ชีวิตในวัยเกษียณเป็นชีวิตที่ต้องมีการวางแผนให้ดีมาตั้งแต่ต้นเพราะเป็นการรับรองการใช้ชีวิตหลังวัยทำงานที่เราสามารถอยู่ได้ด้วยเงินที่ทำมาแล้วให้ผลตอบแทนที่ดีหลังจากที่เราทำงานไม่ได้แล้ว ซึ่งสมัยก่อนคนเราก็ต้องคิดถึงการฝากเงินในธนาคารที่เป็นการลงทุนที่ให้ผลดีและมีความเสี่ยงต่ำซึ่งนอกจากจะได้รับผลประโยชน์ในเรื่องของการออมก็ยังมีผลตอบแทนที่น่าพอใจในระดับที่สูง
แต่เมื่อประสบปัญหาสภาวะทางเศรษฐกิจในปี 2540 เกิดขึ้น จึงทำให้สภาพเศรษฐกิจต้องชะงักงันอย่างยาวนาน อัตราดอกเบี้ยจึงโดนกดให้ต่ำลงแล้วก็เป็นแบบนั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดอกเบี้ยจึงเป็นสิ่งที่มีโอกาสลดลง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการวางแผนการเกษียณของตัวเองที่มากกว่าการนำเงินเข้าไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย แต่ต้องหาทางอื่น ๆ เพื่อสามารถนำมาเป็นตัวช่วยเรื่องเงินในยามที่เราไม่สามารถทำงานได้แล้ว ซึ่งก่อนอื่นก็ต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเกษียณอายุในการทำงานของตนเองที่อายุเท่าไร และเมื่อถึงเวลานั้น อยากมีเงินใช้หลังเกษียณ ตกอยู่ที่เดือนละเท่าไรเพื่อสามารถเอามาวางแผนการออมเงินได้อย่างถูกต้อง
ถ้าต้องการอยู่เดือนละ 30,000 บาท จะทำได้ไหม
เป็นคำถามที่ใคร ๆ ก็อยากรู้ว่าถ้าวันหนึ่งจะต้องเกษียณออกไป ต้องการเงินใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่เดือนละ 30,000 บาท ก็ต้องมีการวิเคราะห์ก่อนว่าในอีก 20-30 ปีข้างหน้านั้นจะมีค่าครองชีพที่ดีดตัวสูงขึ้นมากกว่าเดิมหรือไม่
ซึ่งในการคิดคำนวณแต่ละครั้งจึงจะต้องบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วยที่ 3% โดยเริ่มจากภาระหนี้สินต่าง ๆ ที่ได้ชำระหมดไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถและทรัพย์สินอื่น ๆ ว่าจะสามารถผ่อนหมดในระยะเวลาที่เท่าไร เพราะเมื่ออายุเยอะแล้วต้องสะสมทรัพย์สินให้กับตัวเองและครอบครัว เมื่อคำนวณแล้วว่าจนถึงอายุที่เกษียณจะหมดค่าใช้จ่ายเรื่องทรัพย์สินแล้ว ค่าใช้จ่ายประจำวันและประจำตัวนั้นหลัก ๆ ใช้เท่าไรต่อวัน เช่น ค่าอาหาร 3 มื้อต่อวัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายในเรื่องสันทนาการเพิ่มเข้าไปด้วย เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยว การไปทำบุญไหว้พระ เป็นต้น ซึ่งถ้ารวมสารพัดค่าออกมาแล้วจะต้องมีรายได้อยู่เดือนละ 30,000 บาท รายได้ได้มาหลังจากที่เราทำงานไม่ได้แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะมาจากดอกเบี้ยและเงินปันผล พร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจอยู่ที่ 5% ต่อปี
แหล่งสามารถให้เงินได้หลังเกษียณเริ่มแรกเลยคือประกันสังคมซึ่งหากจ่ายเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุได้ประมาณ 55 ปี ก็จะสามารถรับเงินบำนาญชราภาพประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน โดยมีเพดานสูงสุดอยู่ที่เดือนละ 15,000 บาท ตามข้อกำหนดของกองทุน และถ้ามีการจ่ายสมทบเกิน 15 ปี ก็ได้โบนัสเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1.5 % จ่ายสมทบมา 30 ปี ก็จะได้รับเงินเกษียณอยู่ที่เดือนละ 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 ต่อเดือน แต่เป็นรายได้นี้ยังไม่ได้หักอัตราเงินเฟ้อออกไป และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทางลูกจ้างและนายจ้างต่างก็สมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุนเมื่อเริ่มเข้าทำงานและสะสมเงินเข้ากองทุนมาตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3 % ของเงินเดือน เดือนละ 2 หมื่นบาท ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้นขึ้นปีละ 5 % นายจ้างสมทบให้อีก 3 % และกองทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4 % เมื่ออายุได้ 60 ปี ก็จะมีเงินจากกองทุนนี้อยู่ที่ 1.2 ล้านบาท แต่เมื่อเรานำเอาอัตราเงินเฟ้อมาหักออกไปก็น่าจะยังไม่พอใช้จ่ายตามมาตรฐานการใช้ชีวิตในระดับเดิม จึงต้องมีแผนการลงทุนและการทำประกันชีวิตในระยะยาวเพิ่มเพื่อเป็นแหล่งเงินเสริมรายได้ในการใช้จ่ายช่วงวัยเกษียณ
ซึ่งทางเลือกที่น่าสนใจคือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ที่ช่วยเสริมวินัยในการลงทุนเพราะเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ต้องมีการลงทุนกันอย่างต่อเนื่อง และยังได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนทางภาษีในช่วงของการลงทุน ปัจจุบันมีกองทุนรวม RMF ให้เลือกตรงตามความต้องการอีกมากมาย การทำประกันชีวิตซึ่งถึงแม้ว่าผลตอบแทนจะไม่มากมายนัก แต่การทำประกันชีวิตในระยะยาวก็มีข้อดีในเรื่องของการสร้างวินัยที่ดีทางการเงินให้แก่เราที่มีให้เลือกในหลายรูปแบบ ทั้งวงเงินคุ้มครองที่คุ้มค่าและยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย
อ่านเพิ่มเติม : เกษียณแล้ว อย่าลืม ขอคืนเงินออมประกันสังคม นะ !
การมีอิสรภาพทางการเงินในขณะที่ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะมีความมั่นคงทางการเงินจนไม่จำเป็นต้องทำงานเลี้ยงชีพอีกต่อไปก็ยังสามารถเหลือเวลาใช้ในเรื่องที่สนใจ ซึ่งต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดีซึ่งจะสามารถทำให้เกิดความมั่นคงทางการเงินตอนเกษียณ โดยต้องเริ่มออมอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะถ้าเริ่มการออมช้า ภาระในการเก็บออมในแต่ละเดือนก็จะยิ่งเพิ่มทวีคูณ
-
โดยตั้งแต่อายุที่เริ่มทำงานได้จนถึง 39 ปี ควรต้องมีการออมอยู่ที่ 10-15% ต่อเดือน โดยหักออกจากเงินเดือนในทุกเดือน
-
40-49 ปี อยู่ที่ 20-25% 50-54 ปี อยู่ที่ 45-50%
-
55-59 ปี อยู่ที่ 80-85%
นอกจากนี้ต้องรู้จักเลือกลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น กองทุนรวม พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการคำนวณความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ ถ้ามีเงินเก็บอยู่ 1 ล้านบาท ก็ต้องทยอยเอาเงินส่วนนี้ออกมาใช้ประมาณ 10% ต่อปี เพื่อใช้เป็นทุนในการดำรงชีวิตหลังวัยเกษียณ ซึ่งถ้าไม่มีการออมหรือแผนการเงินที่ดี และถ้าเข้าไปซื้อกองทุนรวมก็จะเท่ากับว่าต้องเอาเงินออกมาใช้มากกว่า 100,000 บาทต่อปี ก็เท่ากับว่า 10 ปี ก็จะหมดไปอย่างง่ายดาย แต่ถ้านำเอาเงินมาลงทุนเพื่อเพิ่มดอกผลที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ 5% ต่อปี ก็จะสามารถมีเงินใช้รายเดือนได้ถึงเดือนละ 30,000 บาท นอนรอรับผลกำไรแบบยาว ๆ ไม่ต้องกลัวว่าหมดก่อนเราเสียชีวิต