เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีกำลังมีความรักและกำลังอยากที่จะสร้างครอบครัว อยากจะมีชีวิตคู่ อยากจะมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นอยู่ใช่ไหมละ!! แน่นอนว่าการสร้างครอบครัวมักจะเป็นบั้นปลายของบทสรุปความรักอันแสนสวยงามของคนหนุ่มสาวในทุกยุคทุกสมัย เมื่อใดที่เราเจอคนที่ถูกใจ เจอคนที่ใช่ เจอคนที่เรารู้สึกรัก เจอคนที่อยากจะหยุดและฝากชีวิตไว้ที่คน ๆ นั้นเมื่อนั้นก็จะเริ่มเกิดการตัดสินใจที่ว่า…เรามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเถอะ!!!
แล้วสิ่งหนึ่งที่มักเป็นสิ่งที่เมื่อคนสองคนมาใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันแล้วต้องมาคิดร่วมกันก็คือ “การวางแผนทางด้านการเงิน” เพราะเมื่อคนสองคนตกลงใช้ชีวิตคู่กันแล้ว เงินจากที่เคยเป็นของส่วนตัวก็ต้องกลายมาเป็นของส่วนรวมต้องมีเงินที่ถูกนำมาใช้ร่วมกัน เงินส่วนนั้นต้องเกิดจากการตกลงหรือการหารเงินกันเพื่อการสร้างครอบครัวอย่างมีความสุข
เมื่อคุณและคนที่คุณรักตัดสินใจที่จะสร้างครอบครัวด้วยกัน คุณต้องหันหน้าเข้าหากันและพูดคุย ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการวางแผนการเงินร่วมกันให้ชัดเจนตั้งแต่ตอนแรก พูดคุยกันไปเลยว่าแต่ละคนมีรายได้เท่าไร มีรายจ่ายเท่าไร มอบหมายให้ชัดเจนไปเลยว่าจะให้ใครดูแลส่วนไหนบ้าง กำหนดลงไปเลยว่าค่าใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว กำหนดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง (เงินกองกลาง) ให้เป็นสัดเป็นส่วน
ก่อนที่คุณและครอบครัวจะตัดสินใจลงทุนอะไรก็ตามคุณควรต้องมีการเก็บเงินออมไว้ส่วนหนึ่ง (ต้องเก็บให้ได้พอประมาณเพื่อรองรับโอกาสที่จะพบเจอกับปัญหากรณีฉุกเฉิน อย่างน้อยที่สุดที่คุณควรเก็บเงินได้ก็คือ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คุณต้องจ่ายไป) ซึ่งในการลงทุนนั้นคุณและครอบครัวต้องยอมรับในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นไว้เสมอ ยิ่งคุณยอมรับความเสี่ยงได้มากเท่าไรยิ่งเป็นผลดีต่อคุณและครอบครัวมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับใครที่มีเป้าหมายการวางแผนเกี่ยวกับการเงินในระยะยาวนานถึง 15 ปีขึ้นไป คุณสามารถสบายใจที่จะลงทุนในธุรกิจประเภทหุ้นได้เลย เนื่องจาก การที่คุณเลือกลงทุนในหุ้นแบบระยะยาวจะช่วยทำให้คุณเกิดความปลอดภัยจากสิ่งที่เรียกว่า “วัฏจักรของเศรษฐกิจ” ซึ่งวัฏจักรนี้จะค่อนข้างกินระยะเวลานานพอสมควร (โดยประมาณก็มักอยู่ที่ 10-13 ปีโดยเฉลี่ย) แต่การที่คุณจะเล่นหุ้นนั้นเราขอแนะนำว่าให้คุณกระจายการลงทุนไปในหุ้นหลายๆ ตัวแทนการลงทุนหุ้นแบบตัวเดียว ยิ่งหากใครที่ไม่สามารถคอยติดตามหรือตรวจสอบเรื่องหุ้นได้ตลอดเวลาเรียกว่าไม่มีเวลาที่จะเช็คหุ้น รายตัวได้ก็สามารถเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนแบบรวมหุ้นแทนได้เช่นเดียวกัน
รูปแบบของกองทุนรวมหุ้นจะมีรูปแบบที่ค่อนข้างมีความหลากหลายมากกว่าเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน เป็นรูปแบบที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยผู้จัดการกองทุน (ผู้จัดการกองทุนนับว่าเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีความรู้และ มีความสามารถแถมที่สำคัญยังอยู่ใกล้ชิดกับข้อมูลหุ้นได้มากกว่าเราเสียด้วย)
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ “การจดทะเบียนสมรส” ร่วมด้วย
โดยในประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เนื่องจาก จะเป็นส่วนที่ต้องมีการติดตามด้านกฎหมายและด้านของภาระผูกพันต่าง ๆ เนื่องจาก กฎหมายมีการกำหนดไว้ว่าให้ถือว่าบุคคลคู่ใดก็ตามที่ได้ทำการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายให้ถือว่าบุคคลคู่นั้นเป็นเสมือนบุคคลเดียวกันไปโดยปริยาย ดังนั้นในการทำนิติกรรมบางประเภทจึงจำเป็นต้องทำร่วมกันทั้งสองคนและส่วนเรื่องของภาษี มรดก รวมทั้งสินสมรสก็จะถูกนำมาพิจารณาร่วมด้วย
สำหรับเรื่องของ “ภาษี”
หากครอบครัวของบุคคลใดมีรายได้เพียงด้านเดียว คือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง (สามีหรือภรรยา) เป็นผู้ที่ทำงานมีรายได้ก็สามารถนำคู่สมรสรวมทั้งบิดาและมารดาของคู่สมรส (รวมถึงค่าเบี้ยประกันของท่านทั้งสอง) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเพิ่มได้แต่หากสามีภรรยาคู่ใดมิได้ทำการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายและต่างก็มีรายได้แยกต่างหากกันก็ไม่ได้มีปัญหาต่อการยื่นภาษีแต่อย่างใด ให้ทำการยื่นภาษีตามปกติ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันก็มีหลายช่องทางที่จะช่วยลดภาษีได้เหมือนกัน
ส่วนเรื่องของ “การวางแผนเกี่ยวกับมรดก”
ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการจดทะเบียนสมรสร่วมด้วย หากเมื่อใดที่บุคคลสองคนทำการจดทะเบียนสมรสเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นก็จะส่งผลทำให้เกิดทรัพย์สินที่เรียกว่า “สินสมรส” แล้วสินสมรสคืออะไร? สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของบุคคลทั้งสองคน เป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทั้งสองทำการสมรสกันอยู่
เรื่องของ “การวางแผนเพื่อการมีลูก”
การวางแผนในส่วนนี้สำคัญมาก เพราะ เมื่อใดที่คุณตัดสินใจมีลูกน้อยแล้ว นั่นย่อมหมายความว่าคุณจะต้องแบกรับภาระมากมายไปตลอดชีวิตของลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ค่ากินค่าอยู่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้เงินมากมายทั้งสิ้น ฉะนั้นวางแผนไว้ตั้งแต่แรกดีสุด อย่างแน่นอน เพราะจะเป็นการปูรากฐานชีวิตที่ดี ที่จะทำให้อนาคตของเรามีความสุขสบายมากขึ้น แถมไม่ต้องกังวลกับปัญหาการเงินในช่วงบั้นปลายของชีวิตอีกด้วย แต่ทั้งนี้การจะบริหารและวางแผนการเงินอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับรายได้และค่าใช้จ่ายของแต่ละบุคคลด้วย เพื่อการวางแผนการเงินให้เหมาะสมที่สุดนั่นเอง