ทั้งคู่ควรให้ความร่วมมือ และวางแผนอนาคตร่วมกันอย่างรอบคอบ ถือเป็นการเรียนรู้การเริ่มต้นชีวิตคู่โดยทางอ้อม ช่วยปูพื้นฐานทางการเงินที่ดี ถือเป็นเสาหลักที่แข็งแรงในอนาคตของครอบครัวคุณนั่นเอง
ก่อนอื่น ทั้งคู่ต้องเปิดใจคุยกันถึงสถานะทางการเงินของแต่ละคน เช่น ปัจจุบันมีทรัพย์สินอะไรบ้าง มีเงินออมในธนาคารเท่าไหร่ สินทรัพย์ต่างๆที่มีในครอบครอง และภาระหนี้สิน เหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่คู่ชีวิตควรรับรู้ หลังจากนั้นก็ช่วยกันวางแผนการออมเงินตามวิธีต่างๆดังต่อไปนี้
-
ค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน
ควรวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น โดยเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆลงไปทีละข้อ แล้วตั้งเป้าหมายเป็นยอดเงินที่ต้องใช้จ่าย ทั้งนี้ก็เพื่อวางแผนอย่างลงตัว ว่าต้องใช้จ่ายเท่าไหร่ อย่างไร และเป็นเป้าหมายให้เราได้เตรียมเก็บเงินก่อนวันนั้นจะมาถึงนั่นเอง ในส่วนของรายละเอียดต่างๆ เหล่านั้น อาทิ เช่น
- ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ:
เช่น การ์ดแต่งงาน, ค่าโทรศัพท์ ,ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งการ์ดไปรษณีย์, รูปถ่าย Pre-wedding, ของชำร่วย, ค่าทำอัลบั้ม ค่าอัดรูปขนาดใหญ่ติดหน้างาน ค่าจ้างทำ VDO presentation ทั้งหมดนี้ต้องระบุโดยละเอียด เพื่อที่ค่าใช้จ่ายจะได้ไม่บานปลายในช่วงเวลาที่งานใกล้เริ่มต้น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้นี่แหละ ที่ดูจะสุรุ่ยสุร่ายมากกว่าส่วนอื่นๆ ดังนั้นการจัดการกับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อย่างลงตัวจึงสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยล่ะ
- ค่าใช้จ่ายสำหรับพิธีงานหมั้น:
เช่นสถานที่จัดเลี้ยง,ค่าสินสอด,ค่าแหวนแต่งงาน, ค่าอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน, ของใช้ต่างๆในพิธี เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ฯ,ของรับไหว้ผู้ใหญ่ ,ค่าธรรมเนียมสำหรับผ่านประตูเงินประตูทอง, ซองปัจจัยถวายพระ, ของชำร่วย, ช่างภาพ ช่างวีดีโอ, ช่างแต่งหน้า ,ช่างทำผม, ค่าชุดแต่งงานสำหรับ บ่าว สาว และเครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายสำหรับงานเลี้ยง:
เช่น ค่าเช่าสถานที่จัดเลี้ยง ,อาหารสำหรับแขกเหรื่อภายในงาน , ดอกไม้จัดซุ้ม ,Backdrop, ช่างภาพ ช่างวีดีโอ ,ช่างแต่งหน้า, ช่างทำผม, ค่าชุดแต่งงานสำหรับ บ่าว สาว, และเครื่องประดับต่างๆ, ค่ารถ, ค่าห้องพักสำหรับเพื่อนและญาติ ๆ (กรณีแต่งงานต่างจังหวัด หรือ กรณีญาติและเพื่อนๆมาจากต่างจังหวัด) ,พิธีกรภายในงาน, ค่าจ้างวงดนตรี ,และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สำหรับงานเลี้ยง เช่น ค่าเค้กแต่งงาน, ค่าวัสดุตกแต่งเพิ่มเติม, ค่าสมุดลงชื่ออวยพร เป็นต้น
- Honeymoon trip :
ประเมินค่าใช้จ่ายตามสถานที่ ที่ต้องการไปฮันนีมูน และค่าใช้จ่ายอื่นๆระหว่างทริป
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆยามฉุกเฉิน
โดยสำรองล่วงหน้าไว้ประมาณ 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อหากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินขึ้นมาจะได้บริหารได้ทันและไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้นันเอง
อ่านเพิ่มเติม >> วางแผนแต่งงาน จัดงานแต่งยังไงให้ประหยัดงบ <<
-
ค่าใช้จ่ายหลังแต่งงาน
เช่น ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ค่าอาหาร และอื่นๆอีกมากมาย ควรตกลงกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน ว่าแต่ละคนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านใดบ้าง ส่วนไหนควรมีความรับผิดชอบร่วมกัน เก็บเงินอย่างไร ในรูปแบบไหน จะรวมเป็นบัญชีเดียวกัน หรือ เก็บแยกคนละบัญชี แต่นำมาช่วยเหลือกันได้ในยามขัดสน แล้วเปิดร่วมกันอีกบัญชีหนึ่งแยกไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ทั้งหมดนี้ควรตกลงกันให้เรียบร้อย ว่าใครจะมีบทบาทหน้าที่ด้านใดบ้าง เป็นต้น ซึ่งหากตกลงกันตั้งแต่เนิ่นๆ ปัญหาครอบครัวหลังแต่งงานก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แถมยังช่วยให้คุณเก็บออมเงินและบริหารค่าใช้จ่ายในบ้านได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
-
วางแผนครอบครัว
อย่าลืมที่จะวางแผนครอบครัวให้เรียบร้อย รวมไปถึงทุกๆเรื่อง เช่น การมีบุตร ต้องการมีบุตรกี่คน และจะรับภาระค่าใช้จ่ายไหวหรือไม่ อย่างไร ,โรงเรียนของลูกในอนาคต และค่าใช้จ่ายในการศึกษา ,เงินประกันชีวิตสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ,เงินออมเพื่ออนาคตของบุตร,เงินเก็บสำรองส่วนบุคคล,และเงินออมสำหรับช่วงเกษียณอายุ เป็นต้น ดังนั้นอย่าลืมที่จะวางแผนครอบครัวให้เรียบร้อยกันด้วยนะ หรือสำหรับใครที่คิดจะมีลูกในอนาคต ก็อย่าลืมวางแผนจัดการการเงินสำหรับมีเจ้าตัวน้อยกันด้วยนะ
-
วางแผนการออมและการลงทุน
หลังจากที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วในช่วงการวางแผนครอบครัว อันดับต่อมาคือการวางแผนการออมและการลงทุน ควรตกลงกันให้ชัดเจนว่าจะออมในรูปแบบไหน อาทิ เช่น การออมในรูปแบบเงินประกันชีวิต,การออมในหุ้น และการลงทุนรูปแบบต่างๆ,หรือการออมในบัญชีธนาคารปกติ จะออมแยกตัวบุคคล หรือรวมบัญชีก็ตามแต่จะตกลงกัน แต่ทั้งนี้เมื่อคิดจะลงทุนอะไรสักอย่าง ก็อย่าลืมมองดูที่ฐานะทางครอบครัว และเลือกการลงทุนที่ตัวเองมีความถนัดด้วยล่ะ เพื่อป้องกันการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ถือเป็นแนวทางหลักๆที่ยกมาแนะนำอย่างคร่าวๆ เพื่อเป็นไกด์ไลน์นำทางสำหรับคู่รักที่เพิ่งเริ่มต้น อย่าลืมว่าพื้นฐานทางการเงินถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่สุดสำหรับการสร้างครอบครัว มีหลายครอบครัวที่ล่มสลายเพราะเกิดความผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้น หากคุณต้องการมีชีวิตคู่ที่ยืนยาวและราบรื่นไปตลอด ก็ต้องเริ่มต้นเสียตั้งแต่ก่อนแต่งงานตามข้อแนะนำดังกล่าวขั้นต้น เพราะชีวิตการแต่งงาน มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด ดังนั้นอย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อชีวิตคู่ที่สุขสบายและมีความสุขกันด้วยนะ สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวางแผนอย่างไร ก็มาเริ่มไปพร้อมกับเรากันเลย