ธนาคารขยะ รีไซเคิล เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินกันแน่นอน โดยเฉพาะตามโรงเรียน ซึ่งถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อเป็นการส่งเสริม การคัดแยกขยะมูลฝอย ซึ่งเริ่มต้นที่เยาวชนและชุมชนเป็นหลัก โดยจะใช้โรงเรียนหรือหมู่บ้าน แม้แต่บริษัทหรือ โรงงาน เป็นสถานที่ดำเนินการ เพื่อทำให้เยาวชนและชุมชนได้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย
ความสำคัญของ ธนาคารขยะ
หลักการขอ งธนาคารขยะ รีไซเคิล ก็คือการได้ให้นักเรียนหรือพนักงาน ทำการสมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ และจากนั้นให้นำขยะมาฝากที่ธนาคาร โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ไปทำการคัดแยกและชั่งน้ำหนักขยะ และจะต้องทำการคำนวณเป็นจำนวนเงิน แล้วบันทึกลงสมุดคู่ฝาก โดยมีการใช้ราคาที่ทางโรงเรียน หรือตามคณะกรรมการชุมชน ได้ทำการประสานไปกับร้านรับซื้อของเก่า ให้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา และสร้างรายได้ของกิจกรรมเหล่านี้มาจากผลต่าง ของราคาที่กลุ่มคณะ ทำงานของโรงเรียนได้มีการกำหนดกับราคาที่สามารถขายได้ โดยขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งจะต้องมีการหักรายจ่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ การติดต่อ การประสานงาน ซึ่งรายได้เหล่านี้ที่เกิดขึ้นสามารถใช้เป็นทุนหมุนเวียน และยังสามารถจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาหรือรายได้ชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ธนาคารขยะ
การจัดตั้ง ธนาคารขยะ ขึ้นมาก็เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึก ในการคัดแยกขยะและยังรวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและชุมชน ซึงจะเป็นการช่วยลดปริมาณขยะลงได้เป็นอย่างดี ซ้ำยังเป็นการช่วยการส่งเสริมความรู้ให้แก่เยาวชนในเรื่องการคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อเป็นการนำผลพลอยได้ ที่ได้จากการตั้งธนาคารขยะ มาตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน และเพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะ โดยทำให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานต่อไป
โดยการที่จะเปิดธนาคารขยะได้นั้น จะต้องมีเครื่องชั่ง มีสถานที่เก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิล แยกเป็นประเภท มีสมุดคู่ฝากและเอกสารบัญชี
การแยกขยะอย่างง่าย
การรีไซเคิลพลาสติก นั้น พลาสติกจะถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ และตัวเลขที่อยู่ด้านข้างหรือก้นภาชนะพลาสติก คือ พลาสติกเบอร์ 1 หรือที่เรียกว่าขวดเพท หมายถึง เช่น ขวดน้ำอัดลม และขวดน้ำมันพืช ส่วนพลาสติกเบอร์ 2 เป็นโพลีเอทธีลีน เป็นชนิดความหนาแน่นสูง อย่างขวดน้ำขุ่น ขวดแชมพู และขวดโลชั่น พลาสติกเบอร์ 3 คือพีวีซี อย่างเช่น สายยาง ท่อพีวีซี และสายไฟ พลาสติกเบอร์ 4 เป็นประเภทโพลีเอทธีลีน เป็นชนิดความหนาแน่นต่ำ อย่างเช่น ถุงเย็น หรือแผ่นฟิล์มพลาสติก และขวดชนิดบาง พลาสติกเบอร์ 5 ประเภทโพลีโพรไพลีน อย่างเช่น เชือกพลาสติก ถุงร้อน ถังน้ำ หรือ หลอดกาแฟ พลาสติกเบอร์ 6 ประเภทโพลีสไตรีน อย่า โฟม ไม้บรรทัด กล่องซีดี และถ้วยไอศกรีม และสุดท้ายเป็นประเภท พลาสติกเบอร์ 7 อย่าง ขวดนมเด็ก ขวดน้ำเกลือ และด้ามจับกระทะ ฯลฯ
