การยื่นภาษีแต่ละครั้งผู้สามารถยื่นภาษีได้ คือผู้ต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป หรือตกอยู่ปีละ 240,000 บาทเป็นต้นไป โดยผู้ที่มีรายได้อยู่ที่เดือนละ 15,000 บาท และรายได้ที่ต่ำกว่านี้ต่อเดือนนั้นจะได้รับการยกเว้น เพราะจะมีเรื่องของการหักค่าลดหย่อนส่วนตัวเข้ามาที่เมื่อทำการหักลบแล้วจะเหลือรายได้สุทธิที่ไม่เกินกว่า 150,000 บาทต่อปี จึงทำให้ผู้ที่มีรายได้อยู่ในช่วง 15,000 บาทลงไป ไม่ต้องทำการจ่ายภาษีเงินได้หรือเป็นการได้รับการยกเว้นแต่ทั้งนี้ก็เกิดคำถามว่าถ้า รายได้ไม่ถึง ไม่ยื่นภาษีได้ไหม
คำตอบที่ถูกต้องคือไม่ได้ เพราะตามกฎหมายแล้วผู้ที่มีรายได้ที่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี ที่ต่อให้ไม่ต้องเสียเงินภาษีแต่ก็ต้องมีการยื่นแบบภาษีเข้ามาเหมือนกับผู้ที่มีรายได้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษีตามปกติทุกอย่าง เพื่อเป็นการแสดงตนถึงการเป็นผู้ที่มีรายได้ ซึ่งการไม่ยอมยื่นแบบภาษีหรือไม่รู้ในเรื่องเหล่านี้ก็อาจจะทำให้มีโทษทางกฎหมายได้เช่นกัน
การเสียภาษีนั้นถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบพื้นฐาน ที่ประชาชนทุกคนในประเทศที่มีรายได้พึงต้องปฏิบัติ เพราะภาษีเหล่านี้จะย้อนกลับมาสู่การพัฒนาและการบริหารประเทศชาติให้เจริญมากยิ่งขึ้น
ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องมีการเสียภาษีอย่างแน่นอนและชัดเจนที่สุด คือกลุ่มบุคคลที่เป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนและแน่นอน ทำให้ต้องไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ว่าจะมีรายได้มากหรือน้อยเพียงใดทุกคนก็ต้องมีการเข้ายื่นภาษีรายรับเข้ามาอย่างต่อเนื่องในทุกปี และการยื่นภาษียังเป็นการบ่งบอกถึงที่มาที่ไปของรายรับและรายจ่ายของบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย แต่การเสียภาษีนั้นจะมีเรื่องของฐานภาษีเป็นตัวกำหนดว่าใครที่มี่รายได้เท่าไหร่ถึงจะต้องทำการเสียภาษี และจะต้องมีการเสียภาษีอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ต่อปี และยังมีเรื่องของการลดหย่อนภาษีจากวิธีการต่าง ๆ เช่น การบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิที่ได้รับการยอมรับหรือจดทะเบียนแล้วว่าสามารถลดหย่อนภาษีได้ หรือการบริจาคสาธรณกุศล และดอกเบี้ยจากเงินกู้ซื้อบ้าน ค่าประกันชีวิต รวมไปถึงรายได้ของบิดามารดาที่อาจจะไม่ได้ทำงานแล้ว ก็สามารถนำมาเป็นส่วนลดในการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายได้ 20,000 บาทถ้วนต่อเดือน โดยไม่มีเงินพิเศษใด ๆ บางคนก็อาจจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีได้ เพราะถ้าผู้นั้นมีเรื่องของค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 60,000 บาทต่อปีหรือคิดเป็น 40% ของรายได้ทั้งหมด และมีเรื่องของส่วนลดเงินลดหย่อนภาษีส่วนตัวเข้ามาเพิ่มอีก 30,000 บาท ก็จะเหลือเงินรายได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีโดยประมาณอยู่ที่ 150,000 บาทต่อปี ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในช่วงเกณฑ์ของการไม่ต้องเสียภาษีพอดี ก็ให้แค่ยื่นแบบฟอร์มการเสียภาษีเข้ามา แล้วรอการตอบรับจากรมสรรพากรเพื่อออกใบรับรองการจ่ายภาษีแล้วต่อไป
