รูปแบบการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้นจะมีทั้งกองทุนเดี่ยว หมายถึงกองทุนที่มีนายจ้างรายเดียว ที่มีการจัดตั้งขึ้น และสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้ของพ.ร.บ.ของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนร่วม คือในกรณีที่กองทุนมีนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปจะเป็นการทำการร่วมกัน ด้วยการจัดตั้งกองทุน ซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างในเครือเดียวกันหรือไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้ ซึ่งอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนได้ ทั้งนี้เนื่องจากจะต้องถือมติเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ก่อนและหากเป็นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงนโยบายของการลงทุนในส่วนของนายจ้างแล้ว ก็สามารถทำเรื่องแจ้งย้ายไปร่วมกองทุนอื่น ที่มีนโยบายสำหรับคณะกรรมการกองทุนเห็นชอบได้
ซึ่ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเป็นกองทุนที่สาวๆได้ทำไว้ในช่วงเวลาที่ทำงาน เมื่อเกษียณอายุ ก็จะมีเงินก่อนสำหรับนำออกไปใช้ได้อย่างไม่ต้องเดือดร้อนลูกหลาน
อ่านเพิ่มเติม >>> กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เรื่องใกล้ตัวที่ควรจะศึกษาไว้ <<<
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังเกษียณอายุ
แม้จะเกษียณอายุ สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังสามารถที่จะขอลงทุนได้อย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน และยังสามารถทำการเก็บเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไป หรือจะทยอยขอถอนเงินเป็นงวดๆ ก็ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่อาจจะสงสัยอยู่ว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งกองทุนเลี้ยงชีพก็คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างมีส่วนร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ สำหรับการเก็บออมเงินให้ลูกจ้าง เอาไว้ใช้จ่ายตอนเกษียณอายุซึ่งยังถือได้ว่าเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้กับลูกจ้าง และยังถือได้ว่าเป็นการช่วยให้ลูกน้องมีเงินเก็บไปในตัว แต่ข้อเสียคืออาจจะไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยน้อย เงินนี้จะอยู่ไปจนกว่าจะครบปี หรือในระยะเวลาที่ทางบริษัทกำหนด ซึ่งสามารถเบิกออกมาใช้ได้เวลาที่จำเป็น
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาจากไหน?
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นของทางบริษัทที่เก็บไว้ให้พนักงาน และถือเป็นเงินออมสำหรับหลังเกษียณอายุ ซึ่งถือเป็นเงินทุนสำรองหรือเงินฉุกเฉิน เวลาที่คุณเดือดร้อน ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากสมาชิกที่เป็นพนักงานของบริษัท โดยพนักงานจะถูกหักเงินส่วนหนึ่งจากค่าจ้างจากนั้นก็จะนำเข้ากองทุนเป็นรายเดือน หรือที่เรียกกันว่าเงินสะสม ส่วนนายจ้างเองก็อาจจะช่วยในการจ่ายเงินอีกส่วนหนึ่งเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นการจ่ายนอกเหนือจากการจ่ายเงินค่าจ้างที่จ่ายประจำ ซึ่งเงินส่วนนี้จะเรียกกันว่าเงินสมทบ ทำให้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การบริหารการจัดการของบริษัท ซึ่งจะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ โดยเป็นการหาผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ระดับความเสี่ยง และกองทุนเองก็มีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยให้ทางบริษัทจัดการ แต่จะต้องนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ จุดนี้จะทำให้ลูกจ้างสามารถมั่นใจได้ว่าแม้นายจ้างหรือบริษัทจะปิดกิจการลงไป แต่เงินจำนวนนี้ก็ยังถือเป็นของลูกจ้าง ทั้งหมดโดยไม่มีการผูกพันกับภาระหนี้สินใดๆที่เป็นของบริษัทนายจ้างนั่นเอง
ผลประโยชน์ของเงินสมทบทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินสะสมคือเงินที่ได้จาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีเงินของพนักงานและของนายจ้าง ที่เป็นเงินสมทบเพิ่มในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่สมาชิกทำการจ่ายเข้ากองทุน โดยจะถูกหักจากเงินค่าจ้างตามแต่ที่บริษัทกำหนดทุกเดือน โดยซึ่งจะขึ้นอยู่กับข้อบังคับกองทุนของแต่ละ บริษัท ส่วนประโยชน์ของเงินสะสมที่นายจ้างสบทบให้กับลูกจ้างนั้น คือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเงินสะสมเพื่อทำการลงทุน โดยผลประโยชน์ที่ได้ จะอยู่ในรูปของ ดอกเบี้ย เงินปันผล นั่นเอง
ประโยชน์ของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง และมีความห่วงใยลูกจ้าง และจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ช่วยในการขจัดปัญหาการพิพาทแรงงาน และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้าง ให้ทำงานกับนายจ้างนาน ๆ