กรณีที่มีข่าวเรื่องของการกู้เงินโดยมีลักษณะการ จดจำนอง เอาที่ดินไปค้ำประกัน และเกิดปัญหาคือการโกง ซึ่งเป็นการโกงแบบสุจริต ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าโกงแบบสุจริตคืออะไร หากสงสัยมาอ่านกันดู
เรื่องของการกู้เงินหรือ จดจำนอง แบบถูกกฎหมายคือ ต้องมีสัญญาเงินกู้ตามกฎหมาย มีอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย และหากมีการจดจำนองต้องไปกระทำการ ณ กรมที่ดิน และในการจ่ายเงินต้องมีใบเสร็จประกอบการจ่ายเงินทุกครั้ง
ซึ่งจากข่าวที่ออกมาคือ ผู้เสียหายส่วนใหญ่โดนโกงเพราะไม่ได้อ่านสัญญา ไม่มีสัญญาคู่ฉบับ และหากรายไหนมีการ จดจำนอง ที่กรมที่ดิน จะมีปัญหาคือไม่ได้อ่านสัญญาและให้เซ็นจดจำนองแบบเร่งด่วน คือเจ้าหนี้พาไปทำเรื่องจดจำนองในเวลาที่พนักงานใกล้จะเลิกงาน หรือ เจ้าหน้าที่อ้างว่ายุ่งต้องรีบทำ คู่สัญญาต่างๆ ไม่มีการได้อ่านทวนก่อนเซ็นชื่อ นี่จึงทำให้เกิดการโกงแบบสุจริตเพราะทุกอย่างทำตามกฎหมายทำตามขั้นตอน และตาเนื้อหาของข่าวนั้นผู้เสียหายคือชาวบ้านธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องของกฎหมาย
นอกจากนี้ในการจ่ายชำระเงินทางบริษัทเงินกู้ไม่เคยมีการออกใบเสร็จให้ มีแต่จดบันทึกในสมุดของเจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งบางคนก็แจ้งว่าส่งตามกำหนดหมดไปตั้งนานแล้วแต่เจ้าหนี้บอกยังต้องส่งต่อยังไม่ครบตามจำนวนในสัญญา ซึ่งเมื่อลูกหนี้ขอดูสัญญาถึงกับช๊อคเพราะยอดเงินมันคนละยอดกับที่กู้มา หลายๆคนเสียดายที่ดินที่ไปจำนองก็ต้องผ่อนกันให้ครบเพราะมันมีสัญญาระบุไว้หากไม่จ่ายก็โดนยึดที่ดิน บางคนจะไปไถ่ถอนก็โดนเรียกดอกเบี้ยเกินจริงโดยอ้างว่าต้องคิดให้ครบปี ด้วยความเสียดายที่ดินแน่นอนว่าก็ต้องยอมจ่ายเพราะไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาเพราะสัญญาคู่ฉบับไม่มี ทางเจ้าหนี้จะแก้ไขสัญญาอย่างไรก็ได้ นอกจากนี้หลายคนยังสงสัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเพราะบางรายไปจดจำนองเป็นคนแก่ๆ เจ้าหน้าที่ก็เร่งๆให้เซ็นชื่อทำให้หลายคนสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รู้เห็นกับบริษัทที่เป็นข่าวนี้ด้วย
จากข่าวนี้สิ่งที่สอนให้เป็นอุทาหรณ์อย่างหนึ่งคือ การ จดจำนอง หรือการขายฝากนั้นมีความเสี่ยงเพราะมีหลายเคสของบริษัทนี้จากการ จดจำนอง กลายเป็นสัญญาขายฝาก ซึ่งหากจะบอกว่าบริษัทเงินกู้เหล่านี้ไม่น่าเชื่อถือก็คงจะกล่าวได้ไม่ถูกนักเพราะมีอีกหลายแห่งที่ดำเนินการด้วยความถูกต้อง สิ่งที่ต้องทำและให้ความสำคัญในการไปทำสัญญากู้เงินกับบริษัทเหล่านี้คือ ต้องตรวจสอบสัญญาอย่างละเอียดย้ำว่าให้อ่านทุกตัวอักษรทุกข้อของสัญญาเพราะ สัญญาเงินกู้หรือสัญญาจดจำนองเหล่านี้บริษัทที่ให้กู้สามารถร่างสัญญาเองได้ไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาที่มีขายอยู่ทั่วไป ข้อกำหนดข้อตกลงต่างๆมักจะเอื้อประโยชน์กับบริษัทมากกว่าลูกหนี้
ดังนั้นต้องตรวจสอบให้ครบทุกข้อหากสงสัยให้ถามและหากได้คำตอบที่ไม่กระจ่างชัดไม่ควรทำสัญญากู้เงิน หรือจดจำนองกับเจ้าหนี้หรือบริษัทนั้นๆ หากทำได้ควรขอสัญญามาอ่านก่อนเพราะเรื่องของสัญญาเงินกู้หรือสัญญาจดจำนองนั้นมักจะใช้ภาษากฎหมายซึ่งมีช่องโหว่ให้สามารถทำให้เราเสียผลประโยชน์จากการทำสัญญาเงินกู้ได้
นอกจากนี้ควรเลือกบริษัทเงินทุน หรือเจ้าหนี้ที่สามารถไว้ใจได้จริงๆ มีการจัดการอย่างถูกต้องและควรประเมินความสามารถของตัวเองก่อนด้วยว่าสามารถผ่อนชำระได้ตรงตามกำหนดจริงๆ เพราะสัญญาเงินกู้ในลักษณะ จดจำนอง หรือขายฝากนั้นหากผิดนัดชำระจะมีผลทำให้เสียทรัพย์ที่นำไปจดจำนองหรือขายฝากได้ง่ายกว่าสัญญาสินเชื่อทั่วไป และส่วนใหญ่บริษัทจดจำนองเล็กๆ หรือเจ้าหนี้รายย่อยนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง หรือบางแห่งจดทะเบียนอย่างถูกต้องแต่ดำเนินการแบบทุจริตโดยใช้ช่องโหว่ของกฎหมายและความไม่รู้ของลูกหนี้เพื่อหาประโยชน์จากการเรียกเก็บดอกเบี้ยรวมถึงหาประโยชน์จากทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน คนที่คิดจะทำสัญญาในลักษณะนี้ควรตรวจสอบทุกขั้นตอนอย่างละเอียดเพื่อป้องกันการถูกโกงและเสียเปรียบในด้านต่างๆ ทางที่ดีหากจำเป็นจริงๆควรเลือกทำกับสถาบันการเงิน หรือบริษัทเงินทุนที่มีการรับรองจากธนาคารแห่งชาติหรือทำธุรกรรมอย่างสุจริตไม่มีชื่อเสียงเสียหายจะช่วยลดปัญหาการถูกโกงจากช่องโหว่ของกฎหมายได้
อ่านเพิ่มเติม >> ค้ำประกันเงินกู้ กระดูกแขวนคอที่อาจจะแขวนทั้งชีวิต <<