เบี้ยประกันภัย หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัยเพื่อซื้อความคุ้มครองการประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ โดยทั่วไปในปีแรกนิยม ชำระเบี้ยประกันแบบรายปี หลังจากนั้นหากต้องการจ่ายเป็นรายเดือนในปีต่อไป สามารถติดต่อบริษัทหรือตัวแทนประกันเพื่อปรับเปลี่ยนแผนชำระเงินได้ตามความต้องการและความเหมาะสม เช่น รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยสามารถ ชําระเบี้ยประกัน ภัยให้ตรงตามเวลาที่กําหนดโดยไม่เป็นภาระหนักจนเกินไป
เมื่อตัดสินใจทำประกันแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือประเภทการประกันชีวิต ควรเลือกกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองและเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ตรงกับความต้องการของตนเอง ลำดับถัดมา คือ ความสามารถในการ ชำระเบี้ยประกัน ภัยตลอดระยะเวลาเอาประกันเพื่อไม่ให้กรมธรรม์นั้นขาดผลบังคับและสิ้นสุดความคุ้มครอง โดยผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกวิธีการ ชำระเบี้ยประกัน ได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความสะดวกหรือเหมาะสมกับรายได้ของตน รวมทั้งยังมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ
การ ชำระเบี้ยประกัน เป็นระยะเวลานานหลายปี เช่น 10 ปี 15 ปี หรือตลอดชีวิต ผู้ทำประกันจะต้องมีกำลังจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องไปตลอดอายุกรมธรรม์ หากทำประกันแบบพอดีเหมาะสมกับรายรับและรายจ่ายของตนเองและครอบครัว การส่งค่าเบี้ยประกันย่อมไม่ทำให้เกิดรายจ่ายเกินตัวจนกระทบการดำเนินชีวิตและค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความสามารถในการ ชำระเบี้ยประกัน และความพร้อมว่าจะสามารถจ่ายเบี้ยประกันไปได้ตลอด คำแนะนำทั่วไปสำหรับคนโสด ค่าเบี้ยประกันต่อปีไม่ควรเกิน 15%-20% ของรายได้ต่อปี สำหรับคนมีครอบครัว ค่าเบี้ยประกันต่อปีไม่ควรเกิน 10%-15% ของรายได้ต่อปี ซึ่งคำนวณรวมแล้วนับเป็นเงินจำนวนไม่น้อย
ข้อดีของการชำระค่าเบี้ยประกันรายปี คือ
ไม่มีการชาร์จดอกเบี้ยและช่วยประหยัดได้ 5%-8% เมื่อเทียบกับการแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน ราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือน ซึ่งผู้เอาประกันต้องจ่ายดอกเบี้ยเล็กน้อย ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์เพื่อมิให้ผู้ชำระเบี้ยเป็นรายปีเสียเปรียบ การจ่ายเบี้ยประกันรายปีจึงมีอัตราถูกกว่ารายเดือน ช่วยประหยัดเงินในระยะยาว
ข้อเสียของการจ่ายค่าเบี้ยประกันรายปี คือ
ผู้ทำประกันต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ หากไม่มีวินัยการออมที่ดี การจ่ายเบี้ยประกันแต่ละครั้งอาจเป็นภาระกระทบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ผู้เอาประกันอาจเลือกใช้วิธีหักเงินจากบัญชีเงินเดือนทุกเดือน แล้วฝากเข้าบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง อาจฝากประจำระยะเวลาการฝากไม่เกิน 1 ปี ในกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ สมมติว่ามีค่าเบี้ยประกันรายปี 90,000 บาท ตัวเลขควรจะแบ่งย่อยออกเป็นรายเดือน ซึ่งจะเหลือประมาณเดือนละ 7,500 บาท เพื่อจะทยอยเก็บออมให้ได้ตามเป้าหมาย
โดยค่าเบี้ยประกันรายปี 90,000 บาท บวกกับดอกเบี้ย 2% ต่อปี เมื่อครบปีจึงถอนออกมาจ่ายเบี้ยประกันจะได้เงินรวม 10,800 บาท หากได้รับเงินโบนัส หรือมีรายได้พิเศษอื่น ๆ ควรนำมาฝากรวมไว้ด้วยกัน ถือเป็นการออมแบบบังคับให้ส่งเบี้ยประกันตามกำหนดครั้งเดียวในแต่ละปี
