เป็นหนี้เยอะ ก็วางแผนเกษียณได้ ไม่เป็นหนี้จนตาย
หลายคนคิดว่าหนี้สินคืออุปสรรคใหญ่ที่ทำให้การวางแผนเกษียณเป็นไปไม่ได้ แต่ความจริงแล้ว ต่อให้มีหนี้เยอะ ก็สามารถวางแผนเกษียณได้ หากรู้จักจัดการอย่างเป็นระบบ วันนี้จะพาไปดูว่า เป็นหนี้เยอะ ก็วางแผนเกษียณได้ ด้วย 10 ขั้นตอนที่จะช่วยให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง แม้วันนี้จะยังมีภาระหนี้อยู่ก็ตาม
1.ประเมินหนี้สินทั้งหมดอย่างละเอียด
- ยอดหนี้คงเหลือ
- อัตราดอกเบี้ย
- จำนวนงวดที่ต้องชำระ
- การมองเห็นภาพรวมจะช่วยให้วางแผนได้แม่นยำขึ้นว่าควรชำระหนี้ไหนก่อนและต้องใช้เวลากี่ปี
2.แบ่งประเภทหนี้ดี vs หนี้เสีย
- หนี้ดี เช่น หนี้กู้ซื้อบ้านที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน
- หนี้เสีย เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลดอกเบี้ยสูง
- ควรเร่งปิดหนี้เสียก่อน เพราะดอกเบี้ยสูงและไม่มีสินทรัพย์รองรับ
3.วางแผนจัดการหนี้
หากมีหนี้เยอะ หลายที่ ให้เลือกวิธีการเคลียร์หนี้ที่เหมาะกับตัวเอง
- Snowball: เริ่มชำระหนี้ก้อนเล็กที่สุดก่อน เพื่อสร้างกำลังใจ
- Avalanche: เริ่มชำระหนี้ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยระยะยาว
4.ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
- ค่าใช้จ่ายบันเทิง
- ของแบรนด์เนม
- ค่าอาหารนอกบ้าน
- นำเงินที่เหลือไปโปะหนี้ หรือลงทุนเพื่ออนาคต
5.ตั้งกองทุนสำรองฉุกเฉิน
สร้างกองทุนสำรองฉุกเฉินให้ได้อย่างน้อย 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องก่อหนี้ใหม่เวลามีเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ตกงาน
6.เริ่มวางแผนลงทุน
- กองทุนรวม
- หุ้นพื้นฐานดี
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามีสวัสดิการบริษัท)
- ควรลงทุนเฉพาะเงินส่วนที่เหลือหลังจากจัดการหนี้ และกองทุนฉุกเฉินแล้ว
7.ออมเงินแบบอัตโนมัติ
สำหรับใครที่ขี้ลืม หรืออาจวางแผนการเงินยังไม่ดีพอ ให้ลองเลือกวิธิออมเงินโดยอัตโนมัติเพื่อให้มีเงินเก็บอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเก็บมากเก็บน้อย เช่น
- หักเงินลงทุนอัตโนมัติ
- ฝากประจำปลอดภาษี
8.กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
- อยากเกษียณอายุเท่าไหร่
- ต้องการใช้เงินเดือนละกี่บาทหลังเกษียณ
- ต้องเตรียมเงินก้อนเท่าไหร่
- แล้วคำนวณย้อนกลับว่าต้องออมปีละเท่าไหร่
9.พิจารณาประกันที่จำเป็น
หากยังไม่มี ควรทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่จากเหตุไม่คาดฝันมาทำลายแผนเกษียณที่วางไว้
10.ทบทวนแผนทุกปี
สถานะทางการเงินเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ควรทบทวนแผนหนี้ และแผนเกษียณทุกปี ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เช่น
- เพิ่มเงินออมเมื่อรายได้มากขึ้น
- ปรับกลยุทธ์ลงทุนตามอายุ
สรุปแล้วหนี้สินไม่ใช่อุปสรรคในการวางแผนเกษียณ หากรู้จักวางแผนอย่างมีระเบียบ เริ่มจัดการตั้งแต่วันนี้ แม้จะช้าไปบ้างก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเลยจำไว้ว่า หนี้ลดลง = เงินเก็บเพิ่มขึ้น = อนาคตที่มั่นคงมากขึ้น เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตเกษียณที่ไม่ต้องพึ่งพาใครในวันข้างหน้า