แน่นอนว่าผลกำไรถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็กก็ตาม การที่หวังผลกำไรนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนคาดหวังเอาไว้เช่นเดียวกัน ส่วนมากกำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากยอดขายที่มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกำไรที่เพิ่มขึ้นก็สามารถมาจากต้นทุนที่ลดลงด้วย ดังนั้น ต้นทุนไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ในการดำเนินการธุรกิจขาดทุน และหากคุณมีภาระหนี้สินมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้คุณสูญเสียเงินมากกว่าจะได้กลับมา
แนวทางหลักที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ควรรู้
สำหรับแนวทางที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ต้องทำเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร ก็คือการลดต้นทุน และจำกัดส่วนเกินที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ โดยคุณต้องทำความเข้าใจหลัก 3 ข้อดังนี้ค่ะ
-
เข้าใจในต้นทุน
ก่อนที่คุณจะลดต้นทุนลงได้นั้น คุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนของกิจการว่าใช้จ่ายไปกับอะไรมากที่สุด ซึ่งหลายคนอาจจะคิดเพียงว่าการลดต้นทุน ก็เพียงแค่ลดจำนวนคน ลดคุณภาพสินค้า หรืออื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจโดยตรงได้ ทั้งนี้ หลักในการลดต้นทุนที่ดี คุณต้องไม่ลดคุณภาพของสินค้า แต่ควรลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปให้มากที่สุดแทน ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพเหมือนเดิม เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต
หลักการลดต้นทุนอย่างถูกต้อง
ผู้ประกอบการต้องเข้าใจก่อนว่า ต้นทุนธุรกิจนั้น ประกอบไปด้วยต้นทุนด้านการผลิต ต้นทุนด้านการขาย และต้นทุนในการบริหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นมักจะหลบซ่อนอยู่ใน 3 ส่วนนี้ สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ แยกค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนออกมาให้เห็นชัดเจนว่า คุณลงทุนไปกับอะไรบ้าง หรือจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด และคุณต้องมองว่าหากคุณลงทุนส่วนนี้ไป จะได้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อการลดต้นทุน เพราะถ้าคุณเกิดลดต้นทุนผิดส่วนก็อาจจะส่งผลกับธุรกิจของคุณได้เช่นกัน ดังนั้น คุณจะต้องรู้ถึงความเคลื่อนไหวของเงินที่คุณนำไปลงทุน เพื่อจะได้นำมาพิจารณาในการลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้นได้อย่างลงตัว ไม่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ และสามารถเพิ่มพูนกำไรให้มากขึ้นกว่าเดิมได้
-
ทลายกำแพงความเคยชิน
การที่คุณจะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายของธุรกิจ ทุกคนที่อยู่ในองค์กรของคุณต้องร่วมมือกับช่วยลดและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของคุณเกี่ยวกับการลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินเหล่านี้ หากต้องการให้ทุกคนในองค์กรร่วมมือกัน คุณต้องเป็นผู้วางแผน กระตุ้น และเน้นย้ำ ให้เห็นถึงความสำคัญในการลดต้นทุน เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินต่อไปได้ และเพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจแบบเพิ่มพูนกำไรอย่างที่คุณตั้งความหวังเอาไว้ การที่คุณสามารถจูงใจให้ทุกคนที่อยู่ภายในองค์กรสามารถร่วมมือกันอย่างสอดคล้อง นอกจากจะทำให้สามารถลดต้นทุนลงแล้ว ยังเพิ่มพูนให้ธุรกิจมีกำไร และสามารถดำเนินกิจการได้อย่างรุ่งเรืองต่อไปได้อีกยาวนาน
ที่สำคัญคุณต้องเน้นให้พนักงานทุกคนเห็นถึงผลที่ตามมาว่า หากธุรกิจสามารถทำกำไรได้แล้วพวกเขาจะได้ผลตอบแทนอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของคุณสามารถลดต้นทุนแล้วเพิ่มพูนกำไรได้ในปีนี้ ปีหน้าพวกเข้าจะได้รับโบนัสจากผลกำไร โดยแบ่งให้ตามความเหมาะสม หรือเพิ่มเงินเดือนให้ เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ทั้งบุคคลกรที่มีประสิทธิภาพสามารถผลิตสินค้าให้ออกมาอย่างมีคุณภาพสูงสุดได้นั่นเอง
-
จัดทำงบการเงินอย่างรอบคอบ
การทำงบการเงินจะช่วยให้คุณรับรู้ทุกความเคลื่อนไหวของเงิน ไม่ว่าจะเป็นรายรับ หรือรายจ่าย ซึ่งปัญหาหนึ่งของผู้ประกอบการ SME หลาย ๆ คนที่ไม่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีพอ ไม่ใช่ไม่รู้วิธีลดต้นทุน แต่กลายเป็นว่าหลายคนไม่รู้ว่าต้นทุนเหล่านั้น สูงเกินไป หรือมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นมากเกินไป หลักสำคัญของปัญหาเหล่านั้น ก็คือ การที่ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจัดการงบการเงินได้อย่างรอบคอบนั่นเอง
ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ต้องใส่ใจเกี่ยวกับการทำงบการเงินให้ครอบคลุมและทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณสามารถจัดการบริหารเงินเหล่านั้น ได้อย่างลงตัวมากที่สุด คุณต้องจำไว้เลยว่า การเพิ่มพูนกำไรไม่ได้เป็นเพียงการขายของให้ได้มากที่สุดเท่านั้น แต่ต้องลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุล และสามารถเพิ่มพูนกำไรให้คุณได้อย่างที่คุณต้องการ
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อว่าที่ยอดขายสูงขึ้น เป็นตัวชี้วัดผลกำไรที่มากขึ้นตามไปด้วยนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีเสมอไป เพราะถึงแม้คุณจะมียอดขายเพิ่มขึ้นจริง แต่หากมีต้นทุนที่สูงขึ้น ก็เท่ากับว่าคุณไม่ได้มีกำไรเพิ่มพูนอย่างแท้จริง การทำธุรกิจก็ไม่ได้เรียกว่าประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด ดังนั้นการที่คุณรู้จักควบคุมต้นทุน ให้ลดลงได้ และสามารถขยายธุรกิจ หรือเพิ่มยอดขายได้สูงขึ้นไปพร้อมกันได้ ก็ยิ่งดีต่อธุรกิจของคุณ
สุดท้ายนี้ ก็หวังว่า ผู้ประกอบการ SME ทุกคนจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณมากที่สุด และการสามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างที่คุณต้องการ ไม่ว่าคุณจะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจหรือไม่ จงเชื่อและมั่นใจในตัวเองให้มาก เพราะทุกก้าวของธุรกิจขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถของคุณเอง บุคคลอื่นเป็นเพียงตัวประกอบที่ช่วยให้คุณสามารถก้าวข้ามสู่ความสำเร็จได้เท่านั้น หากคุณสามารถบริหารธุรกิจให้อยู่รอดได้ ทุกคนที่อยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรของคุณก็สามารถอยู่รอดได้เช่นกันค่ะ