การคัดแยกขยะรีไซเคิลและประเภทของกระดาษ
การคัดแยกเพื่อการรีไซเคิลขยะส่วนมากจะเป็นพลาสติกที่มีปริมาณการใช้สูง และสามารถหาได้ง่าย สะดวกในการเก็บรวบรวม คัดแยกและการทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำดื่มชนิดขาวขุ่นและชนิดใส และขวดยาสระผม ซึ่งในการรีไซเคิลกระดาษนั้น สามารถทำได้สูงสุดประมาณ 4 ถึง 6 ครั้งเท่านั้น เมื่อผ่านกระบวนการรีไซเคิลแล้ว จะทำให้เยื่อกระดาษสั้นลงเรื่อย ๆ ในการผลิตกระดาษทางโรงงานรีไซเคิลจะต้องเติมเยื่อใหม่ลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดาษรีไซเคิลที่ผลิตออกมาใหม่ ส่วนในการรับซื้อกระดาษของร้านรับซื้อเพื่อที่จะนำไปรีไซเคิลนั้น จะทำการแบ่งกระดาษออกเป็นประเภท ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระดาษปอนด์ขาว-ดำ กระดาษหนังสือเล่ม กระดาษแข็งสีน้ำตาล กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษสมุด และกระดาษคอมพิวเตอร์
ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทจะมีราคาซื้อ และขายไม่เท่ากัน ส่วนมากจะขึ้นกับชนิดและคุณภาพ อย่างกระดาษขาวดำ กระดาษคอมพิวเตอร์ และกระดาษสมุด จะมีราคาแพงมากและรองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ กระดาษกล่องสีน้ำตาล กระดาษ ซึ่งยังมีกระดาษบางประเภท ที่ร้านรับซื้อของเก่าจะไม่รับซื้ออย่าง กระดาษที่เคลือบด้วยพลาสติก หรือกระดาษห่อของขวัญ และกระดาษเคลือบไข การผลิตกระดาษหนึ่งตันจะต้องตัดต้นไม้ถึง 17 ต้น และใช้พลังงานในการผลิตกระดาษถึง 4,100 กิโลวัตต์
การคัดแยกขยะรีไซเคิลประเภทโลหะและแก้ว
ในส่วนของการคัดแยกโลหะเก่าเพื่อทำการรีไซเคิล จะทำการแยกออกเป็นเหล็ก และโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ซึ่งร้านรับซื้อของเก่า จะใช้แม่เหล็กในการคัดแยก โดยการคัดแยกเหล็กเพื่อที่จะนำไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า และสามารถแยกเป็น เหล็กเหนียว เหล็กรูปพรรณ เหล็กหล่อ และเศษเหล็กอื่น ๆ โดยเหล็กที่ขายได้ราคาดี ส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กหล่อที่มีขนาดเล็ก และเหล็กเส้น โลหะที่ไม่ใช่เหล็กอย่าง อะลูมิเนียม ทองแดงที่จัดเป็นโลหะที่มีราคาสูงที่สุดเพราะราคากิโลกรัมละ 200 บาทขึ้นไป ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นลักษณะขวดหรือโหลแก้ว สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้โดยคุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะถูกรีไซเคิลมากี่ครั้งก็ตาม เพราะการรีไซเคิลแก้วเป็นการใช้เชื้อเพลิงในการหลอมแก้วน้อยกว่าที่มีการผลิตแก้วจากวัตถุดิบโดยตรง แต่ผลิตภัณฑ์แก้วบางชนิดอาจจะไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เพราะมีการเติมสารบางอย่างลงไปในกระบวนการผลิตเพื่ออย่าง แก้วเจียรนัยซึ่งสารจำพวกตะกั่วออกไซด์ปนอยู่ รวมถึงหลอดไฟและกระจกเงาที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เพราะมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