เกณฑ์ของฐานในการเสียภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษีแบบคร่าว ๆ มีดังนี้
-
รายได้ต่ำกว่า 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
-
รายได้สุทธิในช่วง 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5%
-
รายได้สุทธิในช่วง 300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
-
รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
-
รายได้สุทธิในช่วง 750,001 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
ฐานที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการบอกถึงการคำนวณภาษีในรูปแบบของเงินเดือนที่อยู่ในช่วงที่พอเหมาะ ซึ่งช่วงของเงินเดือนที่สูงมากกว่านี้ก็จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการเสียภาษีไปเรื่อย ๆ ตกอยู่ที่ช่วงละ 5% ซึ่งผู้ที่มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ก็ต้องมีการเข้าสู่การยื่นภาษีเพื่อทำการชำระในทุก ๆ ต้นปีอย่างสม่ำเสมอ ส่วนในผู้ที่ทำงานแล้วคิดว่ารายได้ไม่ถึง ไม่ยื่นภาษีได้ไหมนั้น ก็ควรต้องมีความรู้ในเรื่องภาษีไปด้วย เพราะถ้าพูดโดยตามหลักกฎหมาย บุคคลที่มีรายได้ทุกคนในประเทศไทยที่มีรายรับที่แน่นอนและชัดเจน จะต้องทำการยื่นแบบภาษีเงินได้เพื่อเป็นการแสดงตัวตนของผู้ที่มีรายได้ในทุก ๆ คน โดยต้องมีการได้รับการคำนวณรายได้ที่เหมือนกับผู้ที่ต้องเสียภาษีตามปกติทุกอย่าง
ซึ่งการคำนวณรายได้ตรงนี้จะออกมาแสดงให้เห็นถึงปริมาณเงินรายรับต่อปี ที่ไม่ถึงเกณฑ์การจ่ายภาษีให้เห็นอย่างชัดเจน โดยสามารถยื่นภาษีผ่านรูปแบบออนไลน์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ยื่นภาษี หรือจะเข้ายื่นได้ที่จุดบริการของกรมสรรพากรสำหรับผู้ที่อาจจะไม่ค่อยชินกับรูปแบบออนไลน์ก็ได้เช่นกัน และเมื่อยื่นภาษีเรียบร้อยก็จะได้รับใบเสร็จรับรองว่าผู้ที่ยื่นทำตามขั้นตอนเสร็จสิ้นและครบถ้วนแล้ว เพียงแต่ผู้ที่รายได้ไม่ถึงนั้นในใบเสร็จจะมีการระบุค่าภาษีอยู่ที่ 0 บาท แต่ผู้ที่มายื่นภาษีจะได้เป็นการยืนยันตนว่าเป็นผู้ที่มาทำการยื่นแบบภาษีแล้วเรียบร้อย
สำหรับผู้ที่อาจจะยังไม่รู้ว่าตนเองนั้นต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือมีคำถามที่ว่า รายได้ไม่ถึง ไม่ยื่นภาษีได้ไหม ก็คงกระจ่างและชัดเจนมากขึ้นว่าต้องมีการไปยื่นอย่างแน่นอน และเมื่อรู้แล้วยังไม่ยอมไปยื่นภาษีให้เรียบร้อยก็จะโดนเรียกสอบภาษีย้อนหลังจากเจ้าพนักงานโดยทันที พร้อมทั้งต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด และอาจจะต้องพ่วงเอาความรู้สึกกังวลใจต่อการไม่ไปยื่นที่อาจจะโดนเรียกไปตรวจสอบได้ทุกเมื่อ และอาจจะทำให้ไม่ได้รับเงินคืนภาษีที่ควรจะได้รับกลับไปด้วยอีกต่างหากแต่ทั้งนี้การยื่นแบบภาษีก็มีข้อยกเว้นในบุคคลที่ยังเป็นเยาวชนหรือผู้ที่ไร้ความสามารถ และผู้ที่เสมือนไร้ความสามารถทุกคนไม่ต้องมาทำการยื่นและเสียภาษี แต่ต้องมายื่นเป็นแบบรายได้พึงประเมินถ้าผู้นั้นมีรายได้เฉพาะที่เป็นเงินเดือนเกิน 50,000 บาทต่อปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่ารายได้ไม่ถึง ไม่ยื่นภาษีได้ไหม จึงคงจะชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อได้อ่านรายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้