แนะนำให้อ่านกระทู้ http://pantip.com/topic/34593767 ที่เจ้าของเรื่อง โดนหลอกให้ทำประกัน ย้ำว่าหลอกจริงๆ จาการที่ได้อ่านและเคยประสบมาด้วยตัวเอง ซึ่งเจ้าของเรื่องเกรงใจคนที่โทรมาเลยยอมฟังขอเสนอ ยอมแจ้งว่ารับเอกสารและพูดคำว่า ตกลง ตามที่พนักงานให้พูด ซึ่งกลายเป็นการยอมรับการทำประกัน และอีกสิ่งที่น่าสงสัยคือจากประโยคนี้ เจ้าหน้าที่ AIA ก้อพูดเงื่อนไขต่างๆ แบบเร็วติดจรวดมากๆๆๆๆๆๆ (พยายามจับใจความ…แต่ไม่สำเร็จ) พูดๆๆๆๆๆ บลาๆๆๆๆๆ แล้วก็แจ้งหมายเลขบัตรเครดิตเราด้วย แบบถูกทุกตัวเลข…แล้วถามกลับว่าใช้เลขรี้ใช่ไหมคะเราก็ตอบว่า “ใช่” หลังจากนั้นก็พูดแบบติดจรวดอีก……จนเจ้าหน้าที่พูดย้ำ เน้นชัดค้ำว่า “ขอให้ลูกค้าพูดคำว่า…ตกลง”
อ่านแล้วสงสัยกันบ้างไหมว่า เจ้าหน้าที่จากประกันรู้เลขบัตรเครดิตได้อย่างไร ?
นี่คือคำถามที่น่าสงสัย เพราะคนที่สามารถรู้เลขบัตรเครดิต หรือหน่วยงานที่รู้ได้แน่นอนคือ ธนาคารเจ้าของบัตร และ ร้านค้าที่เราไปรูดบัตร เพราะทั้งสองแห่งจะมีข้อมูลของเราที่ไปรูดซื้อของ ธนาคารเจ้าของบัตรเขาต้องรู้แน่นอนอยู่แล้ว ร้านค้าต้องมีสลิปเก็บส่งสำหรับเรียกเก็บเงิน นอกนั้นไม่มีทางรู้ได้เด็ดขาด ประเด็นที่สงสัยคือ ข้อมูลบัตรเครดิตออกมาจากไหนอยู่ในมือคนขายประกันได้อย่างไร จากข้อสงสัยนี้สันนิษฐานได้ว่า คนที่โทรมาขายประกันนั้น เป็นพนักงานของธนาคารโทรมาติดต่อเองจึงมีเลขบัตรเครดิตครบถ้วน มีข้อมูลต่างๆทั้งหมด แต่ใช้ชื่อในการติดต่อว่าเป็นพนักงานของประกัน และอย่างที่สองคือมีการขายข้อมูลลูกค้าให้กับบริษัทเหล่านี้ เรามาวิเคราะห์กันทีละประเด็นถึงความเป็นไปได้กัน
1.ธนาคารขายประกันโทรมาโดยอ้างชื่อบริษัทประกัน
มีความเป็นไปได้มากถึง 70% เพราะธนาคารทุกแห่งพ่วงบริการขายประกันในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกหากจะมีพนักงานธนาคารโทรมาขายประกัน เพราะข้อมูลบัตรเครดิตถือว่าเป็นความลับ ไม่มีทางที่คนอื่นๆหรือหน่วยงานอื่นๆจะรู้ข้อมูลได้แม้แต่การซื้อขายออนไลน์ยังมีระบบป้องกันในการกรอกข้อมูลบัตรเครดิต แต่นี่คือพนักงานคนนั้นแจ้งบัตรเครดิตได้ถูกต้อง โทรมาถูกคนถูกเบอร์ มันไม่น่าที่ตรงได้ขนาดนั้นและที่สำคัญคือการหว่านล้อมให้ลูกค้ารับฟังเงื่อนไข รับเอกสารและหว่านล้อมให้ตอบตกลง ซึ่งทางฝั่งคนที่โทรมาจะมีการบันทึกเสียงและใช้เป็นการยืนยันว่าลูกค้ายินยอม แต่ไม่ได้บอกว่าตัดยอดทันทีถึงสองเดือน ซึ่งจากจุดนี้เหมือนการโกงกลายๆและมัดมือชกแบบหน้าด้านๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นการขายที่ในบ้านเราใช้กันมาก ทางแก้และป้องกันคือ หากมีโทรศัพท์เข้ามานำเสนอไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรจากเบอร์ที่เราไม่คุ้นเคย หรือ แจ้งว่านำเสนอเรื่องเงินฝาก เงินออม บัตรเครดิต ให้ตอบกลับไปเลยว่าติดแบล็คลิสต์ พวกนี้จะขอบคุณและวางสายไปเลย ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้ผลมาแล้วซึ่งเจอมากับตัวไม่กี่วันก่อนจึงตอบแบบสั้นๆได้ใจความไปว่า ไม่สนใจ เขาก็ตื้อเลยตอบไปอีกว่า ติดแบล็คลิสต์ ทำอะไรไม่ได้ เขาขอบคุณและวางสายทันที หรือแต่ละคนอาจจะมีวิธีอื่นๆที่เคยใช้กันมาแต่ต้องบอกเลยว่าให้ปฎิเสธหนักแน่น หรือทำตามคำแนะนำจากกระทู้คือ ใช้ App โปรแกรม Whoscall ช่วยได้มาก แต่ถ้ายังมีหลุดมาอีก โปรแกรมอัดเสียงอัตโนมัติ(ในแอนดรอย)ช่วยอัดเสียงไว้สำหรับแจ้งกลับข้อหาฉ้อโกงก็น่าสนใจเหมือนกัน
2.โดนนำข้อมูลส่วนตัวไปขายให้บริษัทประกันหรือมีการส่งต่อข้อมูลเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กัน
แม้ว่าหลายคนบอกว่ามันจะทำได้อย่างไร แต่ขอบอกว่าเขาทำได้ไม่เช่นนั้นพวกบริษัททวงหนี้จะตามเจอได้อย่างไร ลักษณะการถ่ายโอนข้อมูลจะคล้ายกันคือ ในกรณีของบริษัททวงหนี้นั้นเจ้าหนี้มีลักษณะส่งต่อให้โดยเหมือนกับขายหนี้หรือจ้างติดตามทำให้บริษัทเหล่านั้นมีข้อมูลส่วนตัวของลูกหนี้อยู่ในมือ และอีกกรณีคือมีการเอื้อผลประโยชน์ให้กันระหว่างเจ้าของข้อมูลและบริษัทพันธมิตร และอีกกรณีที่เป็นไปได้คือ ร้านค้าขายข้อมูลคนที่มารูดบัตรให้กับพนักงานประกัน ทั้งหมดมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น ซึ่งการได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆนั้นมีวิธีการที่แตกต่างกันไป อย่าว่าแต่ข้อมูลบัตรเครดิตเลย ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ยังข้อกันได้เลย ที่นี่ไทยแลนด์แดนมหัศจรรย์อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ขอแค่มีสินจ้างรางวัล มีผลประโยชน์ตอบแทน รับรองอะไรที่คุณคิดว่ามันควรเป็นความลับมันไม่เป็นหรอก
จากสองกรณีที่วิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลสำคัญที่ควรปกปิดมันก็สามารถเปิดเผยให้กับคนบางกลุ่มได้อย่างหาสาเหตุไม่ได้ หลายคนบอกให้ฟ้องร้องแต่ค่าใช้จ่ายล่ะใครจะออก ไหนจะเสียเวลาไหนจะเสียเงิน และที่สำคัญ คำยืนยันที่บอก ตกลง นั่นคือเรายินยอมสิ่งที่ทำได้คือเราต้องยกเลิกเอง และส่วนของเรื่องข้อมูลบัตรเครดิตแน่นอนว่าเราไม่รู้ว่าหลุดจากที่ไหน ต่อให้เค้นจากพนักงานที่โทรมาเขาก็ไม่บอกถึงเราไปแจ้งความใครล่ะคือจำเลยของเรา หรือหากแจ้งจับบริษัท แน่นอนว่าเขามีทนายความเรื่องก็ยืดเยื้อ