ลงทุน ความเสี่ยงต่ำ 2024 แบบไหนดี ต้องเริ่มยังไงบ้าง
การลงทุน ถือเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินในระยะยาว โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ดีขึ้นมากนัก เพียงแค่เก็บออมเงินในบัญชีธนาคารอย่างเดียวคงไม่พออีกต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักลงทุนมองหาโอกาสลงทุนที่มั่นคง ควบคู่กับความเสี่ยงที่ต่ำ จากบริษัทหรือกองทุนที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ตนเองสามารถสร้างความมั่งคั่งให้แก่กองทุนในระยะยาว เพื่อให้คุณสามารถลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลงทุนด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ บทความนี้ขอเสนอแนวทาง ลงทุน ความเสี่ยงต่ำ 2024 แบบไหนดี ต้องเริ่มยังไงบ้าง เพื่อเป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้คุณสามารถวางแผนแนวทางการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
ลงทุน ความเสี่ยงต่ำ ปี 2024 มีอะไรบ้าง
สำหรับแนวทางการลงทุน 2024 จะมีปัจจัยสำคัญที่เป็นการกำหนดทิศทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงอัตราดอกเบี้ย โดยจะส่งผลต่อความผันผวนของตลาดและการขึ้นลงของกองทุน ซึ่งการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ 2024 ได้แก่
-
กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ประเภทต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ฯลฯ ซึ่งจะมีรายได้จากดอกเบี้ยเป็นหลักนักลงทุนถือ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทนี้จะได้ผลตอบแทนไม่สูงมากเท่ากองทุนรวมที่มุ่งลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน (Equity Fund) แต่ก็จะได้ผลตอบแทนที่แน่นอนกว่า
-
กองทุนเพื่อการออม SSF
SSF ย่อมาจากคำว่า “Super Savings Fund” เป็นกองทุนน้องใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้เมื่อต้นปี 2563 ซึ่งเน้นการออมระยะยาวและเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีที่มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562 ลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาทและเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
-
กองทุนเพื่อการออม RMF
สำหรับกองทุน RMF หลายคนน่าจะคุ้นเคยดีอยู่แล้ว โดย RMF ย่อมาจากคำว่า “Retirement Mutual Fund” เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ลักษณะจะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ โดยเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ก็มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีมากขึ้น
ซึ่งเราสามารถลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
-
กองทุนรวมไทย Thai ESG
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนที่เรียกว่า Thai ESG หรือ Thailand ESG Fund Thai ESG” ถือเป็นกองทุนลดหย่อนภาษีน้องใหม่ ที่ให้วงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มอีก 100,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระยะยาวในกิจการที่เน้นด้านความยั่งยืนของประเทศไทย
โดยกองทุน Thai ESG มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการออมเงินในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยมีนโยบายลงทุนในประเทศผ่านสินทรัพย์ เช่น หุ้นหรือตราสารหนี้ ที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือความยั่งยืน และต้องได้รับการรับรอง SET ESG Ratings ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่า 80% ของทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
-
กองทุนรวมดัชนีหุ้น
กองทุนรวมดัชนีหุ้น (Index Fund) เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสำนักงาน ก.ล.ต
โดยกองทุนรวมดัชนีหุ้น ถือเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนรวมทั่วไป เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด แบ่งเป็นการลงทุนหุ้นในประเทศ การลงทุนหุ้นต่างประเทศ การลงทุนหุ้น Sector และการลงทุนหุ้นดัชนี เป็น เหมาะสำหรับคนที่อยากลงทุนกับบริษัทใหญ่ หรืออยากลองจัดพอร์ตใหม่ในตลาดโลก
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มจัดพอร์ตลงทุน ปี 2024
- กระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท
- เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะกับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้
- เน้นการลงทุนระยะยาว เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนจากกองทุนระยะสั้น
- หมั่นติดตามข่าวสารเศรษฐกิจและการลงทุน
- ศึกษาข้อมูลของบริษัทและกองทุนที่สนใจ ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ประเมินความเสี่ยงในการลงทุนของตัวเอง
การลงทุนมีความเสี่ยง แม้จะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็มอบผลตอบแทน เราจึงควรศึกษาความเสี่ยงและติดตามแนวทางการลงทุน พร้อมวางแผนแนวทางการลงทุนอย่างรอบคอบ อย่าลงทุนในก้อนเดียว เพื่อกระจายความเสี่ยง และลดปัญหาขาดทุน หรือปัญหาทางการเงินจากการลงทุนได้