อาชีพข้าราชการเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่ต้องการเป็น เนื่องจากสามารถได้เงินเดือนอย่างแน่นอนในแต่ละเดือน อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับการดูแลและสวัสดิการที่ครบถ้วนครอบคลุมไปจนถึงบิดามารดาและบุตรอีกด้วย สำหรับการ วางแผนเงินบำนาญ นั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้
อ่านเพิ่มเติม : ประกันบำนาญ ทางเลือกเพื่ออนาคตเกษียณ
ทำความรู้จักกับเงินบำนาญ
เงินบำนาญ หมายถึง เงินที่ได้รับรายเดือน ซึ่งมีจำนวนไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งข้าราชการจะได้รับจนกว่าจะเสียชีวิต ในกรณีที่ได้รับเงินจำนวนนี้แล้ว หากข้าราชการเสียชีวิต บุตรก็จะได้รับเงินก้อนเป็นจำนวน 30 เท่าของเงินบำนาญ ในแต่ละเดือน โดยการคำนวณหาเงินบำนาญที่จะได้รับให้ข้าราชการนำเงินเดือนเฉลี่ยของตนเองในช่วง 60 เดือนสุดท้ายมาคูณกับจำนวนปีที่ทำงาน จากนั้นจึงนำไปหารด้วย 50 จะมีปริมาณเท่ากับเงินที่จะได้รับในแต่ละเดือน
บำเหน็จหรือบำนาญดีกว่ากัน
เงินทั้งสองจำนวนนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน อยู่ที่ว่าผู้รับต้องการเงินในรูปแบบใดมากกว่า หากต้องการเงินบำนาญ ซึ่งได้รับเป็นรายเดือนก็จะทำให้การจัดสรรค่าใช้จ่ายง่ายกว่าเดิม แต่ในกรณีที่เป็นเงินบำเหน็จผู้รับจะได้รับเป็นเงินก้อน ซึ่งสามารถนำไปลงทุนต่อยอดได้ในอนาคต
วิธีการวางแผนเงินบำนาญให้คุ้มค่า
แม้ว่าเงินบำนาญจะได้รับเป็นรายเดือน แต่หากผู้รับมีวิธีการจัดสรรที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้รายได้ไม่เพียงพอใช้จ่าย ในแต่ละเดือน รวมไปถึงอาจจะก่อให้เกิดความเครียดก็เป็นได้
1.ออมเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน
เมื่อผู้รับเงินบำนาญได้เงินบำนาญในแต่ละเดือน ควรวางแผนเงินบำนาญและแบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ อย่างมีระเบียบวินัย ยกตัวอย่างเช่น เงินจำนวนที่หนึ่งสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เงินจำนวนที่สองใช้สำหรับค่าใช้จ่ายประจำเดือน (ค่าน้ำ ค่าไฟ) เงินจำนวนที่สาม ได้แก่ การนำไปใช้สำหรับการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ควรกันเงินส่วนหนึ่ง ออกเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินอีกด้วย การแบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ จะทำให้ผู้รับเงินสามารถจำกัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี และสามารถรู้ขอบเขตการใช้จ่ายเงินของตนเองได้อย่างแน่ชัด
2.พยายามประหยัดค่าใช้จ่าย
ผู้ได้รับเงินบำนาญควรมีความระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้จ่ายและวางแผนเงินบำนาญ เนื่องจากว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจเริ่มฝืดเคือง ค่าสินค้าทั้งอุโภคและบริโภคถีบตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดสิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้ก็คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยพยายามเลือกสินค้าที่คุ้มค่ามากที่สุด ส่วนสินค้าบริโภคนั้นผู้ซื้อควรเลือกซื้อเฉพาะสินค้า ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและให้ความอิ่มท้องเพื่อให้การซื้อสินค้าเป็นการประหยัดและลดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด
3.มีเงินก้อนสำรอง
ก่อนจะเกษียณผู้เป็นข้าราชการควรมีการวางแผนเงินบำนาญ และวางแผนว่าจะมีเงินก้อนจำนวนเท่าใด เนื่องจากว่า การรับเงินบำนาญในแต่ละงวดอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสักเท่าใดนัก หากมีเงินก้อนสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายกรณีที่เจ็บป่วยอันเป็นปัญหาที่ผู้สูงวัยทุกคนต้องเผชิญก็นับเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากจะทำให้ไม่เดือดร้อนกับลูกหลานนั่นเอง
4.ออมเงินในระหว่างที่กำลังทำงาน
การใช้ชีวิตอยู่ในวัยทำงานนับเป็นช่วงเวลาทองและเป็นช่วงเวลาของการวางแผนเงินบำนาญ เนื่องจากว่าสามารถสร้างรายได้มากพอหากตั้งใจจริง ซึ่งการออมเงินก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้อยู่ในวัยทำงานไม่ควรมองข้าม การออมเงินในระหว่างทำงานจะทำให้มีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำและสามารถนำเงินลงทุนมาต่อยอดได้อีกด้วย
5.มีอาชีพเสริม
วัยเกษียณเป็นวัยที่สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้อีกหลาย ๆ ด้าน นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพเสริมได้ หลายอาชีพอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเพาะต้นไม้เพื่อจำหน่าย การเปิดสอนพิเศษ การทำขนมเพื่อจำหน่าย สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้วยังเป็นการสร้างคุณค่าในตนเองและทำให้ผู้เกษียณไม่รู้สึกเหงา และเครียดอีกด้วย
6.ไม่ก่อหนี้สิน
การก่อหนี้สินในวัยเกษียณนับเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงอีกข้อหนึ่งเปรียบได้กับการไม่วางแผนเงินบำนาญ เพราะในวัยที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มตัวนั้น การก่อหนี้สินเปรียบได้กับการเพิ่มความเครียดอย่างไม่รู้ตัวให้กับผู้สูงอายุทางที่ดีที่สุด ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณไม่ควรแบกรับภาระจนเกินตัว เช่น การออกเงินค่าเล่าเรียนให้ลูกหลาน การจ่ายเงินดาวน์รถยนต์ใหม่ให้กับบุตรหรือเป็นผู้ค้ำประกันในกรณีใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการกู้เงิน
7.ลด ละ เลิกการทำลายสุขภาพ
การทำลายสุขภาพนับเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากยิ่งทำลายสุขภาพมากเท่าใดก็ยิ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษามากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น หากผู้เกษียณสูบบุหรี่ ในไม่ช้าก็จะต้องป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับปอดอย่างแน่นอน อีกทั้งยังทำให้การเสียค่ารักษาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ก่อให้เกิดความเครียดและเป็นภาระในบั้นปลายของชีวิต ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณจึงควรที่จะดูแลสุขภาพ หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงกว่าเดิม
8.หมั่นตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพบ่อย ๆ จะทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างดี นอกจากนี้หากตรวจพบโรคแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากผู้สูงวัยต้องป่วยด้วยโรคร้าย หากมีการรักษานับตั้งแต่ยังมีอาการของ โรคเล็กน้อยก็จะสามารถหายขาดได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ดังนั้น สิ่งที่สำคัญรองลงไปจากการดูแลสุขภาพก็ คือ การหมั่นตรวจสุขภาพนั่นเอง
สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองต้องการรับเงินบำนาญ ควรวางแผนเงินบำนาญ นับแต่วันนี้และพยายามเก็บออมเงินเพื่อเป็นต้นทุนในวัยเกษียณและเพื่อพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด