สำหรับมาตรการการช่วยเหลือประชาชนที่ทางภาครัฐได้นำออกมาใช้เพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชนในช่วยเศรษฐกิจฝืดเคืองจากผลกระทบของโรค COVID-19 ช่วงเดือนตุลาคม 2563 นี้ มี 2 มาตรการหลัก ๆ ที่ท่านไม่สามารถใช้สิทธิ์ทับซ้อนกันได้ !
ดังนั้นก่อนที่ท่านจะลงทะเบียนใช้สิทธิ์ จึงต้องศึกษาข้อมูล และสำรวจตัวของท่านก่อน เพราะมีหลายคนได้ตกหลุมพรางนี้ไปแล้ว เนื่องจากถ้าท่านได้ลงทะเบียนในเว็บไซต์คนละครึ่งไปแล้ว ท่านจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน ได้อีกต่อไป เราจึงขอสรุป 2 มาตรการนี้เปรียบเทียบให้ท่านได้เข้าใจอย่างง่าย ๆ อีกครั้ง ก่อนตัดสินใจลงทะเบียนรับสิทธิ์ หรือ ใช้สิทธิ์
โครงการช้อปดีมีคืน (ไม่ต้องลงทะเบียนในเว็บไซต์ใด ๆ แต่ต้องขอเอกสารเพื่อใช้ในการขอลดหย่อนภาษี นั่นหมายถึง ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษี และต้องมีใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบเป็นหลักฐาน)
เหมาะกับใคร ?
ความจริงแล้วมาตรการนี้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี ! เหมาะกับบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้จำนวนมาก อาจจะเป็นเจ้าของกิจการ หรือ พนักงานบริษัทที่เงินเดือนที่สูงพอสมควรแล้ว หรือมีตำแหน่งสูง ๆ และต้องการซื้อสินค้า เพื่อขอใบกำกับภาษีมาลดหย่อน อย่างไรก็ตามทางภาครัฐก็ได้กำหนดเพดานการลดหย่อนไว้ ว่าการนำสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นต้องไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
ความจริงแล้ว แต่ละคนจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ จำนวนเงินที่ซื้อและ อัตราภาษีคืนตามระดับเงินได้สุทธิแต่ละปี นั่นหมายความว่า ถ้าท่านมีเงินได้สุทธิต่อปีน้อย ถ้าอยู่ในระดับ 0-150,000 บาทต่อปี ท่านจะไม่ได้รับสิทธิ์คืนภาษีจากช้อปดีมีคืน ! เพราะท่านได้รับการยกเว้นภาษีแล้ว ดังนั้นจึงแนะนำว่าถ้าท่านมีรายได้น้อย ควรไปลงทะเบียนในโครงการ “คนละครึ่ง” จะเหมาะสมกว่า
ตัวอย่างสำหรับโครงการช้อปดีมีคืน กรณีที่ท่านมีรายได้ต่อปีเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะได้รับเงินคืนภาษี กี่บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์คืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท (อัตราภาษี 10%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 3,000 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท (อัตราภาษี 15%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท (อัตราภาษี 20%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001-2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001-5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 9,000 บาท
– เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป (อัตราภาษี 35%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 10,500 บาท
เงื่อนไข
- ช่วงเวลาการใช้สิทธิ์ที่จะขอใบกำกับภาษีในการช้อปดีมีคืนนั้น ต้องอยู่ในช่วง 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น ซึ่งมูลค่าการลดหย่อนจะใช้ในปีภาษี 2563 ภายในเดือนมีนาคม 2564
- สินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ ถือว่ามีเยอะพอสมควร
- ค่าสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่ายาสูบ
- ค่าน้ำมันและก๊าซเติมยานพาหนะ
- ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ !! ผู้ทื่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หรือผู้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้
โครงการคนละครึ่ง (https://www.คนละครึ่ง.com)
เหมาะกับใคร ?
ความจริงแล้วเหมาะกับคนที่เป็นระดับรากหญ้า และบุคคลไม่ได้มีภาระการจ่ายภาษีสูง ๆ เรียกได้ว่าเป็นคนธรรมดานี่แหละ เพราะ รัฐบาลมีจุดประสงค์ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และช่วยเหลือร้านค้ารายย่อย หาบเร่แผงลอย และกิจการพวกร้านอาหาร เครื่องดื่มและสินค้ามั่วไป ที่ไม่ใช่ร้านค้าสะดวกซื้อชนิดแฟรนไชส์ (อาทิเช่น 7-11, Family Mart, Lawson เป็นต้น) และนิติบุคคล
เงื่อนไข
- ร้านค้าเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา และยังเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ใช่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) คือจะได้ไม่ใช้สิทธิ์ทับซ้อนกันนั่นเอง ได้ลงทะเบียนกันตได้ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2563 จนกว่าจะครบ 10 ล้านราย
- สามารถใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563
อย่างไรก็ตามโครงการคนละครึ่งนั้น พ่อค้าแม่ค้าหลายคนที่เป็นคนสูงวัย ไม่สะดวกที่จะร่วมโครงการและใช้สมาร์ทโฟนในการลงทะเบียนไม่เป็น จึงทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
โดยหลังจากที่ผู้มีสิทธิ์ได้ลงทะเบียนแล้ว ทางภาครัฐจะช่วยจ่ายเงิน 50% และ ผู้มีสิทธิออกเงินอเง 50% โดยรัฐจะช่วยออกให้ไม่เกิน 150 บาท ต่อวัน หรือตลอดโครงการไม่เกิน 3,000 บาทนั่นเอง
โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องจ่ายครึ่งนึงของราคาสินค้าเองผ่านทาง G Wallet ใน Application เป๋าตัง และใช้กับร้านที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น (จุดนี้นำให้หลายคนไม่สะดวก และล้มเลิกความตั้งใจในการลงทะเบียนไปเพราะต้องเอาเงินไปเข้าระบบก่อน)
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการหรือลงทะเบียนสามารถค้นหาร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ https://search-merchant.คนละครึ่ง.com
โดยร้านต่าง ๆ จะแบ่งเป็น
- ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- ร้านธงฟ้า
- กิจการ OTOP
- สินค้าทั่วไป
และสามารถค้นหาร้านค้าตามจังหวัดได้อีกด้วย พร้อมแผนที่แสดงจำนวนร้านที่เข้าร่วมโครงการ
ดังนั้นสรุปได้ว่าก่อนที่ท่านจะลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่ง ท่านต้องศึกษาข้อมูลให้ดี และรู้ตัวของท่านเองว่าเหมาะหรือไม่ หากท่านเป็นผู้ที่ต้องจ่ายภาษีมาก แนะนำว่าไปเลือกโครงการช้อปดีมีคืนอาจจะเหมาะสมกว่า
เปิด 3 ขั้นตอน วิธีลงทะเบียน “www.คนละครึ่ง.com” รับ 3000 บาท
ข้อมูลอ้างอิง
-
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903087
-
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/902883