เมื่อมีการดำเนินธุรกิจในบางครั้งกิจการอาจจะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน หรือมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ หลายกิจการจึงเลือกที่จะทำการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือบุคคลภายนอก ที่นำเงินกู้ดังกล่าวมาใช้ภายในกิจการ เมื่อมีการกู้ยืมเงินเกิดขึ้นจะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ผู้ ให้กู้ยืม ในทางภาษีอากรก็มักจะเกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่าย
กรณี “ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ” จะถือเป็นต้นทุนทรัพย์สินหรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ในกรณีกิจการได้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อใช้ปลูกสร้างที่ทำการของบริษัท ซื้อที่ดินเพื่อปลูกอาคารพาณิชย์ให้เช่า รวมทั้งค่าก่อสร้างอาคารด้วย และกรณีซื้อเครื่องจักรรวมทั้งการติดตั้งและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ดอกเบี้ยในส่วนที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าวจะถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ แนวปฏิบัติของกรมสรรพากรดอกเบี้ยเงินกู้ยืมทั้ง 3 กรณีดังกล่าว จะถือเป็นรายจ่ายในการลงทุนหรือไม่นั้น ให้แยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
(1) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการก่อสร้างที่ทำการหรืออาคารหารายได้ให้คำนวณแยก เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการหารายได้ ดังนี้
(ก) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างก่อสร้างจนกระทั่งเสร็จงานแล้วหรือก่อให้เกิดราย ได้ตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน
(ข) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้หลังจากการก่อสร้างเสร็จหรือก่อให้เกิดรายได้ตามวัตถุ ประสงค์แล้ว ให้ถือเป็นรายจ่ายในการหารายได้
(2) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อทรัพย์สิน (เช่น เครื่องจักรฯ) ให้คำนวณแยกค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการหารายได้ ดังนี้
(ก) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องเสียในระหว่างการซื้อทรัพย์สินจนกระทั่งทรัพย์สิน นั้นใช้การได้ตาม สภาพให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน
(ข) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องเสียหลังจากทรัพย์สินนั้นใช้การได้ตามสภาพแล้ว ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการหารายได้
(ค) กรณีที่เงินกู้มานั้นได้ไปใช้ในการก่อสร้างทรัพย์สิน หรือซื้อทรัพย์สิน หรือใช้ในกิจการอื่นๆ รวมกัน ถ้าไม่สามารถจำแนกได้ว่าดอกเบี้ยที่เสียนั้นเป็นส่วนใดได้แล้ว ก็ให้คำนวณแยกออกตามส่วนของเงินกู้ทั้งสิ้นเทียบกับยอดเงินกู้ที่ใช้เพื่อ การก่อสร้างหรือเพื่อซื้อทรัพย์สินในการลงทุนและค่าดอกเบี้ยส่วนที่ควรถือ เป็นค่าใช้จ่ายในการหารายได้
ต่อมากรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 92) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อหรือให้ ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้บังคับสำหรับรอบ ระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินต้องเป็นดอกเบี้ยที่ เกิดขึ้นโดยตรงเนื่องจากการดำเนินธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพหรือเกี่ยวเนื่อง โดยตรงต่อทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเกิดขึ้นในรอบระยะ เวลาบัญชีใด ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะ ใช้ได้ตามประสงค์ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็น การลงทุน
(2) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อม ที่จะใช้ได้ตามประสงค์ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
กรณีที่เงินกู้มานั้นได้นำไปใช้เพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือใช้ ในกิจการอื่นๆ รวมกัน ในการคำนวณตาม (1) และหรือ (2) ให้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการซื้อหรือให้ได้มาซึ่ง ทรัพย์สินมาคำนวณเท่านั้น
- เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อ 2 (2) แล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องไม่นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวไป รวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก
จากหนังสือกรมสรรพากรและประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ดัง กล่าวที่ได้กำหนดแนวปฏิบัติในเรื่องของ “ดอกเบี้ยจ่าย” เมื่อมีการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อทรัพย์สินจะพิจารณาว่า เมื่อใดถือว่าดอกเบี้ยจ่ายเป็นต้นทุนของทรัพย์สินและเมื่อใดถือว่าดอกเบี้ย จ่ายเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิซึ่งก็จะแยกเป็น 3 กรณี คือ
- ระหว่างการได้ทรัพย์สิน ซึ่งทรัพย์สินนั้นอยู่ในระหว่างการผลิตหรือประกอบ
ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน ต้องนำไปคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเมื่อทรัพย์สินนั้นผลิตหรือประกอบ เสร็จสมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งาน
- เมื่อทรัพย์สินผลิตหรือประกอบเสร็จสมบูรณ์หรือพร้อมใช้งาน
ให้ถือเป็นดอกเบี้ยจ่ายหรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคล
- กรณีกู้ยืมเงินมาใช้หลายวัตถุประสงค์
จะต้องเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัดส่วนของการใช้เงินกู้ ซึ่งฝ่ายบัญชีจะต้องมีตารางควบคุมการใช้เงินกู้ของกิจการ เมื่อกู้เงินมาในแต่ละครั้งนำไปใช้ซื้อทรัพย์สินหรือจ่ายค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานทั่วไป เพื่อจะได้เฉลี่ยดอกเบี้ยเงินกู้ตามเงินกู้ที่นำไปใช้
จะเห็นได้ว่า การค้นคว้าหาความรู้ การหาประสบการณ์มีหลายวิธีด้วยกันที่นักบัญชีจะต้องค้นคว้าหรือตามหาวิธีการ ทำความรู้ความเข้าใจกับกฎหมายภาษีอากร หากสังเกตให้ดีจะพบว่าไม่ได้แตกต่างไปจากหลักการบัญชีในเรื่องของ “รายจ่ายที่มีลักษณะลงทุน (Capital Expenditure)” และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง “ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์” ที่เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันอันเป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางบัญชีและสอดคล้องกับ ประมวลรัษฎากร
- รายรับ เป็นฐานข้อมูลของเงินที่เข้ามา เงินทั้งหมดที่ได้รับเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นค่าต่าง ๆ ที่ได้ลงทุนเอาไว้ รวมไปถึงดอกเบี้ยจากการออมเงินก็เช่นกัน ถือว่าเป็นรายรับของเรา
- รายจ่าย คือ ข้อมูลของเงินที่เราจ่ายออกไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายออกไป ทั้งค่าขนม ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าบ้าน ค่ารถ เป็นต้น