หากคนที่เป็นแฟนกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย และผู้เอาประกันต้องการให้แฟนตัวเองอยู่ในชื่อผู้รับผลประโยชน์ ประกัน หลายคนสงสัยว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งตามหลักความจริงแล้วทางบริษัทประกันส่วนใหญ่จะแจ้งว่าผู้รับผล ประโยชน์ ประกัน จะต้องเป็นคนที่มีความสัมพันธ์ตามทะเบียนราษฎร์ หรือผูกพันทางสายเลือด แต่หากผู้ทำประกันอยากจะมอบผลประโยชน์ให้ใคร ก็เป็นสิทธิขาดของผู้ทำประกันคือสามารถทำได้ แต่ก็จะมีการตรวจสอบให้แน่ชัดถึงเหตุผลว่า ทำไมผู้เอาประกันถึงได้มอบสินไหมทดแทนให้กับแฟนเป็นผู้รับผลประโยชน์ ประกัน ซึ่งผู้เอาประกันอาจจะไม่มีพ่อแม่ (พ่อแม่เสีย ชีวิต) หรือไม่ได้อยู่กับญาติพี่น้องและดูความสัมพันธ์ว่าคบกันกับแฟนมายาวนานแค่ไหนด้วย เพราะสมัยนี้อะไรก็ไว้ใจยาก มีข่าวฆ่ากันตายเพราะเอาเงินประกันนี่ล่ะตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทำให้ทางบริษัทประกัน จะต้องรักษาผลประโยชน์ให้กับผู้เอาประกันนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : เรียนรู้ข้อมูลของผู้รับผลประโยชน์จากประกัน
ผู้รับผลประโยชน์ ประกัน ที่มีส่วนได้เสียทางกฎหมาย
ผู้เอาประกันสามารถระบุให้ใครก็ได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ ประกัน เพราะผู้รับประโยชน์ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดออกมาว่าต้องมีส่วนได้เสียหรือความสัมพันธ์กันในทางกฎหมาย ซึ่งในการระบุให้ผู้รับประโยชน์ให้เป็นใครก็ได้ ทางกฎหมายเรียกว่า เป็นสัญ ญาเพื่อบุคคลภายนอก (ปพพ ม.๓๗๔) แต่การเอาประกันชีวิต ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสียในทางกฎหมาย อย่างเช่นหากพ่อได้ทำประกันให้กับลูก พ่อก็จะสามารถระบุว่าตัวพ่อเองเป็นผู้รับผลประโยชน์ ประกันได้ เช่นเดียวกับแม่ เมื่อทำประกันให้ลูก ผู้เป็นแม่ก็จะต้องสามารถระบุให้ตัวเองเป็นผู้รับผลประโยชน์ ประกันแม่ได้เช่นกัน แม้แต่สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรส และทำประกันให้แก่กัน ก็สามารถทำได้เพราะความเกี่ยวพันในทางกฎหมายและมีผลรับรองไว้อยู่แล้ว
แต่หากเป็นกรณีที่พ่อ ได้ทำประกันให้ลูกชายคนแรก และระบุ ให้นาย Aเป็นผู้รับผลประโยชน์ ประกัน แต่หากลูกชายคนแรกเสียชีวิตแทนที่พ่อจะได้เงินก็ยังคงเป็นนาย A เพราะผู้รับผลประโยชน์ ประกันคือนาย Aตามที่กรมธรรม์ระบุไว้นั่นเอง แต่ถึงแม้ว่าพ่อจะระบุให้กับนาย A ไว้แล้ว สามารถเปลี่ยนใหม่ให้กับนาย B ได้หรือไม่ คำตอบคือได้ ถ้าหากว่า ในกรณีที่พ่อยังไม่ได้มอบกรมธรรม์ให้กับนาย Aและนาย Aยังไม่ได้แจ้งไปยังบริษัทผู้รับประกันชีวิตแต่ถ้าหากพ่อได้มอบกรมธรรม์ให้นาย Aแล้ว และนาย Aได้แจ้งไปยังผู้รับประกันว่า ตนได้ขอถือเอาผลประ โยชน์จากกรมธรรม์นี้ ทำให้อันนี้ผู้เป็นพ่อไม่สามารถเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ ประกันให้กับนาย Bไม่ได้แล้ว
