คำถามยอดฮิตสำหรับคนหางาน ที่นิยมกรอกประวัติสมัครงานตามเว็บไซต์หางานต่างๆ คงเคยสงสัยว่ากรอกแล้วได้งานไหม สมัครงานตามเว็บไซต์ เขาเรียกสัมภาษณ์ไหม ได้งานจริงหรือเปล่า วันนี้จะมาเล่าให้ฟัง
จากประสบการณ์ที่เคยทำงานออฟฟิศและใช้บริการเรียกดูใบสมัครงานผ่านเว็บไซต์หางาน ซึ่งแน่นอนว่าหากบริษัทไหนไม่ใช้บริการเขาก็จะไม่เห็นใบสมัครของคุณ ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทจัดหางาน งานขาย งานประกัน จะใช้บริการกันมาก องค์กรใหญ่ๆก็มี และ บริษัทเล็กๆก็มีซึ่งต้องจ่ายกันตามแพคเกจราคาของเว็บไซต์นั้นๆ เมื่อจ่ายเงินก็ลงประกาศงานได้ คัดคนสมัครงานได้ ซึ่งแน่นอนว่าการเลือกคนที่กรอกใบ สมัครงานตามเว็บไซต์ หางานนั้น HR หรือคนที่คัดจะพิจารณาจากหลายๆอย่าง ซึ่งก็จะเล่าให้ฟังจากที่เคยทำหน้าที่คัดคนจากเว็บไซต์มาสัมภษณ์งาน ซึ่งบอกเลยว่าสาเหตุที่ไม่เลือกจนทำให้หลายๆคนคิดว่าเว็บไซต์เหล่านี้หางานไม่ได้จริงๆคือ
1. กรอกประวัติไม่ละเอียดพอ
เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร สถานที่ติดต่อต่างๆบางคนลงมั่วๆ ลงไม่ครบ ติดต่อยาก โทรแล้วติดต่อไม่ได้ใครจะเรียกทำงานล่ะ
2. วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ความสามารถตามสายงานที่สมัคร ไม่สัมพันธ์กับเงินเดือน
บอกเลยว่าเจอเยอะมากๆ อายุน้อยๆ 22-25 สมัครงานตำแหน่งผู้จัดการ เรียกเงินเดือน 30,000 -50,000 บาท เพิ่งเรียนจบหรือประสบการณ์แค่ 1-2 ปี เรียกเงินเดือนขนาดนี้ แถมไม่ระบุที่ทำงานเดิมตามที่ต้องกรอก หรือ บางคนระบุมาเงินเดือนสูงซึ่งบางครั้งมีการตรวจสอบกับที่ทำงานตามที่ระบุด้วยซึ่งเขามีวิธีตรวจสอบกัน เพราะดูแล้วมันไม่เมคเซ้น เช่นสมัครตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป วุฒิป.ตรี จบมาได้ 1 ปี เรียกเงินเดือน 30,000 ทำงานในบริษัทเดิมด้วยตำแหน่งธุรการ เงินเดือนที่เก่าระบุว่าได้ 25,000 ซึ่งมันไม่ใช่ตามความเป็นจริง ป.ตรีจบมาก็อยู่ที่ 15,000 บาทหากเป็นบางสายงานก็ได้สูงกว่านี้แต่สายงานออฟฟิศจบใหม่ไม่มีทางได้ระดับนี้ นอกจากคุณเป็นพนักงานขายที่ได้ค่าคอมสูง ยิ่งงานธุรการที่เหมือนจับฉ่ายของงานสายนี้อัตราเงินเดือนไม่สูงแน่นอนหากไม่ทำงานมาหลายปี และ ทำงานได้ดีหรือทำได้หลายๆอย่าง และจากประสบการณ์การเขียนใบสมัครไว้ตามเวปไซค์นั้น 70% เมคโอเวอร์เงินเดือนและความสามารถ เพราะพอเรียกมาสัมภาษณ์ เรียกมาเทสต์งาน กลับทำไม่ได้ทั้งๆที่กรอกใบสมัครไว้ว่าทำอะไรได้บ้าง
3. รูปถ่าย
บางคนนี้เห็นแล้วไม่อยากอ่านประวัติ ไม่รู้ว่าทำไมนิยมกันมากใส่รูปกันเหมือนเซลฟี่เลย บางคนแอ๊บแบ๊วสุดๆ บางคนฉากหลังเป็นโต๊ะทำงาน เป็นบรรยากาศออฟฟิศ บางคนถ่ายในห้องนอน เห็นแล้วไม่เรียกจะดีกว่า คือไม่ต้องถึงกับชุดครุย แต่ขอให้ดูเรียบร้อยเป็นทางการ เพราะส่วนใหญ่เขาจะปรินทร์ใบสมัครจาเวปไซค์มาเลย เรียกมาสัมภาษณ์งานไม่ต้องกรอกอะไรอีก นอกจากคุณได้งานและตกลงทำกันเรียบร้อยจึงจะให้กรอกเอกสารของทางบริษัทอีกครั้งเพื่อเก็บเข้าแฟ้มพนักงาน เพราะบางออฟฟิศต้องการประหยัดกระดาษ นอกจากคุณจะเดินเข้ามาสมัครเองไม่ผ่านเวปไซค์ถึงให้กรอกเอกสารสมัครงานของทางบริษัทเลย
4. การพูดคุยทางโทรศัพท์
บางครั้งเมื่อเราเลือกได้แล้ว ก็จะติดต่อกลับไปซึ่งหากติดต่อได้ ก็จะเชิญมาสัมภาษณ์ซึ่งบางคนนั้นจะถามก่อนว่าเงินเดือนเท่าไหร่ ทำงานวันไหนบ้าง บริษัททำอะไร ง านให้ทำอะไร หยุดวันไหน มีพักร้อนไหม มีโบนัสที่เก่า ขึ้นเงินเดือนไหม ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการดีที่ถามรายละเอียดกันก่อนเพราะหากไม่ถูกใจจะได้ไม่ต้องมาสัมภาษณ์อันนี้เชื่อว่าทุกบริษัทให้สิทธิ์ในการสอบถาม แต่คุณรู้ไหมว่าบางบริษัทเขากากบาททิ้งทันทีหากคุณถาม เพราะ ยังไม่เห็นหน้าตา บุคลิก หรือ ทดสอบความสามารถ ถามมากขนาดนี้ต่อให้มาสัมภาษณ์ เขาก็ไม่ให้ผ่าน ถามได้แต่ควรถามที่พอดีเช่น ตำแหน่งที่เรียกเราเขาไปสัมภาษณ์ เอกสารต้องเตรียมอะไรเพิ่มเติมไหม เพราะบางแห่งที่เป็นสายงานเฉพาะอย่าง กราฟิก อาจจะขอดูงานที่ทำผ่านๆมา ก็ควรสอบถามไว้ การทดสอบหรือเทสต์ความสามารถ ควรถามสักนิดว่ามีไหมจะได้เตรียมตัวได้ ซึ่งเรื่องเงินเดือน หรือ อื่นๆควรไปถามวันสัมภาษณ์ เพราะบางแห่งนั้นหากคุณสัมภาษณ์ผ่าน หรือ มีแนวโน้มว่าจะได้เขาจะแจ้งคุณเอง หรือ คนสัมภาษณ์เปิดโอกาสให้ถามได้ เราสงสัยอะไรก็ถามได้
หรืออยากได้งาน ต้องทำตามนี้ ! >>> ปรับมุมมองใหม่ของ การหางานทำ <<<
จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือประสบการณ์ที่เคยเจอจากการคัดพนักงานผ่านเว็บไซต์หางาน ซึ่งเป็นเพียงคร่าวๆ เพราะยังมีอีกหลายเหตุผล ที่หลายๆ บริษัทไม่นิยมคัดพนักงานจากใบ สมัครงานตามเว็บไซต์ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ที่ยกมาคงเป็นตัวอย่างให้หลายๆคนที่กำลังหางานไม่ควรทำ หากอยากได้งานก็ต้องกรอกใบสมัครให้ดูมีค่า ดูน่าเชื่อถือ และ เป็นทางการ หวังว่าคงจะนำไปปรับใช้กันได้ไม่มากก็น้อย