ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง อัปเดตล่าสุด 2566 คำนวณยังไง ?
นอกจากเสียภาษีส่วนบุคคลแล้ว ในผู้ที่มีที่ดินก็จำเป็นต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินใช้ประโยชน์อื่น ๆ รวมถึงที่ดินว่างเปล่า ซึ่งในบางปีจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษี ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการอัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ ปีนี้ รัฐบาลก็ยังมีลดยกเว้นเป็นปีที่ 4 และในปีนี้เราก็จะพาทุกท่านมาอัปเดตอัตราภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างปี 2566 กัน ใครที่มีที่ดิน หรืออาคารต่าง ๆ จะได้นำไปคำนวณภาษีให้ถูกต้อง
วิธีการคำนวณภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง = มูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง (ราคาประเมิน) – ฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น
ภาษีที่ต้องเสีย = ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง x อัตราภาษี
ซึ่งแบ่งอัตราภาษีตามประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
ประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัย
1.1 ที่อยู่อาศัย หลังที่ 1
เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้น โดยเสียอัตราภาษีตามตารางด้านล่าง
*หากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ถึง 0 – 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
>50-70 ล้านบาท |
0.03 |
300 |
>75-100 ล้านบาท |
0.05 |
500 |
>100 ล้านบาท |
0.10 |
1,000 |
1.1 ที่อยู่อาศัย หลังที่ 1
คือที่ดินที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว และเจ้าของต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้น
โดยเสียอัตราภาษีตามตารางด้านล่าง
*หากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ถึง 0 – 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
>10 -50 ล้านบาท |
0.02 | 200 |
>50 -75 ล้านบาท |
0.03 |
300 |
>75-100 ล้านบาท |
0.05 |
500 |
>100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10 |
1,000 |
1.2 ที่อยู่อาศัย หลังที่ 2 ขึ้นไป : เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหลังที่ 2 ขึ้นไป โดยเสียอัตราภาษีตามตารางด้านล่าง
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
>0 -50 ล้านบาท |
0.02 |
200 |
>50 -70 ล้านบาท |
0.03 |
300 |
>75 -100 ล้านบาท |
0.05 |
500 |
>100 ล้านบาทขึ้นไป |
0.10 |
1,000 |
ประเภทที่ 2 ที่ดินเกษตรกรรม
2.1 ที่ดินเกษตรกรรม ของบุคคลธรรมดา
ในปี 2565 เจ้าของที่ดินเกษตรกรรม ของบุคคลธรรมดายังไม่ต้องเสียภาษี เพราะ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ยกเว้นภาษี 3 ปีแรก หากเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้ทำเกษตรกรรมจะเริ่มเสียภาษีจริงๆ ในปี 2566
*โดยมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ถึง 0 – 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
>50 – 125 ล้านบาท |
0.01 |
100 |
>125 – 150 ล้านบาท |
0.03 |
300 |
>150 – 550 ล้านบาท |
0.05 |
500 |
>550 – 1,050 ล้านบาท |
0.07 |
700 |
1,050 ล้านบาทขึ้นไป |
0.10 |
1,000 |
2.2 ที่ดินเกษตรกรรม ไม่ใช่ของบุคคลธรรมดา : เช่น บริษัท ต้องขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ทำเกษตรกรรม โดยเสียอัตราภาษีตามตารางด้านล่าง
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
0 – 75 ล้านบาท |
0.01 |
100 |
>75 – 100 ล้านบาท |
0.03 |
300 |
>100 – 500 ล้านบาท |
0.05 |
500 |
>500 – 1,000 ล้านบาท |
0.07 |
700 |
1,000 ล้านบาทขึ้นไป |
0.10 |
1,000 |
ประเภทที่ 3 ที่ดินพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
คือ ที่ดินที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการผลิตหรือเปิดร้านค้าขาย โดยเสียอัตราภาษีตามตารางด้านล่าง
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
0 – 50 ล้านบาท |
0.30 |
3,000 |
>50 – 200 ล้านบาท |
0.40 |
4,000 |
>200 – 1,000 ล้านบาท |
0.50 |
5,000 |
>1,000 – 5,000 ล้านบาท |
0.60 |
6,000 |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป |
0.70 |
7,000 |
ประเภทที่ 4 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
คือ ที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ หากเจ้าของไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่านั้นติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 3 ปี จะเสีย เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม 0.30% และเพิ่มขึ้นอีก 0.30% ทุก ๆ 3 ปี หากยังไม่มีการใช้ประโยชน์ สูงสุดไม่เกิน 3% โดยเสียอัตราภาษีตามตารางด้านล่าง
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี (%) | เสียภาษีล้านละ (บาท) |
0 – 50 ล้านบาท |
0.30 |
3,000 |
>50 – 200 ล้านบาท |
0.40 |
4,000 |
>1,000 – 5,000 ล้านบาท |
0.50 |
5,000 |
>1,000 – 5,000 ล้านบาท |
0.60 |
6,000 |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป |
0.70 |
7,000 |
หลังจากอ่านบทความเชื่อว่าหลายคนที่มีที่ดิน คงพอจะประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566 ที่ต้องจ่ายในปีนี้กันได้ ที่สำคัญอย่าลืมที่จะวางแผนภาษีให้ดีในทุก ๆ ปี และอย่าลืม ดำเนินการชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งในการยื่นจ่ายภาษีสามารถจ่ายได้ทั้งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ หรือผ่านเคาน์เตอร์ ตู้ ATM และ Mobile Banking ธนาคารกรุงไทย