กรมธรรม์ประกันภัยให้ความคุ้มครอง หรือ มีผลบังคับตราบที่ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยตรงตามกำหนดเวลา แต่ผู้เอาประกันภัยจำนวนไม่น้อยมีปัญหาเรื่องการชำระเบี้ย ทำให้ไม่สามารถชำระทั้งก้อนได้ มีวิธีการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้
- ลดจำนวนเงินเอาประกันภัย ทำให้เบี้ยประกันภัยลดลง
- เปลี่ยนแบบการประกันชีวิต ทำให้เบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระในแต่ละงวดลดลง
- ยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมกรมธรรม์ประกันภัย เช่น สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพหรือ อุบัติเหตุที่มักจะเป็นอนุสัญญาแบบปีต่อปีเพื่อลดจำนวนเบี้ยประกันภัยต้องชำระในแต่ละงวด
- ขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกันภัยจากรายปี เพื่อแบ่งจ่ายเป็นราย 6 เดือน หรือราย 3 เดือน หรือรายเดือน เพื่อแบ่งจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระในแต่งวดให้น้อยลง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบกรมธรรม์นั้นด้วย
โดยปกติการ ชำระเบี้ยประกันแบบรายปี เมื่อครบกำหนดชำระแล้ว จะมีระยะเวลาผ่อนผันให้ 30 วัน หรือ 60 วัน นับตั้งแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกัน ถ้าผู้ทำประกัน ชำระเบี้ยประกัน ไม่ทันก่อนสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผัน กรมธรรม์ประกันชีวิตมีเงื่อนไขนำเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์มาชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างอยู่โดยอัตโนมัติเพื่อขยายเวลาให้ โดยทุนประกันและจำนวนเงินเอาประกันภัยยังคงเท่าเดิม แต่ระยะเวลาคุ้มครองลดลงหรือบริษัทอาจคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่ากับอัตราดอกเบี้ยใช้ในการคำนวณเบี้ยประกัน และบวกอีก 2% ต่อปี แล้วแต่เงื่อนไขของกรมธรรม์
สำหรับการจ่ายรายเดือนช่วยให้ผู้ทำประกันไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันด้วยเงินก้อนใหญ่ แต่ค่อย ๆ ทยอยจ่ายค่าเบี้ยประกันไปตามรอบชำระนั้น การแบ่งจ่ายเป็นงวดจึงเป็นหนทางออกที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และช่วยให้ผู้ทำประกันไม่ยืดเวลาชำระเนิ่นนานไปจนขาดอายุ
อย่างไรก็ดี แม้การจ่ายรายเดือนมีความยืดหยุ่นมากกว่า แต่ถ้ามีอุบัติเหตุทางการเงินหรือขาดวินัยการใช้จ่ายทำให้นิ่งนอนใจเกินไปแล้วขาดส่งหลายเดือนจนกรมธรรม์ขาดผลบังคับ เมื่อผู้เอาประกันภัยขอต่ออายุสัญญา บริษัทจะคำนวณเบี้ยประกันสัญญาหลักความคุ้มครองชีวิตช่วงที่ขาดส่ง ต้องจ่ายย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ขาดส่ง
ข้อควรรู้อีกประการ คือ เบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายในแต่ละปีที่มีอายุสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรามีเพดานสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีนี้จะคงอยู่ตลอดเวลาที่มีการชำระเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ข้างต้น จึงนำเงินส่วนที่ได้รับการลดหย่อนภาษีมารวมกับเงินค่าชำระเบี้ยประกันในปีต่อไปได้เลย ส่วนอนุสัญญาหรือประกันเพิ่มเติมประเภทประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
เมื่อวางแผนการประกันชีวิตเพื่อปกป้องความเสี่ยง จึงขอแนะนำให้ผู้เอาประกันภัย มีการวางแผนที่ดีด้วย ทั้งการเลือกวิธีการชำระเบี้ยประกันภัยและวิธีการเตรียมเงินเพื่อจ่ายเบี้ยประกันรายปีในสัดส่วนที่เหมาะสมกับรายได้และวางแผนการแก้ปัญหา หากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
สนใจทำประกัน ต้องดูรายละเอียดให้ดี เลือกที่วงเงินคุ้มครองสูง แถมมีเงินคืนให้ทุกปี ดูรายละเอียด ที่นี่