“คนไทยกว่า 14 ล้านคนเป็นโรคในกลุ่ม NCDs เสียชีวิตมากกว่า 300,000 คน หรือ 73% ของการเสียชีวิตของประชากรทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 25.2 พันล้านบาทต่อปี”
ข้อมูลน่าตกใจนี้คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประชากรไทย ซึ่งนอกจากจะสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย
ทำความรู้จักกับโรค NCDs
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้1
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคกลุ่ม NCDs ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะเกิดกับคนเมืองมากกว่าคนในชนบท จากสาเหตุพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งด่วน กินด่วน และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย โดยโรคที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงข้างต้น
NCDs สถิติค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มากขึ้น
โรค NCDs เป็นปัจจัยที่สร้างความเสียหายด้านค่าใช้จ่ายสูงสุดให้แก่ภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันรัฐได้สูญเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเฉลี่ยคนละ 6,286 บาท หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 13 ของรายจ่ายทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าอาจเพิ่มขึ้นถึง 1.4-1.8 ล้านล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวม คิดเป็น
ตัวการความเสี่ยงก่อโรค NCDs
สาเหตุหลักใหญ่ที่เป็นตัวการความเสี่ยงก่อโรค NCDs ก็คือ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัดต่าง ๆ ทั้งหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ไฟฟ้า พอตใช้แล้วทิ้ง ไม่ออกกำลังกาย นอนดึก มีความเครียดสูง รวมทั้งการรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังมีการดำเนินชีวิตเช่นนี้อยู่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่น ๆ เช่นกัน
แม้โรค NCDs จะไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง แต่หากเมื่อใดที่เป็นขึ้นมา ก็จะพบความรุนแรงได้เช่นกัน หากเราหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น รู้จักผ่อนคลาย และสร้างสมดุลให้กับชีวิตทั้งเรื่องอาหารการกิน การจัดการอารมณ์ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดีแล้ว ความคุ้มค่ามหาศาลที่จะตามมาก็คือ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพตนเองและภาครัฐโดยรวมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
…ลองเช็คดูให้ดี วันนี้คุณมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค NCDs หรือไม่…
ที่มา