ภาษี เด็กจบใหม่ เพิ่งเริ่มทำงานต้องยื่นภาษีหรือไม่ อย่างไร ?
ความจริงแล้วความรู้เกี่ยวกับการเงิน และ ภาษี นั้นเป็นสิ่งที่ควรบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในโลกทุนนิยมเหมือนกับในปัจจุบัน เพราะเมื่อเราเรียนจบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้งานทำเรานั้นจะต้องหันมารับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องการเงินของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องภาษีซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองชาวไทยทุกคน แต่น่าเสียดายที่หากคุณไม่ได้เรียนในด้านการเงินมาโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับด้านภาษีนั้นก็แทบจะเป็นศูนย์กันเลยทีเดียว
หลายคนมีคำถามว่า ภาษี เด็กจบใหม่จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ เพราะเงินเดือนเริ่มต้นนั้นดูเหมือนว่ายังจะไม่ได้มากมายถึงขั้นที่จะต้องเสียภาษีแต่อย่างใด แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะมีกฎหมายที่ระบุเอาไว้ว่าผู้มีเงินได้ทุกคนในประเทศไทยจะต้องยื่นแบบแสดงรายได้ในการเสียภาษีส่วนบุคคล ยิ่งพูดเชื่อว่าหลายคนก็อาจยังไม่เห็นภาพชัดเจน ด้วยเหตุนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาษีบุคคลธรรมดาฉบับเข้าใจง่ายสำหรับเด็กจบใหม่กัน
เด็กจบใหม่ ต้องยื่นภาษีหรือไม่ ?
เมื่อพูดถึง ภาษี แล้วทุกคนย่อมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ทั้งยุ่งยาก และน่าปวดหัวอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่เราพึ่งพ้นจากวัยเรียนมาได้ไม่นานและต้องมารับผิดชอบทางด้านการเงินด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก ไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่นแบบสำหรับจ่ายภาษีประจำปีมาก่อนเลยทั้งชีวิต อยู่ดี ๆ มีรายได้ก็ต้องมาจัดการเรื่องนี้เสียอย่างนั้น ที่สำคัญคือภาษีนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถเดินดุ่ม ๆ เอาไปจ่ายที่สรรพากรได้เลยแต่อย่างใด
อันดับแรกเราต้องรู้จักกันว่า ภาษี คืออะไร ภาษีในที่นี้หมายถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อย่อมาบ้าง ภ.ง.ด. มันเป็นภาษีที่ทางรัฐบาลจะเรียกเก็บจากเหล่าผู้มีรายได้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งปกติแล้วจะทำการเรียกเก็บภาษีเป็นรายปี สำหรับผู้ที่มีรายได้นั้นจะมีหน้าที่ในการแสดงเอกสารซึ่งมีชื่อเรียกว่าแบบชำระภาษีสำหรับจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลตามช่วงเวลาที่กำหนดเอาไว้นั่นก็คือวันที่ 1 มกราคมยาวไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคมทุกปี ซึ่งผู้มีรายได้นั้นก็รวมไปถึงมนุษย์เงินเดือนด้วยเช่นเดียวกัน
เด็กจบใหม่ เงินเดือน 15,000 บาท ต้องยื่นแบบแสดงรายได้หรือไม่
สำหรับเด็กจบใหม่ที่จะมีเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท หลายคนคงมีคำถามว่าเราต้องเสียภาษี หรือยื่นแบบแสดงรายได้หรือไม่ หากพูดถึงเงินรายเดือนแน่นอนว่ามันก็อาจจะไม่ได้สูงเพราะเป็นเงินเดือนเริ่มต้น แต่ตามกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่าใครก็ตามที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อปีขึ้นไปนั้นจะต้องทำการยื่นแบบชำระภาษีด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนมือใหม่เงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท เท่ากับว่าในปี 1 จะมีรายได้อยู่ที่ 180,000 บาท ซึ่งเกิน 50,000 บาทตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เราจึงต้องยื่นภาษีด้วยเช่นเดียวกัน
