาณการส่งออกข้าวไทยทั้งหมดและประเทศที่นำเข้าข้าวขาวที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย อิรัก มาเลเซีย ญี่ปุ่น โมซัมบิก เป็นต้น
ดังนั้น จึงค่อนข้างเห็นได้ชัดว่าความต้องการข้าวไทยในการส่งออกยังคงมีปริมาณมาก แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้ผลิตอย่างชาวนากลับต้องเผชิญกับปัญหาราคาข้าวจากพ่อค้าคนกลางที่กดราคาต่ำ รวมถึงการเผชิญกับสภาพอากาศที่ไม่เป็นไปตามฤดูส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเกิดหนี้เนื่องจากไม่สามารถขายข้าวได้ในราคาที่ตามเกณฑ์และผลผลิตก็ไม่ได้ตามที่คาดหวัง ภาครัฐจึงมีส่วนสำคัญในการต้องเข้ามาดูแลและแก้ปัญหานี้ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการประกันราคาข้างและเงินเยียวยาชาวนา
เช็ค เงิน ประกัน ราคาข้าว 66 67 ที่ไหน
ต่อมาจะขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินประกันราคาข้าวซึ่งเป็นเงินเยียวยาไร่ละ 1,000 บาทที่อยู่ภายใต้โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรผู้ปลูกข้าวในปีผลผลิต 2566/67 โดยให้วงเงิน 56,321 บาทและมีเป้าหมาย คือ เกษตรกร 4.68 ล้านครัวเรือนซึ่งมีเงื่อนขไในการช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาทโดยต้องไม่เกิน 20 ไร่
โดยตามแผนในการเริ่มดำเนินการหลังจากมีการประชุมครม.และคณะกรรมการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีในปีการผลิต 2566/67 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและปีการผลิต 2566/67 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร
และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีมติเห็นชอบและให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการฯ และจะจ่ายเงินให้ชาวนาได้ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2566 – 30 ก.ย. 2567
วิธีการตรวจสอบสถานะเกษตรกร
ลงทะเบียนได้ที่กรมส่งเสริมการเกษตร โดยทะเบียนผ่าน เกษตรกรออนไลน์ (e-Form) ได้ที่ https://efarmer.doae.go.th/login ซึ่งจะปรากฎหน้าตาของเว็บไซต์สำหรับป้อนข้อมูล ดังนี้
- เลือกตรวจสอบสถานะเกษตรกรสำหรับตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรและข้อมูลการเข้าร่วมโครงการมาตรการภาครัฐ โดยกดปุ่ม “ตรวจสอบ” ช่องสีเหลืองเพื่อทำรายการ
- จากนั้นให้กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและกรอกรหัสหลังบัตรประจำตัวประชาชน 12 หลัก แล้วคลิก ตรวจสอบ
ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันราคาข้าว
สำหรับความช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติม ได้มีความเห็นชอบถึงมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก 2 โครงการซึ่งจะเป็นการปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เพื่อช่วยเหลือชาวนาดูดซับปริมาณข้าวออกจากตลาด ดังนี้
สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี
มีสาเหตุมาจากราคาข้าวเปลือกขณะนี้ราคาตกต่ำซึ่งอยู่ตันละประมาณ 14,800-15,000 บาท ความชื้น 15% ทั้งที่ในความเป็นจริงชาวนาเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วขายเลยทำให้ความชื้นสูงถึง 25% ซึ่งมีราคาแค่ตันละ 12,000 – 12,300 บาท แต่ราคารับซื้ออยู่ที่ 11,000 บาท จึงเกิดโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีในวงเงินสินเชื่อ 34,437 ล้านบาทและยังมีวงเงินจ่ายขาด 10,120.71 ล้านบาทซึ่งจะมีกำหนดเริ่ม 1 ต.ค.66-29 ก.พ.67 มีเป้าหมายดูดซับปริมาณข้าว 3 ล้านตันที่กำหนดปล่อยสินเชื่อ ดังนี้
- กลุ่มข้าวหอมมะลิปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท
- กลุ่มข้าวหอมมะลิ ตันละ 10,500 – 12,000 บาท
- กลุ่มข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท
- กลุ่มข้าวเหนียว ตันละ 10,000 บาท
ทั้งนี้ ยังมีส่วนช่วยค่าฝากอีกตันละ 1,500 บาท (สหกรณ์รับ 1,000 บาท เกษตรกรรับ 500 บาท)
สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว และสร้างมูลค่าเพิ่ม
ที่มีเป้าหมายข้าว 1 ล้านตันโดยจะให้สถาบันเกษตรกรรวบรวมรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาโดยมีวงเงินให้กู้ที่ 10,000 ล้านบาท พร้อมวงเงินชดเชยดอกเบี้ย 481.25 ล้านบาทซึ่งจะให้สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% ส่วนรัฐจะช่วยดอกเบี้ยที่ 3.85% เป็นระยะเวลา 15 เดือน ทั้งนี้การชดเชยดอกเบี้ยของธกส. 4.85% นั้นทางรัฐบาลจะช่วยรับภาระดอกเบี้ย 3.85% ส่วนเกษตรกรจะรับภาระดอกเบี้ย 1% ซึ่งจะมีกำหนดในช่วงวันที่ 1 ต.ค ถึง 30 ก.ย. 67
สำหรับการเช็ค เงิน ประกัน ราคาข้าว 66 67 ที่ไหน ? สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการตรวจสอบสิทธิผ่าน เกษตรกรออนไลน์ (e-Form) จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งหากได้รับสิทธิ์ก็ให้รอรับเงินซึ่งวันคร่าว ๆ ที่จะจ่ายเงินให้ชาวนาได้ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2566 – 30 ก.ย. 2567 รวมถึงยังมีอีก 2 โครงการที่จะเข้ามาช่วยเลหือเกษตรกรเพิ่มเติมได้แก่สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อลดภาระเกษตรกรให้ได้รับวงเงินสินเชื่อที่ต่ำและนำไปใช้ในการปลูกข้าว หรือจำหน่ายข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น