หลังจากที่เคยแนะนำข้อมูลที่จะต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อเลือกกองทุนรวม LTF ไปแล้ว คราวนี้เรามาลองดูเพื่อ เลือกกองทุน RMF กันบ้างดีกว่าว่าเวลาจะลงทุนซื้อแล้วจะต้องดูอะไรกันบ้าง
อ่านเพิ่มเติม >> มา วิเคราะห์กองทุน LTF กัน ! <<
โดยกองทุนรวม RMF ที่เลือกมาจาก 3 บลจ. มีนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน คือ ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศในโซนยุโรป เป็นกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงเท่ากับ 6 หรือเป็นกองทุนตราสารทุนเหมือนกัน ไม่มีการจ่ายเงินปันผล และกองทุนอาจจะมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
ข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบก็มาจากหนังสือชี้ชวนฉบับส่วนสำคัญของกองทุนที่เปิดเผยทั้งใน Website ของ บลจ.เอง และที่ www.thaimutualfund.com โดยเป็นข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2558
ถ้าเราตั้งเป้าจะซื้อกองทุน RMF สัก 10,000 บาท ที่เลือกลงทุนเท่านี้เพราะว่าเราต้องซื้อ RMF ทุกปีด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ถ้าลงทุนไปเยอะเกินบางทีอาจจะซื้อปีต่อๆ ไปไม่ไหวก็เป็นได้ แต่ก็ยังดีหน่อยที่กฎหมายยังยอมให้เราซื้อแบบปีเว้นปีได้ ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามี 3 กองทุนให้เลือก เราจะเลือกกองไหนกันดี
-
มูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วย
เริ่มที่มูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วยที่จะเป็นตัวบอกได้ว่าถ้าเราใช้เงินลงทุน 10,000 บาท เราจะได้จำนวนหน่วยทั้งหมดกี่หน่วย โดยจากตัวอย่างที่ยกมานั้น เราจะได้จำนวนหน่วยตามนี้
นั่นแสดงให้เห็นว่าด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน เราจะได้จำนวนหน่วยจากการซื้อกองทุน A มากที่สุด โดยทั้ง 3 กอง ไม่มีค่าธรรมเนียมในการซื้อหน่วยลงทุน จึงไม่ต้องเอามาคำนวณจำนวนหน่วย แต่ด้วยข้อมูลเท่านี้ยังไม่เพียงพอ เราจะต้องดูอย่างอื่นด้วย
-
ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน
ถัดมาก็ต้องเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน ที่ส่วนใหญ่จะเป็นค่าธรรมเนียมบริหารกองทุน ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ถ้าตามหนังสือชี้ชวนจะบอกในลักษณะอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บ แต่จะมีวงเล็บค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นในอดีตมาบอกให้เรารู้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งจากตัวอย่าง เราจะเห็นว่ากองทุน B เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่ำสุด คือ 0.93% เท่านั้นเอง แต่กองทุน A เป็นกองทุนที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพงสุด คือ 1.7976% ที่เราต้องดูค่าใช้จ่ายของกองทุนก็เพราะว่าถ้ากองทุนไหนเก็บค่าธรรมเนียมแพง ก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนอาจจะไม่สูงมากเท่าไร
-
ผลตอบแทนของกองทุน
ต่อจากนั้นเราก็มาดูผลตอบแทนของกองทุนว่าตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมานั้นกองทุนไหนมีผลตอบแทนดีที่สุด ซึ่งกองทุนที่เลือกมาทั้ง 3 กองทุนนั้นเป็นกองทุนที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ มีอายุของโครงการไม่สูงมากนัก จากตัวอย่างที่ยกมาเราน่าจะตัดกองทุน A ออกไปก่อน เพราะว่าตั้งกองทุนมาก่อนแต่ผลการดำเนินงานกลับติดลบ นั่นอาจจะแสดงให้เห็นว่ากองทุน A เลือกลงทุนในกองทุนต่างประเทศที่ผลตอบแทนไม่ดีเท่าไร ที่นี้เราจะเหลือกองทุน B กับ C ที่มีอายุของกองทุนเท่ากัน แต่กองทุน B ให้ผลตอบแทนตั้งแต่เปิดกองทุนมาถึง 13.72% ซึ่งสูงกว่ากองทุน C เกือบ 5% เลยทีเดียว อีกทั้งกองทุน B ยังมีผลตอบแทนสูงกว่าตัวชี้วัดอีกตั้ง 8% ก็ถือได้ว่ากองทุน B น่าสนใจไม่น้อยเลย
เพราะฉะนั้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหลายกันเรียบร้อยแล้ว เราก็น่าที่จะเลือกลงทุนในกองทุน B มากที่สุด และราคาก็ไม่ได้สูงมาก แต่ผลตอบแทนที่ได้กลับดีกว่ากองทุน A และ C และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนก็ยังต่ำกว่ากองทุนทั้งสองอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม >> กองทุนรวม LTF กับ RMF อันไหนจะเหมาะกับเรา <<