ทำงานหนักมาตลอดจนถึงช่วงอายุเกษียณ พอถึงช่วงเวลานึงคงรู้สึก เหนื่อยแล้วอยากเกษียณ แล้วเราจะเกษียณเนี่ย ตอนนี้มีเรามีเงินหรือยัง เพราะเมื่อเราเกษียณ นั่นหมายความว่า ชั่วโมงของการทำงาน จากที่ต้องทำงานแข่งกับเวลานั้นน้อยลง เมื่อทำงานด้วยความมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรตลอดมา อยากให้ลองวาดภาพของตนเองหลังเกษียณจากการงานดูบ้าง ทุกคนล้วนใฝ่ฝันที่จะใช้ชีวิตสบาย ๆ มีเงินพอใช้จ่าย มีสุขภาพดี และมีเวลาว่างสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นความสุขของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอยู่บ้านกับลูกหลาน ดูแลสัตว์เลี้ยง ทำสวน ทำงานอดิเรกที่ชอบ เดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน พบปะสังสรรค์กับเพื่อนเก่า หรือทำงานช่วยเหลือสังคมตามที่กำลังและโอกาสเอื้ออำนวย
จะเกษียณอย่างไรให้สบายใจ ไร้กังวล น้อยมากที่เราไม่ได้คำนึงเตรียมตัวเกษียณ เมื่อมาคิดถึงตอนนี้แล้วก็เหลือเวลาในการทำงานไม่ถึง 10 ปี ทั้งนี้เพื่อความพร้อมในการคำนวณเรื่องการเงิน ต้องคำนวณกันหน่อยว่า เราควรมีเงินเท่าไหร่
สูตรการคำนวณเงินออมเมื่อเราจะเกษียณ
(70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน) x 12 x จำนวนปีที่เราจะเกษียณ = จำนวนเงินที่เราต้องมีไว้ในวันที่เราจะเกษียณ
ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งเป้าไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 40 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 20 ปี (อายุ 60) โดยเรามีค่าใช้จ่ายปัจจุบันอยู่ที่ 25,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณก็จะเท่ากับ 17,500 บาทต่อเดือน (70% x 25,000) หรือ 210,000 บาทต่อปี จากนั้นก็คูณกับจำนวนปี
ที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ หรือ 210,000 x 20 ปี ก็จะออกมาเป็นเงินเกษียณคือ 4,200,000 บาท
ยิ่งมีเวลาออมมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกษียณได้ง่ายขึ้นเท่านั้น และถ้าเราหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีได้ ก็จะยิ่งทำให้เรามีเงินเกษียณที่มากขึ้นไปอีก หรือเราสามารถเกษียณรวย เกษียณเร็วได้นั่นเอง
คราวนี้เมื่อได้เงินที่ต้องออมในแต่ละเดือนแล้ว จากนั้นก็มาสำรวจกันว่า เรายังจะได้เงินเพิ่มที่จะเก็บไว้ใช้ยามเกษียณมาจากที่ไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็น
- เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เงินจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งถ้าเราจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งถ้ายิ่งทำงานเกิน 15 ปี
- ก็มีโอกาสได้เงินที่มากขึ้นไปด้วย
- เงินจากกองทุน กบข. สำหรับผู้ที่เป็นราชการ
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาทต่อเดือน
การบริหารเงินหลังเกษียณ
เรามีข้อแนะนำสำหรับการบริหารเงินก้อนสุดท้ายของชีวิต ดังนี้
- ควรคงเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ประมาณ 2 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
- นำเงินบางส่วนไปแบ่งฝากประจำในระยะต่าง ๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี โดยเลือกให้มีระยะเวลาครบกำหนดเหลื่อมกัน จะเป็นการบริหารสภาพคล่องและเพิ่มผลตอบแทนให้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์
- ควรนำเงินส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ในระยะสั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะปานกลาง-ยาว
แบ่งเงินออมเกษียณไปลงทุนเพื่อให้งอกเงย
หากคิดอย่างรอบคอบแล้ว เงินออมเกษียณนั้นควรแบ่งไปลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในแต่ละช่วงอายุกันด้วย เพื่อให้มีโอกาสรับผลตอบแทน ที่ชนะเงินเฟ้อ แล้วจะได้เกษียณแบบชิลๆ ยกตัวอย่างเช่น
อ่านเพิ่มเติม : นักลงทุนฉบับวัยเกษียณ จัดสรรเงินลงทุนเพื่อสร้างรายได้แบบนี้สิ !
การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งถือว่าเป็นตัวหลักในเรื่องของแหล่งเงินเกษียณเลยก็ว่าได้ เพราะกองทุนรวม RMF นั้นจะต้อง ลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องลงทุนไปจนถึงอายุ 55 ปี ทำให้เรามีวินัยในการลงทุน และข้อดีอีกอย่างของ RMF ก็คือเราสามารถ สับเปลี่ยนการลงทุนจากความเสี่ยงสูงไปยังความเสี่ยงต่ำได้ ระหว่างหน่วยลงทุนของกองทุนรวม RMF ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เราเลือกได้ ตามต้องการ ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับการจัดพอร์ตการลงทุน โดยลดความเสี่ยงลงเมื่อใกล้เกษียณ
หลายๆ ท่านอาจจะบ่นว่า ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องลงทุน และอาจชอบแบบที่ไม่ต้องเสี่ยงเยอะ เราก็ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต สมาร์ทเฟิสต์ ซึ่งถึงแม้ว่าผลตอบแทนจะไม่มากเท่ากับกองทุน แต่การทำประกันแบบนี้ก็มีข้อดีหลายข้อ หลักๆ ก็คือ ช่วยให้เราเตรียมพร้อมไว้อย่างมั่นใจ ได้รับ เงินคืนตามที่แบบประกันการันตีให้ พร้อมผลตอบแทนคุ้มค่า และยังได้ความคุ้มครองชีวิต และสิทธิลดหย่อนภาษีอีกด้วย อีกหนึ่งความสำคัญเลยคือเรื่องของการสำรองค่าใช้จ่ายสุขภาพหลังเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บไปตามอายุของเราเลยทีเดียว ดังนั้นในช่วงที่อายุยังน้อยอยู่เราควรสำรองเงินเพื่อทำประกันสุขภาพ เนื่องจากค่าเบี้ยประกันยังไม่แพงมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อคุณมาซื้อเมื่อยามอายุมาก
การวางแผนเกษียณนั้น อาจจะต้องใช้เวลาหลายปี แต่ถ้าเรามีวินัยทางการเงินรับรองว่าไม่ยาก ยิ่งเรารู้จักแบ่งเงินมาลงทุน ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกษียณเร็วขึ้นเท่านั้น และถ้าเราเกษียณเร็ว และเกษียณได้อย่างมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ก็มีโอกาสได้พักผ่อน หรือท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ ในขณะที่ยังแข็งแรง มีสุขภาพที่ดีอยู่ ดังนั้นเรามาเริ่มต้นวางแผนเกษียณกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อเราจะได้ไม่ขัดสนลำบากในยามแก่