1.ควรทำประกันตั้งแต่อายุเท่าไร
หากเริ่มทำประกันชีวิตเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี จะเห็นว่า บางครอบครัวก็เริ่ม ทำประกัน ชีวิตให้แก่ลูกของตนตั้งแต่เริ่มลืมตาดูโลก ซึ่งบางคนอาจยังไม่มองถึงจุดนี้ คิดเพียงว่าประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองชีวิตเท่านั้น
“หากมองในด้านการออมทรัพย์ การทำประกันชีวิตก็สามารถตอบโจทย์ได้เช่นกัน ดังนั้นยิ่งมีการทำประกันชีวิตเร็วเท่าไหร่ยิ่งเก็บเงินได้เร็วขึ้น และหากเริ่มทำประกันชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเริ่มทำงาน จะทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าคนที่มีอายุมากกว่า อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีตั้งแต่เริ่มทำงาน”
การทำประกันภัยไม่ได้มีกรอบในการเริ่มต้นทำประกันภัย เพียงแต่มีเกณฑ์ในการกำหนดช่วงอายุของการรับประกันภัยของกรมธรรม์ในแต่ละประเภทซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงอายุ 18 ปี ถึง 60 ปี ซึ่งส่วนมากแล้วกรอบช่วงอายุก็มักจะใช้กับกรมธรรม์ที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกายของผู้เอาประกันภัย เช่น ประกันชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ เป็นต้น ส่วนการประกันทรัพย์สินกำหนดกรอบที่ให้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หลักการรับประกันภัยคือหลักการรับความเสี่ยงภัย ซึ่งความเสี่ยงภัยก็อยู่คู่กับทุกคนตั้งแต่แรกเกิด
“การทำประกันภัยก็ควรทำตั้งแต่แรกเกิด โดยเริ่มต้น พ่อแม่ ทำประกันสุขภาพให้ลูก พอถึงวัยทำงานลูกทำประกันภัยประเภทต่างๆ ให้ตนเองและตอบแทนให้กับพ่อแม่ โดยสรุปแล้วอายุที่ทำประกันภัยคือควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ส่วนวัยเริ่มต้นทำประกันภัย คือ วัยที่พร้อม ซึ่งความพร้อมก็มีสองความหมายคือพร้อมให้ตัวเองกับพร้อมให้คนที่เรารัก”
2.รายได้ไม่มากควรทำประกันแบบไหนก่อน
หากเพิ่งเริ่มทำงานมีรายได้ยังไม่มาก แนะว่าเริ่มการเก็บเงินด้วยการประกันชีวิตแบบการออมที่มีความคุ้มครองระยะยาว ซึ่งเป็นแบบประกันที่มีเบี้ยประกันต่ำ เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ยังไม่มาก โดยเมืองไทยประกันชีวิตมีแบบประกันที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่มเริ่มทำงานมีรายได้หลายแบบ แนะว่าหากรายได้ของคุณยังไม่มาก ควรจะมองเป็นประกันแบบสะสมทรัพย์ก่อน เพื่อใช้เก็บเงินสะสมไว้ใช้ในอนาคตก่อน เพราะในช่วงเริ่มต้นทำงานค่าเบี้ยประกันจะไม่สูงมาก และเป็นการสร้างวินัยการออมในอนาคต ซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับเงินก้อนในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า เพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการต่างๆ ตามช่วงอายุ พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองระหว่างที่ทำประกัน
ถ้ามีรายได้ยังไม่เยอะ แนะว่าควรทำประกันให้ตัวเองก่อน โดยเริ่มต้นจากการประกันอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล หากมีงบประมาณเหลือให้พิจารณาทำประกันสุขภาพ และต้องวิเคราะห์ประกันสุขภาพในส่วนของสวัสดิการพนักงานที่มีให้ก่อน แล้วค่อยทำในส่วนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงทำประกันตามวิถีชีวิตของมนุษย์เงินเดือน หากผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ก็ให้ทำประกันรถยนต์และอัคคีภัยเพิ่มเติม และเมื่อมีหลักประกันมั่นคงเพียงพอแล้วก็อย่าลืมทำประกันสุขภาพให้ครอบครัวและคุณพ่อคุณแม่ด้วย
3.ถ้าไม่มีเงินส่งต่อควรทำยังไง
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่ ทำประกัน จำนวนไม่น้อย คือทำประกันไปแล้วเกิดปัญหาการเงินไม่มีเงินส่งต่อ ให้ไปขอรับเงินสด กรณีนี้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะสิ้นสุดทันที จำนวนเงินสดที่ได้รับคืนจะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางเวนคืนเงินสดที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย
อีกทางเลือกหนึ่งคือขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าใช้เงินสำเร็จ กรณีนี้ระยะเวลาความคุ้มครองจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยจะลดลง จำนวนเงินเอาประกันภัยใหม่จะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และทางเลือกสุดท้าย ขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าขยายเวลา กรณีนี้จำนวนเงินเอาประกันภัยจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ระยะเวลาความคุ้มครองใหม่จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางมูลค่าขยายเวลาที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย
สำหรับคนที่กำลังประสบปัญหานี้ว่า ขอใช้สิทธิตามกรมธรรม์ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้ ตามวิธีการต่างๆ ดังนี้
1.เปลี่ยนระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย
2.กู้เงินตามกรมธรรม์ เพื่อนำมาชำระค่าเบี้ยประกันภัย
3.ลดทุนประกันภัย หรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมบางรายการเพื่อลดจำนวนเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจของผู้ถือกรมธรรม์
4.เปลี่ยนแบบประกันให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย
5.ขอใช้สิทธิเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์สำเร็จ หรือขยายระยะเวลาเอาประกันภัย