วางแผนการเงิน 2568 ยังไง ให้มีเงินเก็บ
เมื่อเข้าสู่ปีใหม่หลายคนก็ถือโอกาสตั้งเป้าหมายในปีกันใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเงิน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการวางแผนเพื่อความมั่นคงในอนาคต ในวันนี้เรามาแนะนำว่า วางแผนการเงิน 2568 ยังไง ให้มีเงินเก็บ ฉบับมนุษย์เงินเดือน ให้ปลายปีเรามีเงินก้อน หากพร้อมแล้วไปดูกันได้เลย
วางแผนการเงิน 2568 ยังไงดี
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
เป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้มีแรงจูงใจ เช่น
-
- เก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้ได้ 6 เท่าของรายจ่ายรายเดือน
- เก็บเงินดาวน์บ้าน หรือรถ
- วางแผนเกษียณอายุ หรือออมเงินสำหรับทริปในฝัน
ทำบัญชีประมาณรายรับ-รายจ่าย
การจัดงบประมาณช่วยให้คุณรู้ว่ารายจ่ายส่วนใดเกินความจำเป็น และช่วยวางแผนการออมได้ดีขึ้น เช่น
-
- แบ่งงบประมาณตามกฎ 50/30/20
- 50% ใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าน้ำ ไฟ ค่าอาหาร
- 30% ใช้จ่ายตามใจ เช่น ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว
- 20% เก็บออม และลงทุน
- แบ่งงบประมาณตามกฎ 50/30/20
ซึ่งตัวเลือกสามารถปรับได้ตามสถานภาพทางการเงินแต่ละคน เช่น 40-50-10 หรือ 60-30-10
เริ่มต้นออมเงินอย่างสม่ำเสมอ
ควรเริ่มการออมเงินให้เป็นนิสัยตั้งแต่ต้นปี ยกตัวอย่าง
-
- เปิดบัญชีออมทรัพย์แยกต่างหาก สำหรับเงินเก็บโดยเฉพาะ
- เก็บก่อนใช้: หักเงินออม 10-20% ทันทีที่ได้รับรายได้
- ออมแบบอัตโนมัติ: ตั้งโอนเงินเข้าบัญชีฝากประจำ หรือลงทุนรายเดือน
มองหาโอกาสในการลงทุน
การฝากเงินในธนาคารช่วยออมเงินก็จริง แต่การลงทุนจะช่วยให้เงินออมงอกเงยได้มากกว่าเดิม ซึ่งก็ต้องลองศึกษาการลงทุนแต่ละแบบว่าแบบไปนตอบโจทย์เราที่สุด เช่น
-
- กองทุนรวม: สำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง
- หุ้น: สำหรับผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงได้และมองหาผลตอบแทนสูง
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์: เพื่อป้องกันความเสี่ยง และออมเงินระยะยาว
วางแผนลดภาระหนี้สิน
สำหรับใครที่ยังมีภาระหนี้สิน ก็ควรวางแผนจัดการเพื่อลดภาระ และปลดหนี้ให้เร็วที่สุด
-
- ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น บัตรเครดิต
- รวมภาระหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อให้ดอกเบี้ยลดลง
- หลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ใหม่
เพิ่มวินัยในการใช้จ่าย
การใช้จ่ายอย่างมีวินัย และมีสติอยู่เสมอถือเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจในประเทศยังคงทรงตัว
-
- เปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนซื้อ
- ใช้สิทธิพิเศษหรือโปรโมชั่น เช่น เครดิตเงินคืน หรือส่วนลดต่างๆ
- หลีกเลี่ยงการซื้อของตามอารมณ์
ตรวจสุขภาพการเงินเป็นระยะ
การหมั่นตรวจสอบสุขภาพทางการเงินจะช่วยให้รู้ได้ว่ากำลังเดินตามแผนอยู่ หรือจะหลุดเป้าหมายที่ตั้งไว้
-
- เช็กยอดเงินออม และหนี้สินทุก 3 เดือน
- ประเมินการลงทุน และปรับพอร์ตให้เหมาะสมตามเป้าหมาย
ที่จริงแล้วเราควรเริ่มวางแผนการเงินให้เร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงปีใหม่ ใครที่เริ่มก่อน ก็มีโอกาสที่จะพบกับอิสระทางการเงินได้เร็วกว่า แต่ทั้งนี้เริ่มช้า ก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเลย ใครที่กำลังวางแผนอยู่ เราก็ขอให้กำลังใจ และอย่าลืมตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน มีวินัย เพื่อให้เป็นปีที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน พร้อมปูทางไปสู่อนาคตที่มั่นคงกว่าดิม