จากสภาวะความเดือดร้อนจากโรคระบาด COVID-19 ส่งผลให้การใช้จับจ่ายซื้อสินค้าเกษตรลดลงอย่างมากทั้งผู้บริโภคทั่วไปและองค์กรโรงแรม โรงเรียนปิดตัวในช่วงนี้ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก มีผลผลิตทางการเกษตร อาทิเช่น ผัก ผลไม้ นมวัวข้าวสาร ไข่ไก่ ฯลฯ ล้นตลาดจนไม่สามารถขายสินค้าได้ ในวันนี้เกษตรกรเตรียมเฮได้รับเงินจากโครงการช่วยเหลือเงินเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร รับ เงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการโอนเงินให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
สืบเนื่องจากความคืบหน้าเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563 ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรกลุ่มที่ 1 – 2 แล้ว 7,103,721 ราย รวมเป็นเงิน 35,518 ล้านบาท ขณะที่ เกษตรกรกลุ่มที่ 3 หรือ เกษตรกรกลุ่มผู้ที่ยังอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน จะได้รับเงินครั้งเดียว 15,000 บาท ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2563
อย่าลืม! เช็กสิทธิ ‘เงินเยียวยาเกษตรกร’ 15,000 บาท จะได้เมื่อไหร่ ?
สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องเลขบัญชีธนาคาร หรือไม่ได้แจ้งหมายเลขธนาคารมาเพื่อรับเงินเยียวยา หลังจากผ่านการตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกรในสัปดาห์ที่แล้วจำนวน 356,080 ราย จากการที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา และหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศเร่งประชาสัมพันธ์และไปหาเกษตรกรถึงบ้าน ทำให้ได้บัญชีธนาคารมาแล้ว คงเหลืออยู่ระหว่างติดตาม 62,714 ราย
ทั้งนี้ หลังจากตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกรพบว่า หมายเลขบัญชีของเกษตรกรรับเงินเยียวยา 5,000 ที่ได้เพิ่มมา293,366 ราย ส่วนใหญ่เป็นบัญชีต่างธนาคาร ซึ่ง ธ.ก.ส.จะส่งชื่อและหมายเลขบัญชีให้ธนาคารนั้น ๆ ตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้น ธ.ก.ส.จะโอนให้วันที่ 8 มิถุนายน 2563 ต่อไป
เกษตรกร สามารถติดตามผลอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร ได้ที่ www.moac.go.th และ www.อุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร.com
ทั้งนี้ การแจ้งอุทธรณ์ หากเรื่องใดหน่วยงานในส่วนภูมิภาคพิจารณาและสรุปผลได้จะดำเนินการทันที แต่หากนอกเหนืออำนาจต้องเร่งส่งมายังคณะกรรมการฯระดับกระทรวง โดยปลัดกระทรวงเกษตรฯ จะประชุมคณะกรรมการครั้งแรกวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ด้วยเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม นอกจากเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว เกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร จาก ธ.ก.ส. และอุทธรณ์เพิ่มอีกช่องทางหนึ่งก็คือ แอพพลิเคชั่น เกษตรดิจิทัล หรือ Digtial Farmer ซึ่งมีรองรับทั้งระบบ IOS และระบบ Android
ดังนั้นเกษตรกรทุกท่านขอให้รีบตรวจสอบสิทธิ และทำตามขั้นตอน เพื่อให้ได้รับเงินเยียวยา จะได้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบให้มากขึ้น และต่อทุนในการทำมาหากินสร้างผลผลิตและรายได้เข้าสู่ครอบครัวต่อไป
จากสถานการณ์ที่ผู้บริโภคไม่กล้าออกไปนอกบ้าน ผู้บริโภคหลายคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาซื้ออาหารกระป๋อง หรือวัตถุดิบที่เก็บไว้ได้นานเพื่อประกอบอาหารที่บ้าน มีการงดการเดินทางเข้าจากต่างประเทศทำให้โรงแรมหลายแห่งปิดตัวซึ่งส่งผลกระทบถึงโรงครัวไปด้วย ซึ่งรวมถึงโรงเรียนที่ไม่ได้ซื้อวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ข้าว เหตุผลเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้มีสินค้าทางการเกษตรที่ล้นตลาด เกษตรกรไม่สามารถขายสินค้าได้ จึงทำให้ขาดรายได้อย่างมากในช่วงที่มีโรคระบาดแบบนี้
โรคระบาด COVID-19 นี้จึงเป็นบทเรียนให้หลาย ๆ อาชีพ ต้องหันมาปรับตัว ให้ทันกับยุคสมัย ยกตัวอย่างเช่นเกษตรกร อาจจะต้องเรียนรู้การแปรรูปสินค้าทำให้สินค้าเก็บได้นานขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคเก็บไว้กินที่บ้านได้นานขึ้น อาทิเช่น ปลาสลิดแดดเดียว ผักกาดดอง ข้าวตังหมูหยอง น้ำมังคุด น้ำลำไย มัฟฟินมะพร้าวอ่อน ฯลฯ เราได้เรียนรู้อีกว่าในช่วงที่ไม่ได้ออกไปจากบ้านนาน ๆ หรือ เราควรจะมีอาชีพเสริม (ไม่ควรมีรายได้จากอาชีพเพียง 1 อย่าง) เพราะมีความเสี่ยงที่จะล้มได้ถ้าอาชีพได้เกิดผลกระทบและทำให้เราขาดรายได้เข้าบ้านเพื่อเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวสร้างความมั่นคงต่อไป