แต่ถ้าหากผู้เป็นพ่ออยากเปลี่ยนให้กับนาย Bจะทำอย่างไร เพราะกรมธรรม์ให้กับนาย Aไปแล้ว ทำได้ก็คือพ่อต้องยกเลิกสัญญาประ กันชีวิตโดยหยุดส่งเบี้ยประกัน ก็จบแล้ว และจะต้องสมัครใหม่ โดยระบุผู้รับผลประโยชน์ ประกัน ให้เป็นชื่อของนาย Bนั่นเอง
การทำประกันชีวิต แต่ผู้รับผลประโยชน์ ประกัน ไม่ใช่ญาติแต่นามสกุลเดียวกัน
การทำประกันชีวิตที่ผู้ประกันใส่รายชื่อผู้รับผลประโยชน์ ประกันที่มีนามสกุลเดียวกัน แต่หากไม่ใช่ญาติจะสามารถรับผล ประโยชน์ได้ไหม และจะมีปัญหาอะไรบ้าง หลายคนคงจะสงสัย ซึ่งความจริงแล้วประเด็นไม่ได้อยู่ที่ผู้รับผลประโยชน์ ประกัน แต่ประเด็นหลักคือ ผู้เอาประกันคนอื่นที่ไม่ใช่สายเลือด จะต้องมีส่วนได้เสียกับผู้ที่เอาประกันด้วยตามกฎหมาย ซึ่งหากคุณเอาประกันชีวิตกับ บ.ประกัน แล้วก็จะสามารถระบุชื่อเพื่อยกผลประโยชน์ให้กับใครก็ย่อมทำได้ทั้งสิ้น ซึ่งหากเกิดเป็นกรณีนี้จริงๆ ผู้รับผลประโยชน์ ประกัน ก็ต้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายด้วย อย่างสามีกับภริยา หรือนายจ้างกับลูกจ้าง ,เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือ คู่สัญญาทางธุรกิจ ประมาณว่า หากไม่เกี่ยวข้องกันเลย หรือเกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ก็ไม่สามารถเอาประกันได้
เงื่อนไขของผู้รับผลประโยชน์ ประกัน
สัญญาประกันภัยนั้น หากผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ก็ถือว่าไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างใด แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์เอง ผู้เอาประกันภัยก็ย่อมที่จะมีสิทธิโอนประโยชน์ที่เป็นสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่ว่าจะทำการส่งมอบกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ ประกัน ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ก็ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัย หรือบริษัทว่ามีความจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น และหากผู้เอาประกันภัยได้เอาประ กันภัยไว้โดยกำหนดว่า หากเมื่อใดที่ผู้เอาประกันถึงแก่ความตายหรือเสียชีวิตให้มอบผลประโยชน์ ประกันกับทายาทโดยไม่ได้เจาะจงหรือระบุชื่อใครเอาไว้ ก็ให้กลายเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้เอาประ กันภัยไป ซึ่งสามารถนำไปใช้เจ้าหนี้ได้
หากลูกอายุเกิน 20 ปี ไปทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ แล้วกำหนดให้ตัวเองเป็นผู้รับเงินประกัน และหากพ่อแม่เสียชีวิตไป ในกรณีเช่นนี้ ไม่สามารถทำได้ เพราะพ่อแม่ไม่ได้มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกที่บรรลุนิติภาวะนั่นเอง หรือที่เรียกกันว่าไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายนั่นเอง ส่วนพี่น้องหรือญาติ หากพี่น้องตายไป พี่หรือน้องที่ยังอยู่ แต่ไม่ได้มีหน้าที่ดูแล หรือเลี้ยงดูต่อกัน จึงทำให้พี่น้องจะเอาประกันแก่กันไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก http://insurancethai.net/webboard/index.php?topic=1036.0