เป็นหรือเปล่าที่เวลาจะซื้อกองทุน LTF สักกอง ไม่รู้จะเลือกซื้อกองไหนดี ไม่รู้จะคิดหรือเปรียบเทียบยังไงดี …. ทำได้ก็แค่ซื้อตามเพื่อน…บทความนี้จะสอนการ วิเคราะห์กองทุน LTF แบบง่ายๆ ให้เราพอที่จะอ่านตัวเลขต่างๆ ของกองทุนได้ เพื่อที่อย่างน้อยก็พอจะมีหลักการกับคนอื่นเค้าบ้างในการเลือกซื้อกองทุน LTF สักกอง
โดยตัวอย่างนี้จะเลือกกองทุน LTF มาวิเคราะห์เปรียบเทียบจำนวน 3 กองทุน ของ 3 บลจ. ที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน คือ เป็นหุ้นระยะยาว จ่ายเงินปันผล และมีลักษณะการบริหารการลงทุนแบบ Active Management คือ จะต้องบริหารกองทุนให้มีผลตอบแทนสูงกว่า SET Index
และข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบก็มาจากหนังสือชี้ชวนฉบับส่วนสำคัญของกองทุนที่เปิดเผยทั้งใน Website ของ บลจ.เอง และที่ www.thaimutualfund.com โดยเป็นข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2558
ถ้าเราตั้งเป้าจะซื้อกองทุน LTF สัก 50,000 บาท เรามาดูกันดีกว่าว่ามี 3 กองทุนให้เลือก เราจะเลือกกองไหนกันดี
เริ่มที่มูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วยที่จะเป็นตัวบอกได้ว่าถ้าเราใช้เงินลงทุน 50,000 บาท เราจะได้จำนวนหน่วยทั้งหมดกี่หน่วย โดยจากตัวอย่างที่ยกมานั้น เราจะได้จำนวนหน่วยตามนี้
นั่นแสดงให้เห็นว่าด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน เราจะได้จำนวนหน่วยจากการซื้อกองทุน A มากที่สุด โดยทั้ง 3 กอง ไม่มีค่าธรรมเนียมในการซื้อหน่วยลงทุน จึงไม่ต้องเอามาคำนวณจำนวนหน่วย แต่ด้วยข้อมูลเท่านี้ยังไม่เพียงพอ เราจะต้องดูอย่างอื่นด้วย
-
ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน
ต่อมาเราจะต้องดูที่ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน ส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยค่าธรรมเนียมบริหารกองทุน ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ถ้าตามหนังสือชี้ชวนจะบอกในลักษณะอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บ แต่จะมีวงเล็บค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นในอดีตมาบอกให้เรารู้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งจากตัวอย่าง เราจะเห็นว่ากองทุน C เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่ำสุด คือ 1.24% เท่านั้นเอง แต่กองทุน A เป็นกองทุนที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพงสุด คือ 2.32%
-
ผลตอบแทนของกองทุน
จากนั้นเราก็มาดูผลตอบแทนของกองทุนกันบ้างว่าตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมานั้นกองทุนไหนมีผลตอบแทนดีที่สุด เราจะเห็นว่า
กองทุน A ตั้งมาเพียง 8 ปี มีผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันเท่ากับ 26.70% ซึ่งเฉลี่ยแล้วได้ประมาณ 0.33% ต่อปี แถมด้วยการบริหารกองทุนที่ทำให้มีผลตอบแทนสูงกว่า SET Index ถึง 14.47% กันเลยทีเดียว แสดงว่าฝีมือการบริหารกองทุนของ บลจ. กองทุน A ใช้ได้เลย เพราะในขณะที่กองทุน B กับ C ตั้งมาก่อนกองทุน A แต่กลับมีผลการดำเนินงานต่ำกว่า และให้ผลตอบแทนสูงกว่า SET Index เพียง 4-6% เท่านั้นเอง
-
การจ่ายเงินปันผล
สุดท้าย คือ การจ่ายเงินปันผล กองทุน A จัดตั้งมา 8 ปี จ่ายเงินปันผลไป 6 ครั้ง ดูเหมือนจะไม่ค่อยโอเคเท่าไร แต่ถ้าดูเงินปันผลที่จ่ายทั้งหมด คือ 6.1510 บาท เฉลี่ยแล้วเท่ากับปีละ 1 บาทกว่าๆ แต่กองทุน B และ C ที่ตั้งกองทุนมาได้ 11 ปี จ่ายเงินปันผลทุกปี แต่เงินปันผลที่จ่ายเฉลี่ยแล้วต่อปียังไม่ถึง 1 บาท เลย
เพราะฉะนั้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหลายกันเรียบร้อยแล้ว เราน่าจะเลือกลงทุนในกองทุน A มากที่สุด เพราะนอกจากจะมีราคาถูกที่สุดแล้ว ผลตอบแทนต่างๆ ก็ดูจะน่าสนใจกว่าอีกสองกองที่เหลือ ถึงแม้ว่ากอง A อาจจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพงกว่าก็ตาม
และจากข้อมูลที่ยกตัวอย่างมาให้ดูนั้นเป็นเพียงผลตอบแทนในอดีตที่เราใช้วิเคราะห์กันเท่านั้น ไม่ได้เป็นการบอกว่าอนาคตข้างหน้ากองทุนจะต้องให้ผลตอบแทนอย่างนี้ตลอดไป ดังนั้นก่อนที่เราจะลงทุนอะไรก็ตามก็ควรที่จะศึกษาให้เข้าใจอย่างดีที่สุดก่อนการลงทุน