การผันผวนของตลาดการเงินและการลงทุนที่เพิ่มความรุนแรงนั้น มีสัญญาณมาตั้งแต่ต้นปี 2559 ทำให้เกิดเป็นความกังวลต่อการภาคการลงทุนในนักธุรกิจ แต่ก็ยังโชคดีที่ตลาดทุนไทยยังมีโอกาสในการขยับขยายอยู่บ้างและโดนผลกระทบมาเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นประเทศเกิดใหม่ในด้านเศรษฐกิจ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีนี้ความผันผวนก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และคงจะไม่จากไปอย่างง่าย ๆ แน่นอน จึงต้องเริ่มที่จะมีการทบทวนสถานการณ์กันเป็นระยะ พร้อมตามดูที่ปัจจัยเสี่ยง ๆ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราของทุกสกุลก็เริ่มที่จะเกิดการผันผวนที่สูง มีค่าดัชนีความกลัวการจับจ่ายใช้สอยที่ปรับค่าสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะของประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย จนอาจจะทำให้เหล่านักลงทุนเกิดความกังวลใจต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ถือว่ามีความเปราะบาง จึงต้องมีการติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะในข่าวของข้อข้อมูลที่ต่างไปจากตลาดที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็เกิดมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ด้วยข้อมูลอ้างอิงจากสุนทรพจน์ของ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องของแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ของเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา(http://thaipublica.org/2016/02/veerathai-bot-11-2-2559/) ที่มีการกล่าวถึงความผันผวนทางตลาดเงินและตลาดทุนภายในประเทศที่น่าสนใจ คือ
-
ความกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจของทางประเทศจีน
ที่ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลและต้องติดตาม เพราะเหล่านักลงทุนก็ยังคงมีความกังวลในเรื่องนี้ค่อนข้างสูง เพราะด้วยการปรับเปลี่ยนในเรื่องข้อกำหนดต่าง ๆ และมาตรการใหม่ที่จีนนำออกมาใช้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง แต่กลับไปส่งผลกระทบต่อนักลงทุน เกิดเป็นการปรับลดค่าเงินและกลายเป็นช่องว่างทางค่าเงิน และในเรื่องของตลาดทุนจีนในการซื้อขายหลักทรัพย์ก็มีการปรับเปลี่ยนจนทำให้ดอกเบี้ยลดลงไปถึง 30% จนทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงไปด้วย ซึ่งความผันผวนนี้ก็ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากการปรับนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ และรวมไปถึงเรื่องของภาคการส่งออกที่ชะลอตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต่างก็เป็นผลกระทบต่อตัวจีนเองและทั้งภูมิภาคเอเชียอีกด้วย
-
ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน
อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมลดลงต่ำมาก ราคาน้ำมันในปีที่ผ่านมามีราคาที่ต่ำลงมาก รวมไปถึงการชะลอตัวของอุปสงค์จากจีนและประเทศในเศรษฐกิจเกิดใหม่ในฐานะผู้บริโภคสินค้าโคภัณฑ์และน้ำมัน การที่ราคาสินค้าเกษตรกรรมลดลงตามไปด้วย ย่อมมีการส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และกระแสของเงินสดในผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นคือ ผลกระทบต่อการจ้างงานและในการลงทุนระยะยาวต่อไป รวมไปถึงผลกระทบต่อภาคของการเงินจากความเสี่ยงด้านของการผิดนัดชำระหนี้ของตัวผู้ประกอบการ
-
อัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันของแต่ละประเทศ
ที่ทำให้เกิดเป็นความต่างทางด้านการเงินและการลงทุนไปด้วย โดยที่เศรษฐกิจของทางสหรัฐอเมริกาที่มีการฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น เป็นผลให้ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่าเฟด (FED) มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทันที ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีเมื่อเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว ทางเฟดเองก็ยังมีการผ่อนคลายการขึ้นดอกเบี้ยออกไป เพราะเศรษฐกิจของทางสหรัฐฯในตอนนั้นก็ยังไม่ดีขึ้น ส่วนทางญี่ปุ่นกับจีนก็กลับผ่อนคลายนโยบายการเงินออกมาเรื่อย ๆ ในช่วงปีที่แล้ว เรียกได้ว่าตลาดการเงินและการลงทุนนั้นจะมีความผันผวนในอีกมุมหนึ่งก็มาจากการที่ขั้วอำนาจสำคัญทางเศรษฐกิจของโลกนั้น ทำให้กระแสเงินทุนโลกอ่อนไหวไปด้วย ในส่วนสภาพคล่องทางการเงินโลกก็ยังผันผวนไปด้วยส่วนเกินในระบบจนทำให้มีความรุนแรงไปตามข่าวที่ออกมา
สถานการณ์ของค่าเงินในปัจจุบัน โดยอ้างอิงจากข้อมูลของธนาคารกสิกรไทย 16 พ.ค. 59 นั้น ค่าเงิน EUR/USD คือ 1.137 เป็นการลดตัวลงแต่ไม่ได้ผันผวนเกินความคาดหมายนัก ซึ่งน่าจะมีผลมาจากเหตุการณ์คงระดับดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำของเฟด โดยมีผลให้ค่าเงินดอลล่าร์ USD แข็งค่าขึ้น ในขณะที่ค่าเงินบาทของไทยยังคงปรับขึ้น 0.15% เป็นอัตรา 35.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นไปในทิศทางที่อ่อนตัว เหมือน ๆ กับสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ คือ ดอลล่าร์สิงคโปร์ เงินหยวนและเงินวอน
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศยังมีแนวโน้มติดลบ โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากราคาน้ำมันที่มีการลดลง แต่ทำให้อัตราเงินเฟ้อที่เป็นระบบพื้นฐานก็ยิ่งบวกสูงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่การติดลบของเงินเฟ้อในขั้นต้นนั้นก็ยังไม่ถึงขั้นว่าเงินฝืดเสียทีเดียว ยังคงมีทิศทางที่พอจะผ่อนปรนไปได้บ้าง นักลงทุนจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องความกดดันจากเงินเฟ้อมากเกินไป เพราะในด้านของการเงินและการธนาคารภายในประเทศก็ยังถือว่ามีความแข็งแกร่งและมั่นคงมากพอสมควร ทั้งยังคงมีนโยบายในการผ่อนปรนหนี้เสียของภาคครัวเรือน และภาคการเกษตร เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการผ่อนปรนการชำระหนี้ออกไป เพราะในเรื่องหนี้ทั้งสองประเภทนี้ยังคงมีความเปราะบางอยู่มาก ซึ่งยังคงต้องหาทางแก้ร่วมกันของรัฐบาลและสถาบันการเงินกันต่อไป