การหาวิธีการจัดการกับเงินผลกำไรที่ได้มา เพื่อที่จะทำให้คุณได้ใช้เงินที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของคุณอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมาก ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นเพราะสามารถจัดการและควบคุมผลได้โดยง่าย มีการประกันในเรื่องของความเสี่ยงที่เงินหรือทรัพย์สิน ที่อาจจะรั่วไหลหรือสูญหายออกไปจากทางบริษัท ซึ่งในการเบิก-จ่ายในแต่ละครั้งมีข้อมูลที่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำบัญชีงบดุลของทางบริษัท และยังเป็นการสร้างความสะดวกแก่นักบัญชีของทางบริษัทด้วย นอกจากนี้การฝากเงินไว้กับธนาคารนั้นจะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยซึ่งถือเป็นกำไรของทางบริษัทอีกหนทางหนึ่งด้วย
กำไรที่ได้จะนำไปทำอะไรดี
ในการประกอบธุรกิจโดยทั่วไป ไม่ว่าจะมีขนาดไหน ทุกธุรกิจไม่ว่าจะดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือมีความแตกต่างกันมากขนาดไหน แต่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นจุดประสงค์ปลายทางที่อยู่บนยอดสูงสุด ที่ทุกธุรกิจต่างต้องการที่จะได้มาก็คือ กำไร’ นั่นเอง ในหลายธุรกิจต่างมีวิธีการและเป้าหมายต่อการดำเนินการให้ได้มาซึ่งผลประกอบการที่มีกำไร ในทางกลับกัน บางบริษัทกลับไม่รู้ว่ากำไรได้มาควรเอาไปทำอะไรเพื่อให้มันงอกเงยกว่านี้ดี เชื่อว่ามีเจ้าของบริษัทป้ายแดงรายใหม่ๆ อาจจะประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งพอได้กำไรมาเป็นจำนวนมหาศาลแต่กลับไม่รู้จะเอาไปทำอะไรดี
การจัดการแบ่งส่วนของกำไรให้เหมาะกับกิจการ
กำไรที่ได้ แยกออกเป็นส่วนที่ 1 คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางบริษัท ที่สามารถนำกำไร ไปขยายกิจการให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือทำการเพิ่มสาขาออกไปต่างจังหวัด และทำการเพิ่มยอดจำนวนที่สั่งซื้อวัตถุดิบ หรือแม้แต่การจ้างพนักงาน การแบ่งกำไรในส่วนที่ 2 คือ การนำเงินไปลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือการซื้อหุ้นกู้ประเภทต่างๆของทางบริษัทอื่น ซื้อ พันธบัตรของทางรัฐบาล การลงทุนซื้อทั้งในส่วนที่ดิน และสังหาริมทรัพย์อย่าง บ้าน ตึกแถว หรือแม้แต่การซื้อทองคำเพื่อเก็งกำไรในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางบริษัทเลย โดยในการลงทุนแต่ละอย่างมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาให้ดีทุกครั้ง ตามที่กล่าวมาการแบ่งกำไรเพื่อนำมาลงทุนทั้งสองส่วนถือเป็นการต่อยอดและเพิ่มผลกำไรให้กับทางบริษัทตัวเอง อยู่ที่ว่าคุณผู้เป็นเจ้าของบริษัทจะเลือกแบบไหน แต่การนำเงินผลกำไรไปลงทุนต่อที่ดีจะต้องสามารถเพิ่มจำนวนเงินให้กับทางบริษัทได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว จึงจะถือว่าการลงทุนครั้งนั้นประสบผลสำเร็จ
การจัดการกับผลกำไร
กำไรหมายถึงผลต่างของรายรับและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ทำการบันทึกไว้ในบัญชี เป็นส่วนต่างของรายรับรวมและต้นทุนรวมซึ่งต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงโอกาสที่สูญเสียไปจากการทำปัจจัยการผลิต เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ไปทำให้ไม่เกิดกิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง จึงรวมต้นทุนค่าเสียโอกาสเข้าไว้ในการคำนวณกำไรด้วย เพราะกำไรนั้นก็ถือได้ว่าเป็นหัวใจของผู้ทำธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเป็นธุรกิจรายใหญ่หรือรายย่อย กำไรจึงหมายถึงผลที่ได้เหนือต้นทุน ซึ่งคุณอาจจะได้ยินคำพูดเช่นนี้บ่อยๆ ว่า เมื่อลงทุนก็หวังกำไร ในปัจจุบันการมีกำไรไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการทำธุรกิจการค้าเท่านั้น หากแต่มันยังลามไปถึงเรื่องการเมือง วงการศาสนา ฯลฯ ที่หลายคนมักจะเรียกกันจนติดปากว่า ธุรกิจการเมือง หรือศาสนพาณิชย์ เพราะการจัดการกับผลกำไรนั้นมีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจมองดูแล้วเป็นสิ่งง่ายๆ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และต้องทำความเข้าใจในกระบวนการ โดยจะต้องมีวิธีคิดอย่างลึกซึ้ง เพราะบริษัทบางบริษัทอาจจะมีแค่วิธีการหาเงินเข้ามาบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว และมีอีกหลายบริษัทที่เอากำไรไปใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย โดยปราศจากการบริหารที่ดี ในที่สุดก็ต้องปิดกิจการไป อย่าลืมว่าถึงแม้กำไรที่ได้มาจะเป็นของตัวคุณ แต่ก็เป็นของบริษัทด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับนักลงทุนทุกคนที่จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการผลกำไร และอาจมองหลายมุมมองเพื่ออธิบายให้เห็นภาพ ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่สิ่งที่นักลงทุนทุกคนต้องการคือ ผลกำไรจากการลงทุน และการคาดการณ์กำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งยังหมายถึงการคาดเดาช่วงราคาในอนาคตได้
สิ่งที่ดีที่สุดในการจัดการผลกำไรสำหรับบริษัทยุคใหม่
การก้าวไปสู่การยอมรับในสังคม เพื่อที่จะก้าวสู่ระดับชาติและก้าวเดินต่อไปสู่ระดับโลก คือการแบ่งปันผลกำไรในส่วนหนึ่งมาทำการกุศลเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ทั้งสิ้น ยกตัว อย่างว่า หากอุปกรณ์ออฟฟิศเช่น พวกคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกน ปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ถ้าเกิดการชำรุดเสียหาย และทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าหรือชิ้นงานส่งออกไปขายลูกค้าได้ ก็ทำให้บริษัท ไม่มีรายได้ เมื่อไม่มีรายได้เข้ามาบริษัทแต่บริษัทยังคงต้องจ่ายเงินเดือนของพนักงานอยู่ บริษัทก็จะตกอยู่ในสภาวะขาดทุน เป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งที่ทางบริษัทจะต้องกันเงินในส่วนที่เป็นผลกำไรส่วนหนึ่ง นำมาไว้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ คือการซ่อมบำรุง ที่อาจรวมถึงการตกแต่งอาคารและปรับปรุงทัศนียภาพโดยรวม ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายเงินออกไปและต้องใช้เงินเป็นจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่สึกหรอ หรือเสียหายหรือเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาที่ใช้งาน หากไม่มีการซ่อมบำรุง ในอนาคตข้างหน้าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ และหากเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการดำเนินการผลิตสินค้า หรือ วัตถุดิบ รวมถึงชิ้นงานต่างๆออกมาจำหน่ายได้ ก็อาจทำให้บริษัทนั้นขาดทุนหรือล้มละลายได้
ที่มา :