สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน การใช้จ่ายในแต่ละครั้งอาจต้องคิดแล้วคิดอีก ก่อนที่จะใช้จ่ายเงินที่ได้มา แต่หากบางคนไม่คิดเช่นนั้น เมื่อได้รับเงินมาก็เริ่มใช้จ่ายตั้งแต่ต้นเดือน โดยไม่มีการคิดคำนวณและวางแผนใด ๆ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาเงินไม่พอใช้จ่ายถึงปลายเดือน ทำให้ต้องดิ้นรนหากกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในช่วงที่เงินขาดมือ (ขาดสภาพคล่องทางการเงิน) แต่ยังไม่ถึงสิ้นเดือน ในวันนี้ เรามีเทคนิคการบริหารเงินเดือนมาฝากค่ะ รายละเอียดตามนี้
เทคนิคการบริหารเงินต่อเดือน
ก่อนอื่น ต้องขอบอกไว้เลยว่า สำหรับผู้ที่มีเงินเดือนน้อย ได้รับเป็นรายเดือนคุณจำเป็นต้องมีวินัยและกฎให้กับตนเองเสียก่อน ว่าจะต้องไม่เป็นหนี้ เพื่อให้คุณใช้จ่ายแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น เงินของคุณถึงจะอยู่ได้จนถึงสิ้นเดือน สำหรับวิธีการบริหารเงินที่ดี มีดังนี้
- การออมเงิน
การออมเงินนั้นคุณสามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการออมด้วยตัวเอง และทางบริษัทเป็นผู้ออมเงินให้ คุณคงสงสัยว่าบริษัทจะออมเงินให้เราอย่างเรา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละที่ด้วย การออมเงินทางบริษัท ก็คือ การที่บริษัทหักเงินเดือนส่วนหนึ่งของเราเข้าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากคุณต้องการออมเงิน ทางนี้คุณก็เลือกให้ทางบริษัทหักสูงสุด อาจจะ 3% หรือ 5% ซึ่งทางบริษัทก็ต้องจ่ายเงินสมทบให้คุณเพิ่มอีกเท่าตัว
อย่างเช่น คุณได้รับเงิน 15,000 หักเงินสำรองเลี้ยงชีพประกันสังคม 3% คุณมีเงินออม 450 บาท และทางบริษัทก็สมทบให้คุณเพิ่มอีก 450 บาท และหากคุณได้หักเงินสำรองเลี้ยงชีพ 5% คุณก็จะมีเงินออม 750 บาทต่อเดือน ซึ่งทางบริษัทเองก็จ่ายให้คุณเพิ่มอีก 750 บาทต่อเดือนด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ก็ถือเป็นการออมเงินอีกแบบหนึ่ง
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินด้วยตัวเอง เมื่อเงินเดือนออกมาทุกครั้ง คุณจะต้องเก็บออมทันทีเพื่อป้องกันการใช้จ่ายเงินที่คุณต้องการออมในแต่ละเดือน แต่เราขอแนะนำให้คุณเลือกการฝากประจำจะดีกว่า ให้คุณการเลือกฝากประจำเท่า ๆ กันทุกเดือน วิธีนี้ นอกจากคุณจะสามารถออมเงินได้แล้วคุณยังได้รับดอกเบี้ยเพิ่มอีกด้วย เงินออมของคุณก็สามารถเพิ่มขึ้นได้ในทุกเดือนเช่นเดียวกัน สำหรับการลงทุนในช่วงแรก ๆ ของการรับเงินเดือนเราไม่ขอแนะนำให้คุณลงทุน เนื่องจากเงินออมของคุณยังมีจำนวนน้อยอยู่ แต่หากคุณมีเงินออมจำนวนหนึ่งคุณก็สามารถเลือกลงทุนเพื่อ เพิ่มจำนวนเงินให้มากขึ้นได้เช่นเดียวกัน
- การบริหารค่าใช้จ่าย
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ก็มีความแตกต่างกันบางคนอาจจะมีบ้านอยู่ในจังหวัดเดียวกับที่ทำงาน ทำให้ไม่ต้องไปเช่าห้องหรือที่พักอาศัยอยู่ ซึ่งก็สามารถประหยัดเงินจำนวนนั้นได้มาก แต่หากผู้ที่ต้องทำงานที่ไกลจากบ้าน จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่น ค่าหอ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าอาหาร ที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในแต่ละวัน หากคุณมีเงินเดือนที่น้อย แต่มีการใช้จ่ายที่มากอาจจะทำให้เกิดเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือนได้ หากคุณรู้จักการบริหารค่าใช้จ่ายให้มีความคงที่ ไม่เกินจำนวนที่คุณกำหนดไว้ในแต่ละวัน เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอในแต่ละเดือนแล้ว การบริหารค่าใช้จ่ายคุณก็ควรเริ่มจากการแยก ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และไม่จำเป็นออกเสียก่อน เพื่อให้คุณสามารถเลือกลดค่าใช้จ่ายในส่วนใดได้บ้างในแต่ละเดือน เพื่อเป็นการประหยัดเงินที่ได้มาไปในตัวด้วย
หลายคนคงยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจำเป็นและไม่จำเป็น เราขออธิบายอย่างง่าย ๆ เพื่อให้คุณเข้าใจได้เร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก็คือ ค่าห้องพัก ค่าอาหาร และค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งหากเดือนใดคุณไม่มีจ่าย คุณก็ไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ก็คือค่าโทรศัพท์ ค่าช้อปปิ้ง และการซื้อของที่มีราคาแพง รวมถึงการท่องเที่ยวยามค่ำคืน ทั้งนี้หากคุณสามารถบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละวันได้อย่างลงตัวได้ คุณอาจจะมีเงินเหลือตอนสิ้นเดือน และเงินจำนวนนี้คุณก็สามารถนำไปเที่ยว ช้อป ได้อย่างที่คุณต้องการ เพราะว่าวันพรุ่งนี้คุณก็จะได้รับเงินเดือน
หากคุณสามารถทำได้อย่างนี้ ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เชื่อได้เลยค่ะว่า คุณจะไม่พบปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ในแต่ละเดือนอย่างแน่นอน หากคุณยังไม่เห็นภาพ เราของสรุปผ่านตารางเพื่อให้คุณสามารถเข้าใจได้ง่าย