นอกจากความสำเร็จในหน้าที่การทำงานแล้ว ความมั่นคงทางการเงินก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน หากครอบครัวใดมีฐานะทางการเงินมั่นคง ครอบครัวนั้นต้องพบแต่ความสุขแน่นอน ปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่ไม่พ้นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เพราะว่าเงินในปัจจุบันถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ค่าอาหาร ค่ายานพหนะ ฯลฯ อย่างไรก็ดี เงินก็ไม่ใช้ทุกอย่างของชีวิต แต่ชีวิตก็ขาดเงินไม่ได้เช่นกัน
การบริหารเงินภายในครอบครัวจะดีได้ต้องร่วมด้วยช่วยกันของทุกคนในครอบครัว เพื่อให้สามารถก้าวผ่านปัญหาและพร้อมรับมือกับปัญหาได้อย่างเต็มที่ ครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ ส่วนมากจะมีสมาชิกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เชื่อหรือไม่ว่ายิ่งมีสมาชิกภายในครอบครัวมาก ก็ยิ่งจะพบกับปัญหาทางการเงินในครอบครัวมากขึ้นตามไปด้วย ในกรณีที่ครอบครัวมีสมาชิกมาก ก็ไม่ได้แปลว่าต้องมีรายได้เพิ่มเข้ามามาก แต่หากกลับมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นแทน
ยกตัวอย่างเช่น ครอบครัวหนึ่ง มีสมาชิกอยู่ด้วยกัน 3 คน มีพ่อ แม่ และลูก รายได้ที่เข้ามาใช้จ่ายภายในครอบครัว มาจากพ่อเพียงคนเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้จนกลายเป็นปัญหาการเงินภายในครอบครัว แต่หากเมื่อเปรียบเทียบกับอีกครอบครัวที่มีสมาชิก 3 คนเช่นกัน มีพ่อ มีแม่ และลูก แต่รายได้ที่เข้ามาใช้จ่ายภายในครอบครัวมาจากทั้งพ่อและแม่ ทำให้ครอบครัวนี้มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ทำให้ฐานะทางการเงินของครอบครัวนี้มีความมั่นคงกว่าครอบครัวแรกนั่นเอง
ทั้งนี้ การที่สมาชิกภายในครอบครัวรู้จักการบริหารเงินให้สามารถใช้แบบเหลือกินเหลือใช้ในแต่ละเดือนได้ ก็สามารถช่วยให้ฐานะทางการเงินภายในครอบครัวดีขึ้น เมื่อพบเจอกับปัญหาอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ครอบครัวของคุณจะพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในครอบครัวอีกด้วย
บริหารเงินอย่างไร ให้ฐานะการเงินมั่นคง
การบริหารเงินภายในครอบครัว ควรเริ่มจากการปรึกษาและร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก่อน อย่างเช่น ผู้ที่เป็นคนหาเงินควรพยายามสร้างรายได้ให้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ คนที่ไม่ได้หาก็ควรประหยัด และรู้คุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์
มีการวางแผนให้รอบคอบ จะช่วยให้คุณสามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีเงินเหลือตอนสิ้นเดือน คุณควรปรึกษากับคนในครอบครัวว่าจะนำเงินจำนวนนี้ไปทำอะไร หรือหากเงินไม่พอใช้ ก็ควรปรึกษาเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เป็นการรักษาสมดุลทางการเงินได้เป็นอย่างดี
ยอมรับความจริง ไม่ควรปิดบัง คุณไม่ควรปิดบังเรื่องรายได้ที่เข้ามา และควรบอกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายว่ามีอะไรบ้างต้องจ่ายจำนวนเงินเท่าไร เพื่อให้เกิดความเชื่อใจกัน ควรมีการตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแต่ละคนว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่ และควรมีการวางแผนเกี่ยวกับเงินส่วนที่เหลือให้สามารถใช้จ่ายได้ตลอดทั้งเดือน ที่สำคัญอย่ารอจนเกิดปัญหาแล้วค่อยมาปรึกษากัน