ทำความรู้จัก เงินได้ และเงินได้สุทธิ
การยื่นแบบนั้นก็เป็นสิ่งที่ยุ่งยากไม่น้อยเพราะสิ่งต่อมาที่เราต้องเรียนรู้ก็คือคำว่าเงินได้สุทธินั่นเอง เงินได้สุทธิ คือเงินที่เราได้รับมาจากการทำงาน การประกอบกิจการ การค้าขาย การให้เช่า ค่าลิขสิทธิ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย อันดับแรกหากจะให้ง่ายที่สุดก็คือให้เรานำเอาเงินที่เราได้ตลอดทั้งปีทุกอย่างมารวมกันเป็นก้อนเดียวก่อน เงินก้อนนั้นจะเรียกว่าเงินได้
การที่เงินได้จะกลายมาเป็นเงินได้สุทธินั้นต้องผ่านสิ่งที่เรียกว่าการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษี เงินได้นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นประเภทที่ 1 นั่นก็คือเงินเดือนนั่นเอง หรือหากทำอาชีพอิสระก็จะอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 6 อย่างเช่นฟรีแลนซ์ เงินได้แต่ละประเภทนั้นก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันออกไป สำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือนนั้นจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้วิธีเดียวนั่นก็คือหักเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
หลังจากที่เราหักค่าใช้จ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้วยังมีรายการลดหย่อนภาษีมากมายอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท บุตรที่ชอบตามกฎหมายคนละ 30,000 บาท บิดามารดาอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีเงินได้ไม่เกินกว่า 30,000 บาทต่อปีอีกคนละ 30,000 บาท
นอกจากนี้บิดามารดาของคู่สมรสที่เข้าหลักเกณฑ์ก็ยังสามารถหักได้อีกคนละไม่เกิน 30,000 บาทอีกด้วย ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าอุปการะดูแลคนพิการ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชี เงินกองทุน RMF IMF ดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์เงินสมทบประกันสังคม และอื่นๆ อีกมากมาย หลังจากที่เราหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสุดท้ายเราก็จะได้สิ่งที่เรียกว่าเงินได้สุทธินั่นเอง
เงินได้สุทธิ และอัตราภาษี
ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการคำนวณภาษีนั่นเอง หลังจากที่เราได้เงินได้สุทธิมาแล้วเราก็ต้องมาดูอัตราภาษีแต่ละขั้นซึ่งเงินได้แต่ละขั้นนั้นก็จะต้องเสียภาษีแตกต่างกันออกไป ประกอบไปด้วย
- 0 บาทถึง 150,000 บาท อัตราภาษีจะได้รับการยกเว้น
- 150,001 บาทถึง 300,000 บาท อัตราภาษี 5%
- 300,001 บาท บาทถึง 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
- 500,001 บาทถึง 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
- 750,001 บาทถึง 1 ล้านบาท อัตราภาษี 20%
- 2 ล้าน 1 บาทถึง 5 ล้านบาท อัตราภาษี 30%
- 5 ล้าน 1 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือหากคุณมีเงินเดือนทั้งหมดเดือนละ 15,000 บาท มีเงินได้อยู่ที่ 180,000 บาทต่อปี หักค่าใช้จ่าย 50% จะเหลืออยู่ที่ 90,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท เหลือ 30,000 บาท หักเงินประกันสังคมที่จ่ายทั้งปี 9,000 บาท เหลือ 21,000 บาท
เท่ากับว่าเรานั้นจะอยู่ในเงินได้สุทธิขั้นที่ 1 ก็คือได้รับยกเว้นอัตราภาษีนั่นเอง แต่ถึงแม้ว่าจะได้รับการยกเว้นก็ยังต้องยื่นแบบแสดงรายได้อยู่ดี เพียงเท่านี้คุณก็สามารถจ่ายภาษี เด็กจบใหม่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว