พอใกล้ถึงช่วงปีใหม่ หลายคนช่วงนี้ก็อาจถือได้ว่าเป็นช่วงรับทรัพย์ พนักงานบริษัทก็จะได้รับโบนัส พ่อค้าแม่ค้าก็จะขายของดีในช่วงนี้ ลูกจ้างที่ไม่มีโบนัสก็จะได้รับเงินปีใหม่จากนายจ้างแทน แต่เงินส่วนนี้หากไม่มีการวางแผนก่อนการใช้ ก็จะหายไปอย่างรวดเร็วในช่วงปีใหม่เช่นกัน การวางแผนไว้ก่อนใช้เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยเรา และสำหรับใครที่ไม่มีโบนัสหรือเงินปีใหม่เลย ลองมาทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เผลอๆตอนสิ้นปีอาจจะมีเงินก้อนมากกว่าเงินโบนัสของใครหลายคน
1.ทัศนคติสำคัญที่สุด
คนที่ยังไม่เคยรู้เรื่องการบริหารเงิน หรือคนที่เคยทำแต่รู้สึกว่ามันยุ่งยาก นั่นเป็นเพราะทัศนคติที่ไม่ดีของเรา จงปรับเปลี่ยนทัศนคติของตัวเราเองก่อน ว่าวางแผนการเงินไม่ใช่เรื่องยาก ที่ทำให้มันยากเพราะความคิด ทัศนคติของเรา เริ่มจากตรงนี้ก่อนนะครับ
2.ตั้งเป้าหมาย
เมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติให้พร้อมรับกับการทำอะไรใหม่ๆแล้ว ให้ลองต้องเป้าหมายดู ว่าหากเรามีการวางแผนการเงินแล้ว ในสิ้นปีถัดไป เราจะได้อะไร จินตนาการถึงสิ่งที่เราอยากได้ และคิดว่าเราได้มันมาแล้ว คิดถึงความสุขตรงนั้น ทำให้ภาพเป้าหมายของเราชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเรามองเห็นเป้าหมายของเราชัดเจนเท่าไหร่ การวางแผนการเงินยิ่งจะง่ายขึ้นเท่านั้น
3.วางแผนการทำตามเป้าหมายให้เป็นจริง
เป้าหมายของเราจะเลิศเลอเพอเฟคแค่ไหน หากไม่ทำหรือ ไม่มีแผนการที่เป็นชั้นตอนเป็นสเต็ป ก็เหมือนไม่มีเป้าหมายนั้นอยู่ เราต้องหัดวางแผนว่าในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ หรือแต่ละเดือน เราจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายของเราเป็นจริง ไม่มีแผนการเงินใดที่เราตื่นมาแล้วทำมันสำเร็จในวันเดียว ทุอกย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป
4.จัดสรรปันส่วนให้ชัดเจน
แผนการเงินที่ดีต้องมีความชัดเจนว่าเราจะใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เราจึงต้องรู้จักการแบ่งเงินรายได้ของเราออกเป็นส่วนๆให้ชัดเจน เช่น เงินค่ากินค่าอยู่ เงินออม เงินลงทุน เงินค่าผ่อน เงินฉุกเฉิน เงินให้พ่อแม่ เงินเก็บไว้ท่องเที่ยว อย่างนี้เป็นต้น
5.มีเช็คพ้อยท์ให้แผนการเงิน
เราได้สร้างแผนการบิหารเงินไว้แล้ว ก็ต้องมีการประเมินผลว่าเราได้ทำตามแผนการของเราหรือไม่ เช่น แต่ละอาทิตย์ต้องเก็ยเงินให้ได้ 2,000 บาท เมื่อถึงกำหนดเราก็ต้องมาดูว่าเราทำได้จริงหรือไม่ ไม่ควรทำแบบอาทิตย์นึงไม่ได้เก็บ อาทิตย์ต่อมาเก็บเบิ้ลเป็นสองเท่า นั้นแสดงให้เห็นว่าคุณขาดวินัยที่ดีในด้านการเงิน
6.หาจุดบกพร่องหากแผนการเงินไม่เป็นไปตามที่วางแผน
บางทีเราก็ไม่สามารถทำแผนการเงินให้เป็นไปตามแผนได้ซะทั้งหมด ในแต่ละเดือนเราควรลองสรุปการเงินของเราว่าทำไมถึงไม่ได้ตามแผน ติดขัดที่ตรงไหน เป็นสาเหตุจากภายในหรือภายนอก ลองนั่งลิสต์มันออกมา แล้วลองมองหาวิธีการแก้ไข เพื่อรักษาแผนการเงินของเราให้ใกล้เคียงและไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
7.ไม่ใช่เก็บอย่างเดียวแต่ต้องรู้จักลงทุน
ถึงแผนการเงินของเราจะดีแค่ไหน ถึงเราจะทำตามแผนได้อย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัยสุดๆ แต่ในสภาพปัจจุบันการออมอย่างเดียวคงทำให้เราเอาชนะเงินเฟ้อไม่ได้ ค่าเงินของเราจะลดลงเมื่อถึงสิ้นปี ดังนั้นเราควรมองหาการลงทุนเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าการออมเงินเฉยๆ
8.วางแผนการเงินให้ยาวมากกว่าหนึ่งปี
แผนการเงินของเราควรมีระยะเวลาที่ต่างกันออกไป แผนระยะสั้นอาจกินเวลา 1 ปี แผนระยะกลาง 1-5 ปี และแผนระยะยาว 5-10 ปี ยิ่งเรามีการวางแผนการเงินได้ไกลเท่าไหร่ ก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการการเงินของเรา และยังเป็นประโยชน์อย่างมากด้วย เพราะแผนการเงินที่ดีในระยะยาวจะเป็นตัวสร้างความมั่งคั่งให้แก่เรา
9.แชร์และแบ่งปันวิธีการวางแผนการเงินกับผู้อื่น
แผนการเงินของเราบางทีอาจไม่ทันยุคสมัย เราอาจแชร์วิธีการกับเพื่อน หรือลองมองหาวิธีการต่างๆในอินเทอเน็ต ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมาย ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวเลขการเงินของเราจริงๆนะครับแค่อาจทำแผนคร่าวเพื่อใช้แสดงให้ดูก็ได้ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เรามองเห็นจุดบกพร่องในแผนการเงินของเราได้ และยังเป็นประโยชน์กับคนอื่น หากแผนการเงินของเราดี
10.มองหาปรึกษากูรูด้านการวางแผนการเงิน
บางที บางคน อาจเหลือเวลาไม่มากแล้วก็จะถึงสิ้นปี การมองหาตัวช่วยจะทำให้เราวางแผนได้เร็วขึ้น อาจปรึกษาเพื่อน ญาตพี่น้อง หรือในปัจจุบันมีคอร์สด้านการบริหารจัดการเงินเกิดขึ้นมากมาย ลองลงทุนกับตรงนี้คุณอาจจะได้ผลลัพธ์กลับมามากมายกว่าที่คิด แต่ก็ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจเสียเงินเข้าคอร์สต่างๆ ลงทุนไปแล้วต้องให้คุ้มกับที่เสียไปครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับวิธีการ หรืออาจเรียกว่าแนวทางการบริหาร วางแผนการเงินล่วงหน้าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเรื่องการเงินนี่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาจกล่าวได้ว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เงิน คนที่รู้จักวางแผน ย่อมได้เปรียบคนที่ใช้จ่ายไปวันๆแน่นอน แล้วจากการวางแผนและความพยายามของคุณ สิ้นปีต่อไปก็เหมือนเราได้โบนัสก้อนโต โดยไม่ต้องง้อใคร