ควรมองเงินที่เข้ามาอย่างไร สำหรับรายได้ที่เข้ามาภายในบ้านเป็นเงินที่คุณหามาได้เพียงคนเดียว ก็ไม่ควรคิดว่าเงินนั้นเป็นของคุณจะต้องคิดว่าเงินจำนวนนี้เป็นของทุกคนในครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งที่อาจขึ้นเมื่อคุณเริ่มเห็นแก้ตัวเอง
ขั้นตอนการบริหารเงินให้มีความมั่นคง
- จัดสรรเวลาหาเงิน เวลาพักผ่อน เวลาครอบครัว และเวลาส่วนตัวให้มีความสมดุลกัน ควรปรึกษาทำความเข้าใจกันภายในครอบครัว
- มีรายได้มากกว่ารายจ่าย เพื่อให้ครอบครัวมีเงินออมทุกเดือน และควรหาวิธีการสร้างรายได้อื่น ๆ หลาย ๆ ทางเผื่อรายได้หลักเกิดสะดุด จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อครอบครัวมากนัก
- เตรียมเงินไว้ให้ได้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่าย ทั้งครอบครัวต่อเดือน เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และสำรองเผื่อฉุกเฉินได้อีกด้วย ถ้าจะให้ดีกว่านี้ ก็ควรเตรียมไว้ประมาณ 12 เท่าของค่าใช้จ่ายจะดีมากเลยทีเดียว
- ปลูกฝังให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักการประหยัด แต่ไม่ถึงกับไม่ยอมให้ใช้เงินเลย อย่างเรื่องการศึกษาหาความรู้ หรือการท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลาย ควรมีช่วงเวลาดี ๆ อย่างนี้ ประมาณ 1 ครั้งต่อปี ก็จะทำให้ชีวิตของคุณมีความสุขมากขึ้นได้
- การก่อหนี้ก็ควร ทำเฉพาะจำเป็น หรือเพื่อการลงทุนเท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการก่อหนี้สินที่ฟุ่มเฟือยไปกับสิ่งไร้สาระ โดยควรควบคุมยอดหนี้สินภายในบ้านทั้งหมดไม่เกิน 1 – 2 เท่าของทรัพย์สินสุทธิที่ครอบครัวมี เพราะหนี้ที่มากเกินไป จะทำให้ชีวิตครอบครัวของคุณไม่มีความสุข และอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้อย่างรวดเร็วตามกำหนดอีกด้วย
- ควรดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ ก็ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตใจ และคุณอาจต้องเสียเงินแพง ๆ ไปกับการรักษาอีกด้วย
- มีวินัยการออมเงิน และสะสมทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อให้ฐานะทางการเงินภายในครอบครัวมีความมั่นคงมากขึ้น สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
นอกจากนี้ การมีครอบครัวใหญ่สมาชิกทุกคนเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ฐานะทางการเงินภายในครอบครัวมีความมั่นคง คุณควรปลูกฝังเรื่องการหารายได้เพิ่มเติมนอกจากรายได้ประจำ ให้สมาชิกรู้จักการออมเงิน รู้จักประหยัดเงิน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป และการรู้ถึงคุณค่าของเงิน เพียงเท่านี้ ครอบครัวของคุณจะมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงได้อย่างแน่นอน เห็นไม่ว่าการช่วยกับของทุกคนในครอบครัวจะทำให้สามารถพ้นผ่านปัญหาทางการเงินได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การวางแผนก่อนใช้เงินจะทำให้คุณสามารถกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการเก็บออมได้ และสามารถสร้างฐานะทางการเงินภายในครอบครัวให้มีความมั่นคง ขอให้ครอบครัวของทุกท่านมีความสุขและไม่มีปัญหาทางด้านการเงินอีกต่อไป