การวางแผนและกำหนดเป้าหมายทางการเงิน เป็นวิธีการ บริหารเงิน ที่เริ่มด้วยการออมเงินที่เป็นรากฐาน นำมาซึ่งเงินต้นและดอกเบี้ยที่มีพลังมากพอที่จะเป็นเงินไว้ใช้สำหรับลงทุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใน พันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีความมั่งคง ร่ำรวยตามมา แต่ต้องศึกษาการลงทุนในแบบต่างๆ ให้พร้อม โดยต้องหาความรู้ข่าวสารต่างๆ แนวโน้นของเศรษฐกิจโลกโดยรวม เศรษฐกิจของประเทศไทยเรา สถานการณ์การเมืองภายในและภายนอกที่จะมีผลต่อการลงทุนของเรา รวมถึงการที่จะต้องทำบัญชีควบคุมรายรับรายจ่ายให้รัดกุม เพราะจ่ายเพื่อให้การออมมีประสิทธิภาพ และนำที่ออมแบ่งไว้ใช้ในการลงทุนต่อไป เงินต่างๆ ที่จะเป็นส่วนของการบริหารเงินแบ่งได้ดังนี้
1. เงินรายได้
แต่ละคนมีคนแตกต่างๆ กันไป คนมีรายได้มาก รายได้ปานกลาง รายได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่รายได้สูง หรือลูกจ้างกินเงินเดือนแต่ละเดือน ก็ตามตั้งเป้าหมายในอนาคตว่าตอนเรามีอายุมาก ในวัยชราภาพแล้วทำงานไม่ได้แล้ว ก็ให้เงินทำงานแทนคือการลงทุนโดยไม่ต้องทำงาน ให้มีค่าตอบแทนมากพอกับค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนได้ และจะมีเงินสำรองไว้ โดยแบ่งเป็นเงินทุนการศึกษาของบุตร เงินเก็บไว้ในธนาคาร กองทุนรวมต่างๆ ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ซึ่งหากทำได้ดังนั้น นอกจากคุณจะมีเงินเก็บออม มีเงินใช้ตลอดเดือนแล้ว อนาคตคุณยังอาจจะร่ำรวยได้อีกด้วย
2. เงินออมจากรายได้
ที่เราได้จากการทำงานต่างๆ สะสมไว้ให้มากที่สุด ในตอนที่เรายังมีพละกำลังในวัยหนุ่มสาว สุขภาพก็ยังดีพยายามทำงานหาเงินไปให้มากที่สุด เพราะถ้าแก่ตัวไปอายุมาก ยังเก็บเงินไม่ได้เลย หรือได้น้อยก็อาจเป็นปัญหาได้ นั้นดังจึงควรหาเงินเมื่อตอนอายุยังน้อย ตอนที่เรียนจนมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ยังฟิดทั้งสมองและร่างกาย เมื่อหามาได้แล้วก็นำเงินมาออมไว้ในธนาคารโดยฝากประจำ ดอกเบี้ยจะสูงดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น มีพลังมากทำให้เงินเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆ แบบทวีคูณไม่มีจำกัด แต่เราต้องศึกษาหาความรู้เรื่องดอกเบี้ยกับอัตราเงินเฟ้อให้ดีพอ เพราะถ้าอัตราเงินมีมากว่าดอกเบี้ย ถ้านานหลายปีเข้าเงินเราจะใช้ได้น้อยกับการใช้จ่าย แต่อัตราดอกเบี้ยมีมากกว่าอัตราเงินเฟ้อก็ไม่เป็นไร ฝากธนาคารไว้ปลอดภัยดีที่สุด
3.รายจ่ายประจำเดือน
มีหลายประเภทด้วยกัน ประเภทแรกเป็นรายจ่ายที่แน่นอนทุกเดือน เช่นค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเงินการศึกษาบุตร จะมีความแน่นอนตายตัว สามารถควบคุมได้ว่ามีรายจ่ายอยู่เท่าใดในเดือนหนึ่ง โดยไม่ต้องกังวลมากนัก ถ้าเรายังทำงานมีเงินเดือนหรือที่เรียกว่ามนุษย์เงินเดือน เว้นแต่เจ้าของกิจการเองรายได้อาจไม่คงที่เป็นไปตามการค้าขายที่บางช่วงก็ดีบางช่วงก็ไม่ได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ประเภทที่สองค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน ค่ารักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เราคาดไม่ถึง เพราะคนเราอาจเจ็บป่วยได้ หรือถ้าร้ายหนักกว่านี้ก็เป็นอุติเหตุที่เราไม่รู้ได้ในวันใดวันหนึ่ง เราก็ควรทำประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุไว้ด้วย ค่าทานเลี้ยงงานต่างๆ ค่าไปเที่ยวพักผ่อน ก็ให้มีได้พอประมาณตามสังคม
4.เงินที่จะนำไปลงทุน
มีให้เลือกลงทุนมีหลายแบบที่เราจะเลือกต้องความถนัดของเรา และเป็นแบบที่ได้ผลตอบแทนที่ดี แล้วให้เรานำเงินบางส่วนที่สามารถนำมาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยเงินที่มาลงทุนจำนวนนี้ลงเสียหายก็ยังมีเงินเหลืออยู่มากพอที่จะใช้จ่ายในการดำรงชีวิตได้ ซึ่งเงินที่จะนำมาลงทุนนั้นเราต้องเลือกลงทุนในแบบที่มีความเสี่ยงไม่มากแต่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากที่ธนาคาร เช่น พันธบัตร กองทุนรวมต่างๆ แต่ถ้ามีความเสี่ยงมากขึ้นอีกก็อาจจะลงทุนในหุ้นที่ได้เงินปันผลตอบแทนมากกว่า หรือจะนำไปทุนในที่ดินซึ่งมีความเสี่ยงน้อยมาก แต่ให้ผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งก็ปลอดภัยดี เอาเป็นว่าเราขอแนะนำให้เลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณที่สุด และคุณสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงต่อการขาดทุนมากนัก โดยเฉพาะการลงทุนที่คุณพอจะมีพื้นฐานและความถนัดอยู่แล้ว ซึ่งหากทำได้ดังนี้ คุณจะประสบความสำเร็จทั้งการลงทุนและการประสบความสำเร็จในชีวิตกันเลยทีเดียว
ทั้ง 4 ข้อเป็นการบริหารเงินที่จะทำให้เรามีเงินร่ำรวยมากขึ้น การที่จะทำให้สำเร็จได้นั้นต้องมี วินัยการใช้เงินที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นหัวใจหลักที่จะขาดไม่ได้เลย การมีวินัยจะนำพาท่านให้ไปถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ในการวางแผนบริหารการใช้เงินของท่านได้ดีไม่มีสะดุด และจะประสบความสำเร็จโดยรวดเร็วที่สุด ถ้าท่านรักษาวินัยให้เป็นไปตามแผน เพราะฉะนั้น ใครที่อยากรวยแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ลองตั้งสติ แล้วหันมาบริหารจัดการรายได้ของคุณเสียใหม่ ด้วยวิธีการเหล่านี้ดูสิ แล้วคุณจะมีอนาคตที่สดใสและเป็นดั่งฝันที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่าการเพิ่มกำไรด้วยการลงทุนนั้นมักจะมีความเสี่ยงเสมอ และอาจทำให้คนรวยกลายเป็นคนล้มละลายได้ภายในพริบตา ดังนั้นหากคุณต้องการก้าวสู่ความรวยด้วยการลงทุน ก็ควรเลือกการลงทุนที่คุณถนัดที่สุด และต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงอยู่เสมอด้วย