ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเราไม่มีทางหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารได้เลย เช่น การฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน จ่ายค่าธรรมเนียม ฯลฯ เพราะในการดำเนินชีวิตของเราทุกวันนี้แทบจะไม่มีวันไหนที่เราจะดำเนินชีวิตได้โดยที่ไม่ใช่เงิน ซึ่งทำให้ชีวิตของเรามีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไรก็ล้วนแต่ต้องใช้บริการของธนาคารและนักลงทุนบางท่านเองก็มีความสนใจหุ้นกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราทราบกันไหมว่าธุรกิจธนาคารนั้นมีรายได้มากจากไหนและจะเติบโตไปในทิศทางใดกัน
หากกล่าวถึง ธนาคาร นั้นแล้วย้อนไปเมื่อสมัยก่อนชื่อนี้อาจดู ซับซ้อน เข้าใจยาก และเราจะไว้ใจได้ไหมเมื่อนำเงินที่หามาอย่างยากลำบากมาฝากในธนาคาร และหากธนาคารเกิดวิกฤตทางการเงินขึ้นมานั้นเงินที่เราฝากไว้จะหายไปไหม จึงทำให้หลายๆ คนเองไม่เข้าใจว่าการทำธุรกรรมทางด้านการเงินนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เคยคิด เพราะธนาคารนั้นมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้เข้าใจยาก ซึ่งหากจะแบ่งการทำธุรกิจของธนาคารเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ธุรกิจ ดังนี้
1.ธุรกิจด้านการรับฝากเงิน หรือ ธุรกิจการจัดหาเงิน
หากให้อธิบายอย่างที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เลยก็คือ การกู้เงินจากประชาชนนั้นเอง โดยมีรูปแบบของการบริการ ยกตัวอย่างเช่น การรับฝากเงินในรูปแบบต่างๆ การฝากแบบออมทรัพย์ ฝากประจำ หรือฝากกระแสรายวัน โดยธนาคารจะรับฝากเงินของเราโดยให้ผลตอบแทนเป็นลักษณะของดอกเบี้ยเงินฝาก และในส่วนนี้ก็มีการคุ้มครองผู้ฝากเงินตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ฯ เป็นการคุ้มครองผู้ฝากแต่ละรายในแต่ละสถาบันการเงินในจำนวนเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนเงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งวงเงินจำนวนดังกล่าวมีการเริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งก่อนหน้านี้จะอยู่ที่ ไม่เกิน 25 ล้านบาท
2.ธุรกิจด้านให้กู้ยืมเงิน หรือ ธุรกิจสินเชื่อ
ซึ่งการให้สินเชื่อนั้นมีความหลากหลาย และมีความซับซ้อนในการทำธุรกรรมอยู่พอสมควร เพราะในการให้กู้ยืมนั้นต้องมีการให้ตามความเหมาะสม และมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ขอกู้ เพื่อให้ลดภาระหนี้เสียอันเนื่องมากจากการไม่ชำระเงินกู้ โดยหนี้เสียหรือ NPL หมายถึง สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan) ซึ่งเกิดจากลูกหนี้เงินกู้ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับสถาบันการเงินที่ปล่อยให้กู้เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยมีหลักการพิจารณาลูกหนี้ว่ามีการผิดนัดเกิน 3 เดือนหรือไม่ หากเกินจะถือว่าเป็นลูกหนี้ NPL ในทันที และสินเชื่อหรือการให้กู้เงินดังกล่าวก็สามารถแบ่งได้อีกหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ และนอกจากนี้ยังมีการให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น
3.ธุรกิจจากค่าธรรมเนียม
คือ ธุรกิจมีรายได้จากค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวข้องกับการเงิน แต่ไม่ใช่การกู้เงินหรือการรับฝากเงิน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ
- ค่าธรรมเนียมที่เกิดจากนายหน้าหรือตัวแทน ซึ่งเป็นการให้บริการโดยนำเสนอบริการของบริษัทอื่น หรือเรียกว่าตัวแทนนั้นเอง เช่น การเป็นนายหน้าการขายประกันชีวิตประกันภัย การให้บริการจัดการกองทุน เป็นต้น
- ค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการให้บริการอื่นๆ คือ ค่าธรรมเนียมด้านการทำธุรกรรมด้านการเงิน เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ค่าธรรมเนียมบัตร ATM ค่าธรรมเนียมการชำระเงินค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
ธนาคารเองจะมีผลกำไรจากการที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยหักด้วยดอกเบี้ยเงินฝากที่มีการจ่ายออกไป ซึ่งต้องมีการหักด้วยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ NPL ต้นทุนต่างๆ จึงจะเป็นผลกำไรและในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวอย่างปัจจุบัน ธนาคารจึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการปล่อยกู้เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย แต่ธนาคารเองก็ไม่สามารถการปฏิเสธการชำระเงินฝากได้ เมื่อเราได้อ่านถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มพอเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า รายได้ของธนาคาร มาจาก พวกนี้นี่เอง
ฉะนั้นหลายคนคงอุ่นใจได้แล้วว่าการฝากเงินในธนาคารมีความปลอดภัยดีกว่าการเก็บเองที่ต้องเสี่ยงจากการสูญหาย หรือมิจฉาชีพแน่นอน แต่ถ้าหากพูดถึงการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารเราควรต้องดูสภาวะเศรษฐกิจด้วย เพราะผลประกอบการของธนาคารค่อนข้างอ้างอิงกับเศรษฐกิจซึ่งก็สอดคล้องกับหนี้เสียและอาจมีผลต่อการตั้งสำรองหนี้ที่สูงขึ้น นอกจากนี้โครงการของรัฐและเอกชนเองก็มีส่วน เช่น รัฐมีโครงการโครงสร้างพื้นฐานจึงอาจดำเนินการขอกู้ที่ธนาคาร A หรือ บริษัทเครือข่ายมือถือ B ขอกู้เงินจากธนาคาร C เพื่อชำระค่าประมูลคลื่นความถี่ที่เพิ่งประมูลได้ ดังตัวอย่างข้างต้นเองก็สิ่งผลต่ออนาคตที่ดีหรือแย่ของผลประกอบการด้วย
อ่านเพิ่มเติม > ระบบคุ้มครองเงินฝากของไทยและมาตรฐานสากล